คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสภาจังหวัดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยไม่ลาออก ถือเป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
จำเลยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอนในขณะที่ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน จึงเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มาตรา 21(7)และมาตรา 65 แม้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดของจำเลยจะสิ้นสุดก่อนรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในการลาออก: การลาออกมีผลเมื่อชำระค่าหุ้น
หนังสือที่โจทก์มีไปถึงบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อความว่าเนื่องด้วยกระผมจะขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของบริษัท และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทระบุว่าทางบริษัทจะทำการซื้อหุ้นในส่วนของกระผมคืน ซึ่งกระผมก็ไม่ขัดข้อง สำหรับราคาค่าหุ้นจะมีมูลค่าเท่าไร ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทได้มอบหมาย ว. เป็นผู้ทำการตกลงกับกระผมในอันดับต่อไป กระผมขอแจ้งให้ท่านทราบว่ากำหนดการลาออกของกระผมในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปและในฐานะผู้ถือหุ้น คือวันที่กระผมได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของกระผมในราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย ข้อความดังกล่าวให้ความหมายว่าโจทก์จะลาออกก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของโจทก์ในราคาที่ตกลงกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้การลาออกซึ่งเป็นนิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันระหว่าง ว.กับโจทก์ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข และจะมีผลเป็นการลาออกจากงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จลงโดยโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขที่กำหนดให้นิติกรรมการลาออกจากการเป็นลูกจ้างมีผลนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานในฐานะลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน การลาออกของโจทก์จึงยังไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือลาออกมีเงื่อนไขบังคับก่อน การเลิกจ้าง และสิทธิลูกจ้าง
หนังสือที่โจทก์มีไปถึงบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อความว่า เนื่องด้วยกระผมจะขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของบริษัทและจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทระบุว่าทางบริษัทจะทำการซื้อหุ้นในส่วนของกระผมคืน ซึ่งกระผมก็ไม่ขัดข้อง สำหรับราคาค่าหุ้นจะมีมูลค่าเท่าไร ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทได้มอบหมาย ว.เป็นผู้ทำการตกลงกับกระผมในอันดับต่อไป กระผมขอแจ้งให้ท่านทราบว่ากำหนดการลาออกของกระผมในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปและในฐานะผู้ถือหุ้น คือวันที่กระผมได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของกระผมในราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย ข้อความดังกล่าวให้ความหมายว่าโจทก์จะลาออกก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของโจทก์ในราคาที่ตกลงกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้การลาออกซึ่งเป็นนิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันระหว่าง ว. กับโจทก์ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข และจะมีผลเป็นการลาออกจากงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จลงโดยโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันเงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขที่กำหนดให้นิติกรรมการลาออกจากการเป็นลูกจ้างมีผลนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานในฐานะลูกจ้างหรือไม่ ก็ได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน การลาออกของโจทก์จึงยังไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกและสิทธิประโยชน์: การคำนวณค่าชดเชยตามอายุและข้อบังคับธนาคาร
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลย มีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี"นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่าพนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป หากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2 การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานชายที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตามข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังผลให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 9 เท่านั้นหามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อให้
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยการลาออกของลูกจ้างก่อนอายุ 55 ปี โดยอิงตามข้อบังคับบริษัท และความหมายของหนังสือลาออก
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลยมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี" นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่า พนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้น ไปหากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติ ให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานที่อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วน ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตาม ข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิ เท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตามข้อ 9เท่านั้น หามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติ ให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อ ให้ เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและ มีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ใน หนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีหลังพ้นจากตำแหน่งกรรมการ: อำนาจฟ้องเป็นโมฆะ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส. ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส.เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: ผลของการลาออกและการมอบอำนาจ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนด ให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส. เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการ เปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะ ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาลต่างประเทศ: การชดใช้ทุนเมื่อลาออกก่อนครบกำหนด และการกำหนดเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์โดยทำสัญญากับกรมอาชีวศึกษาว่า เมื่อเสร็จการศึกษาไม่ว่าการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่ จำเลยที่ 1 จะกลับมารับราชการในกรมอาชีวศึกษาหรือในกระทรวง ทบวง กรม อื่น ตามที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของเวลาที่ได้รับทุน ถ้าผิดสัญญาจำเลยที่ 1จะชดใช้คืนทุนและเงินที่ได้รับในระหว่างการศึกษาพร้อมเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 กลับมารับราชการต่อแล้วลาออกจากราชการในขณะที่รับราชการชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดนัดแม้ภายหลังจำเลยที่ 1 จะกลับเข้ารับราชการใหม่แต่โจทก์ก็มิได้ยินยอมให้จำเลยเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อ จึงไม่อาจนับเวลาราชการต่อกันเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 ไม่หลุดพ้นความรับผิด จำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการใหม่เป็นเวลามากกว่าเวลาราชการที่ยังขาดตามสัญญาเกือบเท่าตัว เมื่อคำนึงถึงเวลาราชการที่ขาดและเวลาราชการที่จำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์แล้ว ศาลไม่กำหนดเบี้ยปรับให้ ตามสัญญาระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินที่ต้องชำระคืนและเบี้ยปรับแก่โจทก์ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากเงินนั้น เมื่อโจทก์เคยแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแล้วแต่ไม่พบตัวจำเลยที่ 1 และภายหลังที่โจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งจากโจทก์แล้วเมื่อใด จึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินไทยเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดให้ถูกต้องโดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ศาลฎีกาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานหลังพ้นตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันวิจัยฯ การลาออก และเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดหรือตัดเงินเดือน ตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอนลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยังเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาให้เสร็จภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะรับข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด
แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้เท่านั้น การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่
of 14