พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยเท็จและการเลิกจ้าง: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
ลูกจ้างเป็นลูกจ้างประจำรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างยื่นใบลาป่วย 1 วันเป็นเท็จ และนายจ้างไม่อนุมัติให้ลานั้นถือว่าลูกจ้างขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ซึ่งนายจ้างมีสิทธิตัดค่าจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน แต่เมื่อนายจ้างมิได้ตัดค่าจ้าง จึงเป็นกรณีนายจ้างไม่ใช้สิทธิของตนเองจะอ้างว่าลูกจ้างแสวงหาประโยชน์จากค่าจ้างซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือฉ้อโกงและไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้าง ละทิ้งการงานไปเสีย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจึงมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2747/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ดื่มสุรานอกเวลางาน แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่ลูกจ้างออกไปดื่มสุรานอกบริเวณโรงงานตั้งแต่เวลา22 ถึง 24 นาฬิกา จะเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดว่าเป็นความผิดอันมีโทษถึงปลดออก ไล่ออกแสดงว่านายจ้าง มิได้ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าว เป็นการ "ละทิ้งการงานไปเสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดงานที่ไม่ได้รับอนุญาตและการเลิกจ้าง: กรณีเหตุสมควร vs. ละทิ้งหน้าที่
โจทก์ขอลาหยุดงาน 3 วันต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จำเลยไม่อนุญาต แต่โจทก์ก็หยุดงานไป 4 วันเพื่อเดินทางไปจัดเตรียมงานสมรสของบุตรสาวที่ต่างจังหวัดตามประเพณีของท้องถิ่น ดังนี้การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานขับรถที่ละทิ้งหน้าที่และมอบหมายให้ผู้อื่นขับรถจนเกิดความเสียหาย ถือเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ละทิ้งหน้าที่ไม่ขับรถยนต์นำหัวหน้างานและคนงานไปปฏิบัติงานตามคำสั่งและได้มอบหมายให้ จ. คนงานรายวันเป็นผู้ขับแทนโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการปฏิบัติขัดต่อคำสั่งเรื่อง การใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อ จ. ได้ขับรถยนต์โดยประมาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานขับรถที่ละทิ้งหน้าที่และมอบหมายให้ผู้อื่นขับรถจนเกิดความเสียหาย ถือเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ละทิ้งหน้าที่ไม่ขับรถยนต์นำหัวหน้างานและคนงานไปปฏิบัติงานตามคำสั่งและได้มอบหมายให้ จ. คนงานรายวันเป็นผู้ขับแทนโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการปฏิบัติขัดต่อคำสั่งเรื่อง การใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อ จ. ได้ขับรถยนต์โดยประมาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างเกิน 3 วัน ถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10 (วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ – การเลิกจ้าง – ค่าชดเชย – ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน – การลาที่ถูกต้องตามระเบียบ
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10(วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วย เหตุผลการป่วยไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลา กำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้ว จำเป็นต้องรักษาตัวต่อไปมีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน 120 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือนแต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้ว และหยุดงานเกินกว่า 120 วันต่อมาอีก จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน ระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรัง จึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้างทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิด อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยดูแลมารดา: เหตุผลอันสมควรในการละทิ้งหน้าที่ทางการงาน
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาเพื่อดูแลมารดาป่วยหนัก ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้