คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลใช้ดุลพินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความสุจริตและประโยชน์แก่กองมรดก
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจ คำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตและประโยชน์ของกองมรดกเป็นสำคัญ แม้ไม่มีผู้คัดค้าน
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี ก่อนพิพากษายกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความของพยานที่ได้ฟังคำเบิกความของพยานก่อนหน้า ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับฟัง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 มิได้บังคับโดยเด็ด ขาดมิให้ศาลรับฟังคำพยานซึ่งเบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนมาแล้ว แต่เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจ ในการรับฟังคำพยานดังกล่าวได้และหามีบทบัญญัติใดบังคับไว้เด็ด ขาดห้ามมิให้สืบพยานที่ได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความต่อหน้าตนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: คำสั่งศาลต้องไม่เกินกำหนดเดิม มิฉะนั้นถือเป็นประโยชน์ตกไป
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขงโจทก์ ให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก ๑๕ วัน โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะผู้ขอถอน หากถอนแล้วยื่นฟ้องใหม่ ถือเป็นการเอาเปรียบ
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่ได้ขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 วรรคแรก กำหนดไว้ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีได้ โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ในการดำเนินคดีของโจทก์เมื่อปรากฎว่าการที่โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การเป็นเพราะเข้าใจว่าจำเลยที่ 1อาจยื่นคำให้การใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตในครั้งหลังจึงได้รอไว้เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวในวันนัดสืบพยานโจทก์เช่นนี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นให้การภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนดให้ ศาลย่อมใช้ดุลพินิจสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแทนที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นคำขอจำหน่ายคดีหลังจำเลยยื่นคำให้การใหม่ ศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแต่คดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การมาครั้งหนึ่งแล้ว ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1มีโอกาสยื่นคำให้การใหม่และเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไป การที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การใหม่อีกครั้งหนึ่งอาจเพราะโจทก์เข้าใจว่าจำเลยที่ 1ยื่นคำให้การใหม่แล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การตามที่โจทก์มีคำขอนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจริบได้ แม้ประกาศฯ ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่มีบทบัญญัติให้ริบรถยนต์ซึ่งบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำเอามาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 การสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เป็นดุลพินิจศาลหยิบยกพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปประกอบคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งริบของกลางนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานประกอบอื่น แม้ไม่หนักแน่นเพียงพอต่อการลงโทษ ก็สามารถนำสืบประกอบการพิจารณาได้
คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเบิกความโดยที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้านและคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานนั้น แม้ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้ แต่ศาลอาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่โจทก์นำสืบได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 11