พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ศาลต้องพิจารณาตามรูปคดี หากจำเลยต่อสู้
เรื่องอายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองโจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีชอบที่ศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาต่อไปตามรูปคดีศาลจะมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของวันเกิดเหตุในฟ้องคดีอาญา ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา แม้ผู้เสียหายเบิกความผิดพลาด
ลำพังคำเบิกความของพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ทั้งสองปากประกอบบันทึกการจับกุมข้อเท็จจริงก็พอฟังได้แล้วว่าเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่26ธันวาคม2536ตรงตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวในฟ้องการที่ผู้เสียหายเบิกความถึงวันและเดือนที่เกิดเหตุถูกต้องผิดไปแต่เพียงเป็นพ.ศ.2526แทนที่จะเป็นพ.ศ.2536น่าจะเป็นเพราะความพลั้งเผลอหรือหลงลืมคำเบิกความของผู้เสียหายผิดไปเพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาท: ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความรู้สึกผูกพันของจำเลย
โจทก์ทั้งสองเคยตกลงจะแบ่งที่ดินปลูกบ้านให้จำเลยแล้วภายหลังกลับใจไม่ยกให้ โดยขอให้จำเลยลงนามในหนังสือตกลงไม่รับส่วนแบ่งที่ดิน ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเกิดโทสะพลุ่งพล่านผสมกับความน้อยใจจึงได้กล่าววาจาประชดประชันโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาด้วยอารมณ์ได้แม้ถ้อยคำดังกล่าวจะหยาบคายไม่น่าฟัง แต่จำเลยก็หาได้กล่าวดูหมิ่นหมิ่นประมาทว่าโจทก์ทั้งสองคนใดคนหนึ่งเป็นหมาโดยตรงแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงหาใช่เจตนาทำให้โจทก์ทั้งสองต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงอย่างไรไม่จึงไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพูดว่า "เป็นลูกหมา" แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจำเลยได้พูดว่าโจทก์ "พูดจากลับกลอก" และ"พูดหมา ๆ" แต่เมื่อได้ความว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำพูดต่อเนื่องกับคำพูดของจำเลยที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นเรื่องการนำสืบรายละเอียด ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์นำสืบว่าจำเลยได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ ศาลพิจารณาได้หากโจทก์แสดงเจตนาฟ้องจริง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงเป็นที่ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้จริง การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5647/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม และการระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
ที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลควรอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพราะตามรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ลายมือชื่อของเจ้ามรดกมีลักษณะการเขียนไม่คงที่ เขียนได้หลายแบบไม่มีลักษณะของการเขียนเด่นชัดเพียงพอ ไม่อาจตรวจพิสูจน์ได้ เป็นความเห็นมีลักษณะเอื้อประโยชน์แก่ผู้คัดค้านฝ่ายเดียว ผู้ร้องจำเป็นต้องซักค้านผู้เชี่ยวชาญและระบุผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติมนั้นปรากฏว่าผู้ร้องก็เป็นฝ่ายขอให้ทำการตรวจพิสูจน์เช่นเดียวกันความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมิได้ส่อไปในทางไม่สุจริต แม้สามารถทำการตรวจพิสูจน์ได้ก็มิใช่จะรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเสียทีเดียว จะต้องพิจารณาตามลักษณะการเขียนและพยานหลักฐานอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งศาลย่อมตรวจดูได้ การขอให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นทำการตรวจอีกจึงไม่จำเป็น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา และการรับรองใบมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ศาลพิจารณาจากความเป็นจริงและหลักทั่วไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสองคือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามมิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญาก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญา ศาลพิจารณาตามรูปคดี
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงคำขอบังคับไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนศาลจะบังคับให้จำเลยทั้งสามต้องปฏิบัติตามคำขอบังคับของโจทก์หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลตามรูปคดี ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามกระทำชำเราเด็กหญิง และการทำร้ายร่างกายต่อเนื่อง ศาลพิจารณาความผิดแยกกรรม
ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 8 ปี จำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยใส่ไปที่ช่องขาใกล้อวัยวะเพศของผู้เสียหาย และได้กระทำการในลักษณะของการกระทำชำเรา ที่บริเวณรูทวารหนักของผู้เสียหายมีรอยช้ำแดงและที่ระหว่างช่องคลอดกับรูทวารหนักมีรอยถลอกเล็กน้อย อวัยวะเพศของจำเลยไม่ได้เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายคงอยู่บริเวณปากช่องคลอดของผู้เสียหายเท่านั้น ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 13 ปี
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าการที่ผู้เสียหายขัดขืนไม่ยอมให้กระทำชำเรา จำเลยได้ชกต่อยและตบปากผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บอย่างไร คงได้ความว่าหลังจากจำเลยกระทำชำเราและจำเลยกับผู้เสียหายสวมใส่เสื้อผ้าแล้ว จำเลยได้ต่อยเตะจนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้กระทำต่อเนื่องกัน หากแต่ขาดตอนจากการกระทำชำเราแล้ว ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับอันตรายสาหัสก็มิใช่ผลโดยตรงจากการกระทำชำเราอันจะเป็นเหตุให้ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 277 ทวิและ 297 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 297 มาด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมจึงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่อาจลงโทษจำเลยฐานดังกล่าวได้เพราะเป็นการนอกเหนือจากฟ้อง
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าการที่ผู้เสียหายขัดขืนไม่ยอมให้กระทำชำเรา จำเลยได้ชกต่อยและตบปากผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บอย่างไร คงได้ความว่าหลังจากจำเลยกระทำชำเราและจำเลยกับผู้เสียหายสวมใส่เสื้อผ้าแล้ว จำเลยได้ต่อยเตะจนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิได้กระทำต่อเนื่องกัน หากแต่ขาดตอนจากการกระทำชำเราแล้ว ดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับอันตรายสาหัสก็มิใช่ผลโดยตรงจากการกระทำชำเราอันจะเป็นเหตุให้ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 277 ทวิและ 297 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 297 มาด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมจึงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่อาจลงโทษจำเลยฐานดังกล่าวได้เพราะเป็นการนอกเหนือจากฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยว กักขัง และทำร้ายร่างกายเล็กน้อย ศาลพิจารณาความผิดตามบทที่เหมาะสม
จำเลยใช้มือจับแขนขวาของผู้เสียหายกระชากไพล่ไปทางด้านหลังเป็นเหตุให้เส้นเอ็นที่หัวไหล่ขวาของผู้เสียหายอักเสบเล็กน้อยไม่มีบาดแผลหรือช้ำบวมภายนอก ใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน ถือว่าไม่เป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่ฟ้องแต่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาความร้ายแรงของคำสั่งและเหตุผลในการฝ่าฝืน
การที่ศาลแรงงานกลางฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะสืบ พยานจำเลยปากต่อไปและสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจ ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้บัญญัติ ไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มาก่อนทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงานของโจทก์ โดยไม่ได้บอกโจทก์ว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใดและหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ นายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์