พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นมีประกัน: ศาลอนุญาตได้หากเกิดจากความพลั้งเผลอ
ผู้ร้องโดย ธ.ผู้รับมอบอำนาจและส. ซึ่งผู้ร้องมอบหมายให้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ได้ปิดบังเรื่องการจำนองเป็นประกันหนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากผู้ร้องมีเจตนาที่จะปิดบังเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องคงไม่ระบุหมายเลขคดีของคำพิพากษาในช่องหลักฐานประกอบหนี้ของคำขอรับชำระหนี้ เพราะจะปรากฏรายการจำนองทรัพย์ในคำพิพากษาและ ส. ก็คงจะไม่ให้ถ้อยคำชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้มีที่ดินจำนองเป็นประกันและคงจะไม่อ้างส่งต้นฉบับน.ส.3 ก. และสัญญาจำนองต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ทำการสอบสวนถือว่าผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันเนื่องจากความพลั้งเผลอ สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 97
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขทิศทางรถชนได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางสิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร" เป็น "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" เป็นการแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นตามความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับอยู่แล้ว การแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลสั่งอนุญาตจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยย้ายที่อยู่และไม่สามารถระบุภูมิลำเนาได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามหนังสือรับรองและสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 7 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานครโดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และจำเลยที่ 3ก็ยังไม่ได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนา ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ และจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในสำเนาทะเบียนบ้านการที่โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ณ บ้านเลขที่ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สำหรับจำเลยที่ 2 ครั้งแรกโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 100/20 หมู่ที่ 8 ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม แต่ส่งให้ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ได้ขายไปแล้ว โจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า จำเลยที่ 2 แจ้งย้ายออกไปอยู่บ้านเลขที่ 30/5 ตำบลสะเต็งอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา แต่เมื่อโจทก์ไปขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ปรากฏว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว ในการไต่สวนจำเลยที่ 2 อ้างสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งระบุว่า จำเลยที่ 2 ย้ายจากบ้านเลขที่ 100/20 แต่เจ้าหน้าที่ทะเบียนก็มาเบิกความว่าไม่มีบ้านเลขที่ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ในทะเบียนราษฎร ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏภูมิลำเนา เป็นกรณีที่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถกระทำได้โดยวิธีธรรมดา การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาจึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
วันนัดพิจารณานัดแรกโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตพร้อมมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลและออกหมายนัดแจ้งจำเลยที่ 1 ที่ 3 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสามไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา
สำหรับจำเลยที่ 2 ครั้งแรกโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 100/20 หมู่ที่ 8 ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม แต่ส่งให้ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ได้ขายไปแล้ว โจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า จำเลยที่ 2 แจ้งย้ายออกไปอยู่บ้านเลขที่ 30/5 ตำบลสะเต็งอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา แต่เมื่อโจทก์ไปขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ปรากฏว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว ในการไต่สวนจำเลยที่ 2 อ้างสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งระบุว่า จำเลยที่ 2 ย้ายจากบ้านเลขที่ 100/20 แต่เจ้าหน้าที่ทะเบียนก็มาเบิกความว่าไม่มีบ้านเลขที่ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ในทะเบียนราษฎร ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏภูมิลำเนา เป็นกรณีที่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถกระทำได้โดยวิธีธรรมดา การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาจึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
วันนัดพิจารณานัดแรกโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตพร้อมมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลและออกหมายนัดแจ้งจำเลยที่ 1 ที่ 3 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสามไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังแบ่งทรัพย์สิน: ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร และความพลั้งเผลอเป็นไปได้ในนิติบุคคล
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม ส่วนการที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขได้หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันหลังแบ่งทรัพย์สิน - ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆแม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและการสละข้อหาในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันและโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่ง ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วย วิธีพิจารณาความแล้ว เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้วจำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: เหตุจำเป็นที่ศาลควรอนุญาตเพื่อความยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยที่ 2 นอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลมีบัตรตรวจโรคผู้ป่วย รายงานการรักษาและใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐาน เชื่อ ได้ว่าทนายจำเลยที่ 2 ป่วยจนไม่สามารถมาศาลได้จริง เป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การนัดสืบพยานจำเลยในวันนั้นเป็นการซักค้านตัวจำเลยที่ 2 ของทนายโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ยังเบิกความไม่เสร็จก็ยากที่จะรับฟังเป็นความจริงได้ถ้า ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีย่อมจะทำให้เสียความยุติธรรมชอบที่ศาลจะสั่งเลื่อนคดีต่อไปเท่าที่จำเป็นแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการระงับสิทธินำคดีอาญา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรก และให้จำเลยคืนทรัพย์ตามบัญชีเอกสารท้ายฟ้องแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้าน จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกา โจทก์ไม่คัดค้าน ซึ่งในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำเลยถอนฎีกาได้ กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลย และเมื่อโจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และการระงับสิทธิในการฟ้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรก และให้จำเลยคืนทรัพย์ตามบัญชีเอกสารท้ายฟ้องแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้าน จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกา โจทก์ไม่คัดค้าน ซึ่งในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำเลยถอนฎีกาได้ กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลย และเมื่อโจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) จึงให้จำหน่ายคดี.