พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีแพ่ง แม้จำเลยคัดค้าน และการพิจารณาความสุจริตในการดำเนินคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1)ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล แม้จำเลยคัดค้านก็อนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา การเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องใหม่ และพฤติการณ์ประวิงคดี
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและเห็นว่าพยานจำเลยที่นำสืบมาแล้วฟังได้ว่าจำเลยไม่ยากจนมีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ ให้ยกคำร้อง จำเลยชอบที่จะขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน เมื่อจำเลยเลือกยื่นคำขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานมาแสดงเพิ่มเติม จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนอีกทางหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิได้บังคับว่า เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนนั้น ศาลจะต้องอนุญาต แต่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่ก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่จำเลยจะขอนำสืบเพิ่มเติม เป็นพยานหลักฐานเดิมที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่พยายามนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาลโดยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดีพฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกดำเนินการระหว่างขอพิจารณาคำร้องใหม่หรืออุทธรณ์คำสั่ง กรณีคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและเห็นว่าจำเลยไม่ยากจน ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจำเลยชอบที่จะขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หรือวรรคห้า เมื่อจำเลยเลือกยื่นคำขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานมาแสดงเพิ่มเติม จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนอีกทางหนึ่ง การร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ นั้นเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเห็นได้ชัดว่าพยานหลักฐานที่จำเลยจะขอนำสืบเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานเดิมที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องเดิมอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่พยายามนำหลักฐานดังกล่าวมาศาลโดยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้าอันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้จำเลยขาดนัด ศาลยังยกฟ้องได้หากพยานโจทก์ไม่เพียงพอ และมีข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีภาษีอากร
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาก็ตาม ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรค 1 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธี-พิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
ตามใบขนสินค้าขาเข้าและบัญชีราคาสินค้า ปรากฏว่ามีการระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งศาลก็วินิจฉัยจากพยานเอกสารดังกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหลีกเลี่ยงภาษีโดยระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกันอันเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเอง หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากข้อเท็จจริงในสำนวนอันจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 25
ตามใบขนสินค้าขาเข้าและบัญชีราคาสินค้า ปรากฏว่ามีการระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกัน ซึ่งศาลก็วินิจฉัยจากพยานเอกสารดังกล่าวว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหลีกเลี่ยงภาษีโดยระบุรายการและราคาสินค้าแตกต่างกันอันเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล และเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเอง หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากข้อเท็จจริงในสำนวนอันจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 ได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ และก็มิได้หมายความว่าหากลงโทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับแล้วศาลต้องลงโทษจำคุกจำเลยไปทีเดียว จะรอการลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญา: เจตนาปกปิดความผิดของผู้อื่นไม่ถือเป็นเหตุลดโทษ
ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย ชั้นพิจารณาของศาลจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ขณะสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 2 เบิกความว่า ตนเป็นคนฆ่าผู้ตายเพียงคนเดียว ทำให้เห็นเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับโทษด้วย คำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงไม่ได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกฟ้อง
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงดังนี้ แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยังมีหนี้สินกับโจทก์อีก 2,895,577.87บาท ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ 8088/2535 และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.1038/2533 ซึ่งรวมหนี้สินของจำเลยทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 7,000,000 บาทเศษ โดยจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ โจทก์มิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลมีอำนาจลดได้ตามความเหมาะสมแห่งกรณี
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4194/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาจ้างแรงงานสูงเกินไป ศาลมีอำนาจลดลงได้
สัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 เรียนภาษาญี่ปุ่นแล้วโจทก์จะส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยโจทก์ออกค่าใช้จ่ายในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและค่าใช้จ่ายในการไปฝึกงานให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งตามสัญญากำหนดว่าเมื่อผ่านการฝึกงานแล้วจำเลยที่ 1 ต้องกลับมาเข้าทำงานที่โรงงานของโจทก์หรือที่อื่นตามแต่โจทก์จะกำหนด หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือกลับจากฝึกงานแล้วไม่ประสงค์จะเข้าทำงานตามที่โจทก์กำหนดหรือเข้าทำงานกับโจทก์แต่ทำงานไม่ครบ 6 ปี หรือกระทำผิดต่อโจทก์อย่างร้ายแรงจนถูกเลิกจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใดอันมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 900,000 บาท ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับ เมื่อสูงเกินไปศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดลักทรัพย์ของผู้ป่วยทางจิต: การพิจารณาความสามารถในการรู้ผิดชอบ
ก่อนกระทำผิดจำเลยเคยให้นายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย 2 ครั้งผลการตรวจปรากฏว่าจำเลยเป็นโรคประสาทหลอนและปวดศีรษะด้านซ้ายมือมีอาการสับสน ถ้ามีการดื่มสุรามากหรือเกิดความเครียดมากอาจไม่รู้สึกตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง ในคืนเกิดเหตุจำเลยดื่มสุราแล้วจำเลยได้ใช้มีดงัดสายยูประตูเข้าไปลักทรัพย์แล้วนำทรัพย์กลับไปบ้านจำเลยชั้นสอบสวนจำเลยให้การได้ละเอียดในการที่จำเลยเข้าไปทำการลักทรัพย์ทั้งสามารถนำชี้ที่เกิดเหตุถึงสิ่งที่จำเลยได้กระทำแล้วแสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้