พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดกับคำพิพากษาศาลล่างในคดีอาญา
จำเลยฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยยิงปืนในหมู่บ้านและทางสาธารณะในเวลากลางคืน ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เพราะไม่ได้ความว่าปืนที่ใช้ยิงนั้นเป็นปืนซึ่งใช้ดินระเบิดด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376ถือว่า ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยยิงปืนที่ใช้ดินระเบิด ดังนี้ ฎีกาจำเลยจึงประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยยิงปืนซึ่งไม่ได้ใช้ดินระเบิด อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างตัดสินแล้ว และมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาทหากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และ 94นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีต่ำกว่าสองแสนบาท และเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาท หากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94 นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดเจน การโต้แย้งค่าเสียหายและอำนาจฟ้อง ต้องระบุรายละเอียดข้อผิดพลาดของศาลล่าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในค่าเสียหาย 4 รายการ รายการแรกเป็นค่าขาดประโยชน์ 30,000 บาทรายการที่ 2 ค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ที่ถูกชน 10,000 บาทรายการที่ 3 ค่าระวางพาหนะ 2,500 บาท และรายการที่ 4 ค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าที่รับขน 41,358 บาท ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กล่าวในฎีกาเพียงว่าศาลล่างกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์สูงเกินไปไม่ควรเกิน40,000 บาท นั้นไม่มีรายละเอียดว่ารายการไหนที่มีจำนวนสูงและสูงอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และที่กล่าวว่าโจทก์ได้รับของที่เสียหายไปแล้ว และทรัพย์สินเสียหายไม่มากนั้นก็ไม่ระบุว่าของหรือทรัพย์สินรายการใดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไม่ถูกต้องหรือควรกำหนดให้ต่ำลงมาอีกจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่ารถพิพาทและจำเลยที่ 1 มิใช่รถและลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์รถพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถพิพาทในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การขอรอการลงโทษจำคุกหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน 15 วัน จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก ดังนี้ปัญหาว่ามีเหตุควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า & การวินิจฉัยปัญหาอายุความที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
คำแถลงการณ์เป็นหนังสือนั้นจำเลยมีสิทธิยื่นได้ก่อนวันศาลฎีกาพิพากษา ไม่จำเป็นต้องให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตก่อน เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นตามที่มีสิทธิจะยื่นได้ จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจยื่นคำแถลงการณ์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฎีกาจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่ บ. ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ซื้อแล้ว จึงเป็นการโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบถึงสิทธิในที่ดินพิพาทว่าบิดาโจทก์ซื้อที่พิพาทจาก บ. จึงมิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบแทนเอกสาร หาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และปัญหาดังกล่าวมิใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในสัญญาประกันตัวและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลล่าง
โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาให้ไว้แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำโฉนดที่ดินมามอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิด ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญาประกันกับโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ โดยต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้ผิดนัดและโจทก์ไม่เสียหายจึงไม่มีอำนาจปรับจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผูกพันต่อโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาประกันในนามของตนเอง แต่ทำแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จึงไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ค่าปรับจำนวน 200,000 บาท ซึ่งกำหนดให้จำเลยต้องเสียให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกัน เป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ ถ้าเห็นว่าสูงเกินไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก กรณีศาลล่างวินิจฉัยแล้ว และประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสามเป็นค่าเสียหายที่แต่ละคนได้รับแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา แต่จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน โจทก์ที่ 3 เรียกค่าเสียหาย 30,000 บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสามสูงเกินไปนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ส. คนขับรถลูกจ้างโจทก์ที่ 1 ขับรถโดยประมาท โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนเพียง 22,500 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของ ส. จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบว่า คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ประมาทอย่างไรที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยในผล พิพากษายืนเช่นนี้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะมิได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ก็พอแปลจากคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ว่า ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง เป็นเหตุไม่รับพิจารณาฎีกา
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ได้กล่าวในคำร้องว่าผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่า ก่อนที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องทั้งสองชำระหนี้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 119 แล้วนั้นเป็นฎีกากล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ถือได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกากล่าวอ้างดังกล่าว เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 153.