คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลิขสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติมาตรา 73 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มิใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทกำหนดโทษที่หนักขึ้น และการริบของกลางต้องมีคำขอ
การมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมไว้เพื่อขายและเสนอขายกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในคราวเดียวกันนั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: การกักขังแทนค่าปรับในคดีที่จำเลยเป็นผู้เยาว์
จำเลยเป็นผู้เยาว์มีถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดกำแพงเพชรไปกระทำความผิดในเขตจังหวัดลพบุรี เมื่อไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่และท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58(3) และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ย่อมจะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534ซึ่งห้ามศาลกักขังแทนค่าปรับโดยให้ส่งไปฝึกอบรมแทนมาใช้บังคับไม่ได้ จึงพิพากษาให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษซ้ำในคดีลิขสิทธิ์ต้องรอให้คดีก่อนถึงที่สุดก่อน จึงจะลงโทษเป็นสองเท่าได้
การระวางโทษเป็นสองเท่าในคดีหลังตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 73 จะต้องปรากกฏว่าขณะกระทำผิดคดีหลัง คดีก่อนจะต้องถึงที่สุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเป็นสองเท่าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ต้องรอให้คดีก่อนถึงที่สุดแล้วเท่านั้น
การระวางโทษเป็นสองเท่าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 73 จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และพ้นโทษคดีก่อนมาแล้วยังไม่ครบห้าปีมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีกซึ่งแสดงให้เห็นว่าขณะผู้นั้นกระทำความผิดในคดีหลังคดีก่อนจะต้องถึงที่สุดไปแล้ว จึงจะระวางโทษในคดีหลังเป็นสองเท่าได้ เมื่อคดีก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปีจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีก อันเป็นการกระทำความผิดในขณะที่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด จึงระวางโทษจำเลยในคดีนี้เป็นสองเท่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9523/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การเป็นลูกจ้างมิได้ทำให้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของนายจ้าง หากไม่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย และโจทก์สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ให้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท
โจทก์อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ในกิจการของจำเลย โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าตอบแทนจากจำเลย แสดงว่าโจทก์เอื้อเฟื้อให้จำเลยใช้ประโยชน์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แต่เมื่อโจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลยและไม่ประสงค์จะอนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อไป โจทก์ย่อมมีสิทธิทวงถามให้จำเลยคืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแก่โจทก์ได้ แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ และยังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ต่อไปอันมีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ และการที่จำเลยไม่ยอมคืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทให้โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ของจำเลยในกิจการของจำเลยในธุรกิจใดหรือไม่ และแม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าได้รับความเสียหายอย่างใดและเป็นเงินเท่าใด แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 ให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าเสียหายตามพฤิตการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9523/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกำหนดค่าเสียหายจากละเมิด และการเริ่มนับระยะเวลาการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ IBMA/S400 ของจำเลย ซึ่งจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มิใช่ผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทตามคำฟ้องโดยจำเลยคงให้การเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นของโจทก์จำเลยก็มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ต่อโจทก์เพราะจำเลยได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นไปใช้งานอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานที่จำเลยได้จ้างโจทก์ ดังนี้ ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทหรือไม่ข้อเท็จจริงในคดีจึงต้องรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 9 ก็เป็นการยืนยันอยู่ว่างานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยนั้นยังเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เว้นแต่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ให้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ในกิจการของจำเลย โดยปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้คิดค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้จากจำเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์เอื้อเฟื้อให้จำเลยใช้ประโยชน์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แต่ต่อมาเมื่อโจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลยและไม่ประสงค์จะอนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อไป โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิทวงถามให้จำเลยคืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแก่โจทก์ได้ แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้และยังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ต่อไปอันมีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ และศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
การที่โจทก์ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทในเครื่องคอมพิวเตอร์IBMA/S400 ของจำเลยเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทของโจทก์ แม้โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ก็ตามแต่จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 โจทก์โดยทนายความของโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยให้ระงับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทและให้คืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมคืนให้โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542ซึ่งเป็นวันที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นต้นไปมิใช่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อขาย แม้ไม่มีการล่อซื้อ ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยเอากล่องซีดีภาพยนตร์พร้อมปกซึ่งมีภาพและชื่อของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ประมาณ 100 เรื่อง วางแสดงไว้ที่หน้าร้านเพื่อเตรียมไว้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้ภายในกล่องจะไม่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์อยู่ก็ตาม แต่จำเลยก็สามารถไปนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางที่อยู่หลังร้านออกมาขายให้แก่ผู้ซื้อได้ หากจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้โดยไม่มีเจตนาเพื่อจะขายแผ่นซีดีและแม้คดีนี้จะไม่มีการล่อซื้อแผ่นซีดีภาพยนตร์จากจำเลย แต่การที่จำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์หลายเรื่องหลายแผ่นไว้ พร้อมทั้งมีการวางกล่องกับปกซีดีภาพยนตร์ไว้ในร้านแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้เพื่อขายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: ค่าโฆษณา, ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ, และการพิสูจน์ความเสียหาย
เงินที่โจทก์ต้องใช้ไปในด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์พิพาทถือเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อผลงานของโจทก์ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์มีมากน้อยเพียงใดย่อมจะตกแก่โจทก์โดยตรงการที่จำเลยกระทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของโจทก์แต่อย่างใด เพราะค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายไปตามความจำเป็นและพอใจของโจทก์เองหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องสูญเสียผลประโยชน์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 64 ที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะมาเรียกร้องจากจำเลยได้ไม่
ที่โจทก์อ้างว่าต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเนื่องจากงานที่จำเลยทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้คุณภาพเพราะภาพไม่คมและเสียงไม่ชัดเจนนั้น ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความตอบถามค้านทนายจำเลยไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่มาขอเช่าม้วนวิดีโอพิพาทในคดีนี้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นวิดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์แสดงว่าประชาชนผู้บริโภคทราบว่าม้วนวิดีโอพิพาทไม่ใช่เป็นสินค้าที่เจ้าของลิขสิทธิ์คือโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้น ฉะนั้นข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเพราะสินค้าไม่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงตกไป
of 30