คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพันวัด
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 37 (1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนาสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัด ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไดเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิด ย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 37(1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัด จำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัดถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไถเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิดย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัด และการสละสิทธิในที่ดิน ทำให้ไม่เกิดการรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ อาคารถาวร โจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัดและการสละสิทธิในที่ดินโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า วัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตของวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและคืนที่ดินให้โจทก์ ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนวัดจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลงมือสร้างวัดจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ดังนี้ กรณีไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 ดังฎีกาของโจทก์ และเมื่อวัดจำเลยที่ 1 วางศิลาฤกษ์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญอาคารถาวรโจทก์ทราบและไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ยินยอมให้วัดจำเลยที่ 1 จำเลย ที่ 2 กระทำเช่นนั้น ฟังได้ว่าโจทก์ได้สละที่พิพาทให้แก่วัดจำเลยที่ 1 แล้ว ยังฟังไม่ได้ว่าวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้รุกล้ำเข้าไปปลูกสร้างวัดและกำแพงเขตวัดจำเลยที่ 1 ในที่ดินของโจทก์กับญาติโดยไม่สุจริต รูปคดีกลับเชื่อว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนวัด: ไวยาวัจกรต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น
ไวยาวัจกรให้กู้เงินของวัดและทำสัญญาในฐานะไวยาวัจกรของวัด ซึ่งเท่ากับทำสัญญาในฐานะตัวแทนของวัด เมื่อจะฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ เจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนวัด ไวยาวัจกรซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าอาวาสหรือผู้รักษาการแทนให้ดำเนินคดี หามีอำนาจฟ้องแทนวัดได้ไม่
เมื่อจำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้บางส่วน จำเลยไม่อุทธรณ์ โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มจำนวน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด (ข้อกฎหมายวรรคท้ายสรุปจากผลแห่งคำพิพากษา และโปรดสังเกตคำพิพากษาฎีกาที่ 678/2490 เทียบเคียง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองนานไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้ซื้อมาจากผู้ครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ผู้ใดจะครอบครองที่พิพาทมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองนานไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้ซื้อมาจากผู้ครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ผู้ใดจะครอบครองที่พิพาทมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าของวัด: ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้ การครอบครองโดยจำเลยไม่เกิดสิทธิ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าวัดโจทก์มีที่ดินแปลงหนึ่งใช้เป็นป่าช้าสำหรับเผาและฝังศพราษฎร เท่ากับโจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัด การที่ศาลไปฟังว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งเป็นของวัด แม้จะตั้งอยู่ห่างจากตัววัด ก็จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อฝากที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิเหนือที่ดิน: ข้อพิพาทระหว่างวัดกับเอกชน
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อเจ้าของเดิมไม่ไถ่คืนที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนอำนาจตัวแทนจัดการศาสนสมบัติของวัด และขอบเขตการตีความคำว่า 'พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง'
คำว่า "พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่างๆ จะถอนการจัดการดังกล่าว นอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสงฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
of 13