พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ต้องห้ามและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและป่าไม้
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติลพร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ. 2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร ต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่สามารถอ้างอิงราคาสูงสุดภายใน 3 เดือนได้
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาสูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเองแต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้นส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลังอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าการที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าโจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและตามพระราชบัญญัติศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมและมาตรา193/30ใหม่แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันโดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนนั้นแม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่8/2530และ47/2531แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไป ในระยะเวลา3เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมินราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามและช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นความผิดคนละกระทง โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งสองฐาน
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้อง เป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: การนำเข้าของต้องห้ามและการช่วยเหลือซ่อนเร้น ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาโดยยกข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้องเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้มีหน้าที่ชำระคือผู้บังคับบัญชา/ควบคุมอากาศยาน หรือตัวแทน ไม่ใช่ผู้ให้บริการเติมน้ำมัน
กรมศุลกากรโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยเป็นผู้จำหน่ายด้วยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้แก่อากาศยาน การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่อากาศยานซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่ ที่รับผิดชอบในเรื่องค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 110 จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันให้แก่บริษัทสายการบินมีหน้าที่บริการเติมน้ำมันให้แก่อากาศยานซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานจึงมิใช่นายเรือและไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติมาตรา 110 ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันแก่อากาศยานให้แก่โจทก์ เมื่อตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 110ซึ่งเป็นที่มาของกฎกระทรวง ฉบับที่ 73(พ.ศ.2521) อันเป็นกฎกระทรวงที่ให้ใช้ใบแบบ ศ.3 ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมล่วงเวลา บัญญัติให้เฉพาะนายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวการที่หัวเรื่องของใบแนบ ศ.3 ใช้คำว่า "ผู้ค้า"จึงไม่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากนายเรือหรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไปด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจนำคำว่า "ผู้ค้า" ดังกล่าวมาใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวจากจำเลย ในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อใดข้อหนึ่งขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วทำให้ คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้า แม้ติดต่อการท่าเรือและศุลกากร เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าโดยตรง
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัท ส.เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัท ฟ.เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า ส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัท ฟ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการติดต่อท่าเรือและศุลกากรไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่ง
เมื่อเรือเทียบท่าแล้วบริษัท ส. เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าโดยบริษัท ฟ. เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า ส่วนใบสั่งปล่อยสินค้านั้นเรือจะออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ส่งใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับและเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขอนำเรือเทียบท่าและติดต่อกรมศุลกากรเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัท ฟ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ-ตัวแทนทางกฎหมาย และสิทธิในการประเมินราคาใหม่ของศุลกากร
ในขณะที่มีการนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1จากม. มาเป็นจำเลยที่2แล้วแต่จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่1ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1ยินยอมให้ม.หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมคงเป็นตัวแทนของจำเลยที่1อยู่ต่อไปเมื่อม.ลงชื่อในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าในนามจำเลยที่1จึงผูกพันจำเลยที่1และต้องถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยที่1เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้องโจทก์ที่1มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่1สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่1รับไปก่อนโดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดงจำเลยที่1ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกันต่อมาโจทก์ที่1ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้วก็หาทำให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้นพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินภาษีอากรศุลกากรต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจริง ณ วันนำเข้า
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2วรรค12บัญญัติว่า"คำว่า"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"หรือ"ราคา"แห่งของอย่างใดนั้นหมายความว่าราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่หักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด"เวลาที่นำสินค้าเข้ามาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงเวลาที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เวลาที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า