คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่ทราบตัวผู้รับผิด การสอบสวนเพิ่มเติมไม่ทำให้ขยายอายุความ
อายุความคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดเริ่มนับแต่เมื่อโจทก์ทราบถึงผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่ได้รับแจ้งผลการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนการที่โจทก์สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมให้ได้พยานหลักฐานที่สมบูรณ์ขึ้นไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิดมิฉะนั้นอายุความก็จะขยายออกไปแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดต่างกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาทุกกระทง
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดแม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขบวนการหลอกลวงส่งไปค้าประเวณีต่างประเทศ: การกระทำผิดกรรมเดียวและความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสองว่า สามารถติดต่อส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือต่อได้ เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วมีคนมารับโจทก์ร่วมทั้งสองไปควบคุมตัวไม่ให้หลบหนี เพื่อให้โจทก์ร่วมทั้งสองทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงในการจัดส่งโจทก์ร่วมทั้งสองออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียวการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกงต้องมีลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคน การสอบสวนผู้ที่ไม่ได้ลงชื่อถือว่าไม่ชอบ
คดีฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่ออันยอมความได้นั้นแม้ว่าหนังสือร้องทุกข์จะมีข้อความว่า"จึงได้ร่วมกันมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี"และผู้เสียหายที่มิได้ลงชื่อในหนังสือร้องทุกข์ได้ให้การในชั้นสอบสวนว่าถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงให้หลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไปก็ตามเมื่อปรากฏว่าหนังสือร้องทุกข์นั้นคงมีแต่ลายมือชื่อของบ.เท่านั้นจะฟังว่าผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์ด้วยไม่ได้การสอบสวนต่อมาสำหรับผู้เสียหายที่มิได้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตร2(7),123วรรคสามและ121วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลย หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ คงมีหลักฐานเพียงว่า ในคืนเกิดเหตุมีคนร้ายลักยางพาราแผ่นของผู้เสียหายไปข้อนำสืบเบื้องต้นที่ว่าจำเลยเป็นคนร้ายมาจากคำรับของจำเลยต่อพนักงานสอบสวน และต่อบุคคลที่รู้เห็นในขณะนั้นเป็นพยานบอกเล่าที่จำเลยได้บอกแก่พนักงานสอบสวนจริง แต่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำการลักทรัพย์ไปจริงตามที่ได้บอกเล่าไว้หรือไม่นั้นต้องมีพยานอื่นมาสนับสนุนให้รับฟังได้ว่าเป็นจริงตามที่จำเลยได้บอกเล่าแก่พนักงานสอบสวนลำพังแต่คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนเพียงรับฟังได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวไว้เช่นนั้น จะรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นจะต้องมีพยานอื่นสนับสนุนด้วย เมื่อโจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวน จึงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ได้มาจากการสอบสวนฝ่ายเดียวมีน้ำหนักน้อย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบจึงจะลงโทษจำเลยได้
คำให้การรับสารภาพของจำเลยใน ชั้นสอบสวนเป็น พยานบอกเล่าพนักงานสอบสวนดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านแม้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแต่ก็ มีน้ำหนักน้อยโจทก์จะต้องมีพยานอื่นมาสืบประกอบจึงจะมีน้ำหนักเพียงพอลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทหาร-ตำรวจไม่ใช่กฎหมาย การสอบสวนไม่เสีย แม้ผิดข้อตกลง ริบของกลางซ้ำไม่ได้
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. 2498ข้อ 26 ทวิ มิใช่กฎหมาย แม้มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นสอบสวนที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ แต่การสอบสวนไม่ชอบ
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลเลิกจ้าง มิใช่กระบวนการสอบสวน
การที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้นต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ส่วนกรณีที่จะต้องมีการสอบสวนถึงเหตุนั้นก่อนหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งจะนำมาเป็นหลักในการพิจารณาว่าถ้าไม่มีการสอบสวนตามระเบียบแล้วย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชามีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยไม่อาจไว้วางใจโจทก์อีกต่อไป จำเลยจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
of 26