คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วม: การไล่เบี้ยและการปฏิเสธความรับผิดจากหน้าที่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ในคดีก่อนให้ชดใช้เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนไป จำเลยให้การต่อสู้คดีและนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยไม่ได้กระทำฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากจำเลยได้เพียงใด เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาโดยอ้างถึงความรับผิดระหว่างโจทก์และจำเลยในเรื่องของตัวการตัวแทนได้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น
ในคดีก่อนศาลได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยร่วมกันชำระหนี้แก่ ก.ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ก.ได้รับความเสียหาย คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้แก่ ก. แต่ผลผูกพันในคดีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากคดีนี้โจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนไปในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จำเลยมีข้อต่อสู้อย่างไรที่จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบได้ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อน
จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ว่า การสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีเงินรายได้แผ่นดินของสำนักงานที่ดินให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้แก่กระทรวงการคลัง โดยขีดคำว่า "ผู้ถือ" ออกได้ เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้เปิดกิจการงานการธนาคารและโจทก์ไม่ได้ส่งเช็คมาให้ จึงสั่งจ่ายเช็คไม่ได้ และแม้ว่าต่อมาโจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยเปิดกิจการงานการธนาคาร แต่ทางกองกระแสรายวันของโจทก์ยังไม่ได้มาเปิดกิจการงานการธนาคาร จำเลยจึงมีหนังสือหารือไปยังโจทก์และโจทก์ได้มีหนังสือว่าให้ใช้วิธีการสั่งจ่ายเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยหรือใช้วิธีตามที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วไปพลางก่อน คือสามารถจ่ายเป็นเงินสดได้ การที่จำเลยจ่ายเช็คเงินสดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซ้ำซ้อนในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากลูกหนี้ร่วมแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ซ้ำจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้อีก
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายคนละขั้นตอน เมื่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายคดีก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ของเจ้าหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น10,781,495.35 บาท เป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายเงินจำนวน 10,781,495.35 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการจ่ายเงินเต็มจำนวนมูลหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว หาใช่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ที่เพียงเป็นส่วนเฉลี่ยจากกองทรัพย์สินของ ส. ดังที่เจ้าหนี้อ้างในคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ภูมิลำเนา, อายุความหนี้จากการรับทำงานและชำระหนี้แทนลูกหนี้, ลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ข้อตกลงนอกสัญญา, การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)ดังนั้นข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่าหากบริษัทง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลายมีความว่าหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตายหรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบหรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังนี้ย่อมมีความหมายว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัทง.เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัทง. ชำระหนี้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา691 แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนสัญญาค้ำประกันและตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนแต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32มิใช่มีอายุความ5ปีตามมาตรา193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ21ต่อปีผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ17ต่อปีตามสัญญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่6มิถุนายน2534ย้อนหลังขึ้นไป5ปีคือวันที่6มิถุนายน2529และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดีผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่าการคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: บังคับชำระหนี้จากสินสมรสทั้งหมดได้ แม้ฟ้องเฉพาะลูกหนี้ร่วม
หนี้คดีนี้เป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด เมื่อจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไปจำนองเป็นประกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสได้ทั้งหมดโดยไม่จำต้องฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากสินสมรส: บังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด แม้มิฟ้องลูกหนี้ร่วม
หนี้คดีนี้เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมโจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมดเมื่อจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไปจำนองเป็นประกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสได้ทั้งหมดโดยไม่จำต้องฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1489ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องหนี้จำนอง: การชำระหนี้แทนกันและสิทธิในการรับโอนที่ดิน
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่าเมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลงเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291ดังนั้นการที่โจทก์ที่1ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่2ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา292โดยเหตุนี้แม้โจทก์ที่2จะถอนคำฟ้องแต่เมื่อโจทก์ที่1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่งฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญาณวันที่26ธันวาคม2531เป็นต้นไปจึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายทำให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันเต็มจำนวนค่าเสียหาย
เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันถึงแม้จำเลยที่1และผู้ตายจะต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตามแต่เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และผู้ตายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันดังกล่าวแล้วจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ต่อโจทก์เต็มตามจำนวนค่าเสียหายอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้รายหนึ่งไม่กระทบสิทธิลูกหนี้รายอื่น
ที่ดินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 9 ได้ขายทอดตลาดไปเป็นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องผูกพันที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนั้น ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดโดยสิ้นเชิงได้ การบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยคนใดคนหนึ่งจึงไม่เกี่ยวข้องแก่ลูกหนี้คนอื่นที่มิได้ถูกบังคับคดีด้วย การที่ผู้คัดค้านที่ 9ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ไปในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีนี้ จึงไม่ทำให้ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ต้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 9ที่ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 8 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146
of 23