พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในการต่อสู้คดีและการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมด คงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงาน-กระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในการต่อสู้คดีทำให้คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ทำให้ไม่ต้องนำสืบพยาน
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมดคงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงานกระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหลักฐานการรับเงินมรดกและสละสิทธิ ถือเป็นเอกสารสิทธิ ตามกฎหมาย
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิ ตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนของคำทั่วไป: อำนาจของนายทะเบียนในการสั่งให้สละสิทธิบางส่วน
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 17 (1) ให้อำนาจนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในอันที่จะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ แสดงปฏิเสธว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้ารายนั้น คำว่า "มหาชัย" เป็นชื่อตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ย. โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "มหาชัย" จึงหาขัดต่อกฎหมายอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังได้รับค่าชดเชย
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า หลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆ จากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย เมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็นซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างหลังเกษียณไม่ใช่จ้างวานเฉพาะโครงการ ค่าชดเชยยังคงมีสิทธิคุ้มครอง และข้อตกลงสละสิทธิค่าชดเชยเป็นโมฆะ
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาตลาดเงินทุน มีหน้าที่ดูแลลูกค้าเงินฝากของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงาน จำเลยได้ทำสัญญาจ้าง ให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปีในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมี ลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ ที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้างโดยกำหนดว่าผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลา และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชย จากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนและสละสิทธิบังคับคดี ทำให้ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อพิพาท
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ติดใจและขอสละสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งงดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีต่อไปให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนและการสละสิทธิบังคับคดี ทำให้ศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ติดใจและขอสละสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งงดการบังคับคดีไว้ ชั่วคราวหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีต่อไปให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโบนัส การรับเงินชดเชยเฉพาะกรณีไม่ถือเป็นการสละสิทธิทั้งหมด
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท. (จำเลย) ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ.2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน 424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป