พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลย ศาลฎีกายกให้ย้อนสำนวน
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในส่วนความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านช่องทางที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และมิได้ผ่านการตรวจอนุญาต กับฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคำฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ และในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้กล่าวหาจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดสองกระทงนี้แต่อย่างใด ส่วนจำเลยมีพยานหลักฐานตามเอกสารหมาย ล. 1 ถึง ล. 3 มาพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ดังที่โจทก์ฟ้องและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดสองกระทงนี้ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาโดยผิดหลงไปว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดสองกระทงนี้ด้วย และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดสองกระทงนี้ โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่สำหรับความผิดสองกระทงดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ขึ้นสู่ศาลชั้นต้น หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270-3272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้ไม่ใช่ประเด็นอุทธรณ์โดยตรง
การโต้แย้งคัดค้านเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา โดยไม่ประสงค์ถึงกับให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปนั้น หาจำต้องถึงขั้นทำเป็นอุทธรณ์ไม่ เมื่อจำเลยโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาโดยทำเป็นเพียงคำแก้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยังไม่ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถือเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่งได้ และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องวินิจฉัยความผิดก่อนพิจารณาลดโทษ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องตรวจสอบความผิดก่อนพิจารณาคำอุทธรณ์เรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบตามกฎหมายเมื่อไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ฎีกาของจำเลยทั้งสองกล่าวอ้างว่า ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยทั้งสองขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา จำเลยทั้งสองหาได้ระบุกล่าวอ้างขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ด้วยไม่ และฎีกาของจำเลยทั้งสองทั้งหมดก็ล้วนเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยถึงปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ดังกล่าวไว้แล้วฎีกาของจำเลยทั้งสองหาได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร ที่จำเลยทั้งสองมีคำขอมาท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาได้โปรดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นั้นก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปได้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะคู่ความจำเลยในคดีอาญา: ผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้ไต่สวนมูลฟ้องเพิ่มเติม
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้อง มิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ฉะนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด: ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองแทนการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทุเลาการบังคับ: ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจทำได้
การขอทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้ว จำเลยจะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้