พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพิสูจน์สถานะของอาวุธปืน
พนักงานสอบสวนเบิกความว่าได้สอบถามจำเลยปรากฏว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จำเลยไม่นำสืบหักล้างกลับ เบิกความตอบคำถามค้านเจือสมว่า จำเลยไม่เคยมีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครอง ถือว่าโจทก์ได้นำสืบแล้ว แม้ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็น ของกลางยืนยันพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวก็เพียงพอฟังลงโทษจำเลย ฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ แต่อย่างไร ก็ตามเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า อาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืน ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้ รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสามเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับการพิสูจน์สถานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดี
จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะฟ้องคดี และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งศาลได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: โจทก์ต้องพิสูจน์สถานะและอำนาจของผู้ลงชื่อฟ้อง หากจำเลยปฏิเสธ
จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะฟ้องคดี และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งศาลได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติไทย
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโนตารีปับลิกรับรองนิติบุคคล: หนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันสถานะ
อำนาจของโนตารีปับลิกมิใช่เพียงแต่การรับรองลายมือชื่อของผู้ทำเอกสารว่าได้มีการลงลายมือชื่อต่อหน้าตนเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงอำนาจที่จะรับรองการกระทำคือหนังสือมอบอำนาจด้วย เมื่อข้อเท็จจริงในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด จึงต้องฟังไปตามนั้น หาจำเป็นจะต้องมีหนังสือจากนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะทะเบียนได้ ศาลฎีกาพิจารณาว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นที่มีใบอนุญาต
ข้อหาความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียนหรือไม่ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจก็มิได้ยึดอาวุธปืนดังกล่าวเป็นของกลาง กรณีจึงต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,72 วรรคสามเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะคู่ความก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง: จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ก่อนที่ศาลประทับฟ้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคสามบัญญัติมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะคู่ความก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง: จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ก่อนที่ศาลประทับฟ้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคสามบัญญัติมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.และอ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-10/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงงานยาสูบและการจ่ายค่าชดเชย: การจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังมิใช่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังดังนั้นโรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลางหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ1(1)บังคับไม่ การที่ระเบียบโรงงานยาสูบว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานยาสูบพ.ศ.2518และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2520กำหนดไว้ว่าพนักงานยาสูบคนใดมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แล้วถือว่าครบเกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ระเบียบดังกล่าวนี้ออกมาภายหลังที่พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มีผลบังคับแล้วระเบียบนี้จึงได้ออกมาอนุวัตตามเป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยแท้มิใช่กรณีที่นายจ้างต้องผูกพันจ้างลูกจ้างจนมีอายุครบ60ปีนายจ้างจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้ จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งต่างประเภทกับเงินบำเหน็จที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จของโรงงานยาสูบฉะนั้นเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไปแล้วตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชย.