คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยนอกประเด็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นที่มิได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน แม้คู่ความมิได้โต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ตลอดมาตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายน 2526 จำเลยได้ปิดกั้นทาง ทำให้โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าไปขนส่งพืชผลออกจากที่ดินของโจทก์ได้คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ โดยมิได้กำหนดว่าเป็นทางสาธารณะ หรือไม่ไว้ด้วย แต่เมื่อทำคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เพิกถอน ประเด็นข้อพิพาทสองข้อดังกล่าวเสียแล้วกำหนดใหม่รวมเข้าเป็น ข้อเดียวกันในคำพิพากษาว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาท ได้หรือไม่ ตามประเด็นใหม่นี้ได้ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งเดิมมิให้กำหนด และคู่ความมิได้โต้แย้งไว้ อันถือได้ว่าคู่ความได้สละประเด็น ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกลับนำประเด็นข้อที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยอีกย่อมเป็น การวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น ทางสาธารณะ และการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล: การเปิดทางพิพาทที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายรายและผ่านที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้" ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฯลฯ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3. ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วย แต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่าโจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใด ตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วยซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏในน.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ 1 เมตรเศษนอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การและประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้รับการฎีกาคัดค้าน
จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า จำเลยมิได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องและมิได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ไว้ สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เพียงใด ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่า จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เพียงใดไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และผลคดีเป็นประโยชน์แก่จำเลยมากแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอำนาจฟ้องที่ต้องมีข้อเท็จจริงจากการดำเนินกระบวนพิจารณา
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ หรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ โจทก์จำเลยพิพาทกันว่าที่งอกริมตลิ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยไม่มีประเด็นพิพาทว่าเป็นที่ชายตลิ่งหรือไม่ การที่ศาลเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทในประเด็นที่ว่าฝ่ายใดครอบครองที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากการเดินเผชิญสืบว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลย แต่เป็นที่ชายเลนมีน้ำท่วมถึงจึงเป็นที่ชายตลิ่ง เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในสัญญาประกันตัวและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลล่าง
โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาให้ไว้แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำโฉนดที่ดินมามอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิด ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญาประกันกับโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ โดยต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้ผิดนัดและโจทก์ไม่เสียหายจึงไม่มีอำนาจปรับจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผูกพันต่อโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาประกันในนามของตนเอง แต่ทำแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จึงไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ค่าปรับจำนวน 200,000 บาท ซึ่งกำหนดให้จำเลยต้องเสียให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกัน เป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ ถ้าเห็นว่าสูงเกินไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการต่อสู้คดี การวินิจฉัยนอกประเด็นคำให้การไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์และให้จำเลยเช่าบางส่วน ต่อมาโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดาจำเลยและจำเลยได้เข้าครอบครองมาประมาณ 40 ปีไม่เคยเช่าจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ แม้ตามทางพิจารณาของโจทก์จะได้ความว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ไปทวงค่าเช่าจำเลยไม่ชำระโจทก์ที่ 1 ไปร้องเรียนต่อปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอเรียกจำเลยมาเจรจากับโจทก์ที่ 1 แล้ว จำเลยโต้เถียงว่าไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ไม่เคยชำระค่าเช่ามาก่อนศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า ซื้อที่ดินพิพาทจาก พ.แล้วให้จำเลยครอบครองแทน จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. และครอบครองตลอดมา คดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองแทนแล้วเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการครอบครอง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่ดินและการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยให้กลับคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า ซื้อที่ดินพิพาทจาก พ.แล้วให้จำเลยครอบครองแทน จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. และครอบครองตลอดมา คดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองแทนแล้วเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการครอบครอง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างในคำให้การชัดเจน หากศาลฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่จำเลยกล่าวอ้าง ถือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ในคดีแรงงาน กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ จำเลยต้อง กล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ให้ชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ให้การถึง เหตุแห่งการเลิกจ้างว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ได้ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของนายจ้างมาโดยตลอด ..." นั้นมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายในเรื่องใด และเมื่อใด ดังนั้นการที่ ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ออกปฏิบัติงานตาม หมายกำหนดเดินทางออกต่างจังหวัดตาม ที่จำเลยที่ 1 กำหนดและโจทก์ทำยอดขายไม่ได้ตาม ที่ตกลง ไว้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่มิได้มีปรากฏในคำให้การเมื่อ ศาลแรงงานกลาง นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างแล้ววินิจฉัยว่าไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเมื่อเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ ศาลแรงงานกลาง ยกขึ้นวินิจฉัยไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตาม กฎหมาย และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงเมื่อ ศาลแรงงานกลาง ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกา ต้อง ย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยก่อน จำเลยจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงระหว่างเดินทางไปขายสินค้าตามจังหวัดต่าง ๆ แก่โจทก์โดย สม่ำเสมอพร้อมกับเงินเดือน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
of 10