คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-804/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาที่ตัวแทนทำไป แม้ไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทน
ตัวแทนเชิกที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนไว้ชัดแจ้งเหมือนกรณีสัญญาตั้งตัวแทนตามปกติธรรมดาทั่วไป
จำเลยที่ 1 รู้และยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำที่ดินจัดสรรออกขายแก่บุคคลภายนอกซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำไปเสมือนว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำไปเสมือนว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7655/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน แม้ไม่มีข้อกำหนดต้องเสนอข้อพิพาทก่อนบอกเลิกสัญญา
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุว่าในกรณีมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญานี้และคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด มิได้มีข้อความใดๆ กำหนดว่าก่อนจะมีการบอกเลิกสัญญาต้องนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการก่อน และกรณีนี้ก็ได้มีการนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนฟ้องคดีแล้ว ตามสัญญาข้อ 21.4 ระบุว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือของอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณี ให้ถือเป็นเด็ดขาดและถึงที่สุดผูกพันคู่สัญญา เมื่อได้พิจารณาประกอบกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 20 แล้ว เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณี คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามมาตรา 22 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินที่ไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 24,000 บาท ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งหนังสือสัญญากู้เงินตามที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสาร ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อยอดเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินมีจำนวน 24,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 12 บาท แต่ในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท จึงปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
การขอปิดอากรแสตมป์เพิ่มในหนังสือสัญญากู้เงิน จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่นำเอกสารนั้นมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน เมื่อโจทก์กระทำหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้แล้ว แม้โจทก์ได้ขออนุญาตปิดอากรเพิ่มเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 ก็ไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกในบันทึกข้อตกลงการหย่า: สิทธิฟ้องของคู่สัญญา
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาต่างตอบแทน โดยยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากจะระบุยกทรัพย์สินบางรายการให้แก่กันและกันแล้ว ยังมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินของ ป. มารดาโจทก์ ท. และ บ. พี่โจทก์ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่บุคคลทั้งสามด้วย เป็นผลให้มีฐานะเป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยชำระหนี้ให้แก่ ป. ท. และ บ. โจทก์ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุข้อความปฏิเสธการยอมความในคดีอาญาในสัญญา ไม่ขัดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
การยอมความกันที่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องเป็นการแสดงเจตนาของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาหรือเอาผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ข้อความที่ว่า "การยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา" มีความหมายว่าโจทก์ไม่ให้ถือเอาความตกลงยินยอมรับชำระหนี้จากจำเลยตามที่ระบุในหนังสือรับสภาพความรับผิดและบันทึกรับสภาพหนี้เป็นการตกลงยอมความในคดีอาญา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ทำเช่นนั้น ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเป็นสิทธิผู้เสียหายโจทก์ที่จะยอมความในคดีอาญาอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือไม่ก็ได้ การระบุข้อความเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทและตั๋วแลกเงิน เป็นการคิดในอัตราสินเชื่อผิดนัด แต่อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์และจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในอัตราสินเชื่อผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เอกสารหมาย จ. 58 เป็นการคิดดอกเบี้ยผิดไปจากสัญญาที่ระบุไว้โดยไม่มีสิทธิที่จะคิดได้โดยชอบ จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาแผนกทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6639/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ตกลงด้วย
บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงยอมรับว่าโจทก์เสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 100,000 บาท ผ่อนชำระ 12 งวด และโจทก์ตกลงตามบันทึกดังกล่าวข้อ 4 ว่าหากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดครบยอดเงิน 100,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลือ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามมูลหนี้ในสัญญาเช่าซื้อเดิมไม่ได้ตกลงในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่โจทก์ใช้สิทธิ
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบกระสุนปืนให้โจทก์ โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที แต่ได้เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาพร้อมทั้งสงวนสิทธิในการปรับตามเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งต่อมาจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบกระสุนปืนให้โจทก์ได้โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบังคับตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ คือ ริบเงินหลักประกันและปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.20 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจนถึงวันที่บอกเลิกสัญญา แต่เงื่อนไขเรื่องเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก บัญญัติว่า "ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงแต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." ตามข้อเท็จจริงราคาทรัพย์ที่จำเลยตกลงขายให้โจทก์คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 539,916.44 บาท จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบกระสุนปืนภายในกำหนด แม้โจทก์จะให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยก็ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์จึงควรใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาที่สมควรแต่โจทก์เพิ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วเป็นเวลานานถึง 1 ปีเศษ เป็นการปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเกินสมควร จึงตกเป็นภาระแก่จำเลยต้องถูกปรับมากเกินไป สมควรลดค่าปรับให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีของลูกหนี้ ถือเป็นการชำระหนี้เดิมได้ และระงับหนี้ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืนนั้น มีผลเท่ากับเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับจากจำเลยทั้งหมด ถึงแม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นที่ว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาเงินของจำเลยด้วยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคาร เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาไว้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินเท่ากับหนี้ที่ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย อันเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีอัตโนมัติถือเป็นการชำระหนี้ตามสัญญา แม้เจ้าหนี้อ้างว่าเป็นการลักทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ปลอมและฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืน มีผลเท่ากับจำเลยปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับทั้งหมด แม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยในประเด็นที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์เอาเงินของจำเลยไปโดยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคารเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
of 337