คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า การละเลยทำให้เกิดอันตรายต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดยไม่ปิดฝาบ่อและ.ไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้งไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่2 ยังไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้น.ไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า การละเลยจนเกิดอันตรายต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการจ้างเหมา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดย ไม่ปิดฝาบ่อและไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้ง ไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึง ไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่ 2 ยัง ไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้นไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56 ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางเท้า หากละเลยจนเกิดอันตรายต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการจ้างเหมา
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาล จำเลยที่ 2 รับจ้างจำเลยที่1 ทำท่อระบายน้ำและทางเท้าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ละเว้นไม่ทำการป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ให้เรียบร้อย โดย.ไม่ปิดฝาบ่อและ.ไม่มีแสงสว่างให้เห็นทั้ง.ไม่มีเครื่องหมายหรือเครื่องปิดกั้นแสดงไว้ให้ทราบฉะนั้น การที่โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อพักท่อระบายน้ำของจำเลยที่ 1 จึง.ไม่ใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ายังอยู่ในระหว่างการจ้างซึ่งจำเลยที่2 ยัง.ไม่มอบงานไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่เพื่อการนี้โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ละเว้น.ไม่จัดการป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ถนนหรือทางเท้าตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อต้องรับผิดต่อโจทก์ และจะอ้างข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุหรือภยันตรายความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง เพื่อปัดให้ตนพ้นผิดไม่ได้ เพราะโจทก์เป็นคนนอกสัญญา.
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนคร การสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 56ประกอบด้วยมาตรา 50 และ 53 เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์เพราะจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างทำของ เมื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด หาได้ไม่.
ในมูลละเมิด แม้โจทก์นำสืบถึงค่าที่ขาดรายได้จากการประกอบการงานถึงจำนวนที่แน่นอนไม่ได้. ศาลก็กำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยดำเนินคดีของโจทก์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องจากวันที่ 28 ตุลาคม 2508 โดยให้นัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่ในวันที่ 13 ธันวาคม 2508 อันให้เวลาโจทก์ถึง 46 วัน และศาลก็สั่งให้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบถ้าส่งหมายนัดไม่ได้ ก็ให้ปิดหมายซึ่งถ้าโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ก็น่าจะกระทำได้ก่อนกำหนดไม่ใช่รอให้ถึงวันนัดโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเอาในวันนัด เพื่ออาศัยเป็นเหตุที่จะเลื่อนคดีต่อไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดำเนินคดี ศาลย่อมสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของช้างต้องรับผิดต่อความเสียหายจากลูกช้าง หากผู้เลี้ยงละเลยไม่ระมัดระวัง
พฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้เลี้ยงรักษาลูกช้างมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควร
เจ้าของช้างใช้ให้บุคคลอื่นเอาช้างของตนไปรับจ้างลากไม้ เป็นการที่บุคคลนั้นทำแทนจำเลย เมื่อลูกของช้างนั้นไปทำอันตรายบุคคลภายนอกโดยผู้ที่เอาช้างของตนไปมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควร เจ้าของช้างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกช้างนั้นทำอันตราย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากอายุความคดีอาญา: โจทก์มีสิทธิฟ้องเองแต่ละเลยไม่ฟ้อง ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
พนักงานสอบสวนรับแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ของโจทก์ไว้แล้วปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้เสร็จจนคดีขาดอายุความฟ้องร้อง แต่โจทก์ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องร้องผู้ยักยอกได้เองทั้งทางอาญาและทางแพ่งก็มิได้ฟ้องร้องผู้ยักยอกจนคดีขาดอายุความ ดังนี้ หากโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีไว้แล้ว ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้น ความเสียหายของโจทก์จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย กรณีของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายจากเงินถูกยักยอก กรณีละเลยคำสั่งและหน้าที่
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกินให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัดแต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ ได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด จำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นาย คุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาการแทนนายอำเภอได้มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นายนั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นาย ร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยู่นอกห้องสรรพากรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเงินเข้าไปส่งผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายใบนำส่งและเขียนขึ้นใหม่เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมาแล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา71,72,79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1,2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลละเลยหน้าที่จัดการความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือ จัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สะดุดตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาและในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้นดังนี้ต้องถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญชาติ: คนไทยสูญเสียสัญชาติจากละเลยไม่ขอรับใบสำคัญประจำตัว
คนสัญชาติไทยผู้เสียไปซึ่งสัญชาติได้ละเลยไม่ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วัน จนพ้นกำหนดนี้แล้วกว่า 1 ปี สิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องขอให้ลงโทษบุคคลนั้นย่อมหมดไปเพราะคดีขาดอายุความแล้ว
of 9