พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรเกิดในไทยจากบิดาต่างด้าวมีใบอนุญาต แม้แม่เป็นญวนอพยพ ไม่ถูกเพิกถอนสัญชาติ
บุคคลซึ่งเกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยชอบ ย่อมได้รับสัญชาติไทยและไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้มารดาของบุคคลเหล่านั้นจะเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513-1514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ: สัญชาติไทยยึดตามสัญชาติบิดา ณ เวลาเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง
จำเลยเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีของมารดาได้ ส่วนบิดาของจำเลยและจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรและจำเลยเกิดในขณะที่บิดาจำเลยมีสัญชาตไทย ดังนี้แม้ต่อมาในภายหลังบิดาจำเลยจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จำเลยก็หาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวด้วยไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318-2319/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเกี่ยวกับสัญชาติ: การแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพไม่ทำให้สัญชาติไทยสิ้นสุด
โจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แม้บิดามารดาของโจทก์จะไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งชื่อโจทก์เข้าในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพก็ไม่ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสัญชาติไทยและกลายเป็นคนสัญชาติญวน
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318-2319/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยไม่สูญเสียแม้ชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ การโต้แย้งสิทธิทำให้มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แม้บิดามารดาของโจทก์จะไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งชื่อโจทก์เข้าในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพก็ไม่ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสัญชาติไทยและกลายเป็นคนสัญชาติญวน
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
ก่อนฟ้องโจทก์และมารดาได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและผลของการถอนสัญชาติที่ผิดหลักเกณฑ์ การฟ้องเพื่อระงับการละเมิดสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1บัญญัติไว้ว่าให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ปรากฏว่าโจทก์เกิดในประเทศไทยและเป็นบุตรของนาง ต.คนสัญชาติไทยกับนายค. คนสัญชาติญวนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เช่นนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) และเป็นผู้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวที่จะถูกถอนสัญชาติไทยเนื่องจากบิดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำว่า 'บิดาเป็นคนต่างด้าว' ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวหมายความถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นหาหมายความรวมถึงบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่
การที่จำเลยถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคนสัญชาติญวน ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิต่าง ๆในฐานะเป็นคนสัญชาติไทย เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
อายุความตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 บัญญัติไว้หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้จำเลยเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ระงับการกระทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหาย จึงหาอยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคนสัญชาติญวน ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิต่าง ๆในฐานะเป็นคนสัญชาติไทย เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
อายุความตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 บัญญัติไว้หมายถึงการฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้จำเลยเพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ระงับการกระทำละเมิดที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าเสียหาย จึงหาอยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยกรณีบิดามารดาเข้ามาในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายคนเข้าเมือง และผลกระทบต่อสิทธิในการมีสัญชาติ
จำเลยมีคำสั่งให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมแก้ไขสัญชาติของโจทก์ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านจากสัญชาติไทยเป็นญวน และนายอำเภอท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยแล้ว แม้การออกคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และระเบียบแบบแผนของทางราชการ จะไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ต้นฉบับเอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นส่งต่อศาลโดยตรง ไม่ต้องมีพยานบุคคลเข้าเบิกความรับรอง ศาลก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ขณะโจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2480 มาตรา 29 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จึงถือว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) โจทก์ที่ 1 จึงถูกถอนสัญชาติไทย
ต้นฉบับเอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นส่งต่อศาลโดยตรง ไม่ต้องมีพยานบุคคลเข้าเบิกความรับรอง ศาลก็รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
ขณะโจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2480 มาตรา 29 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จึงถือว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 เกิด บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) โจทก์ที่ 1 จึงถูกถอนสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และการพิสูจน์สถานะการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้มีคำสั่งให้นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองนครพนมแก้ไขสัญชาติของโจทก์ทั้งสองในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ทั้งสองจากสัญชาติไทยเป็นสัญชาติญวนและนายทะเบียนท้องถิ่นได้ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วแม้การออกคำสั่งนั้นจะเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และระเบียบแบบแผนของทางราชการก็ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง บิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน2483แต่มิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวภายใน30วันตามความในมาตรา5แห่งพ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าวพุทธศักราช2479จนกระทั่งวันที่22สิงหาคม2488จึงได้ขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเช่นนี้ในระหว่างที่ยังไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นพ.ร.บ.คนเข้าเมืองพุทธศักราช2480มาตรา29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าบิดามารดาของโจทก์ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองจึงต้องถือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นบิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(3) โจทก์ที่1เกิดในประเทศไทยในระหว่างที่บิดามารดายังมิได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่บิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์ที่1จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ส่วนโจทก์ที่2เกิดหลังจากที่บิดามารดาได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วกรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์ที่2จะถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337.