คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสมควรในสัญญากู้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย ข้อ 2.1 ก. กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14.50 ต่อปี แต่สัญญาข้อ 2.4 มีข้อความระบุว่า "ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยตามจำนวน และ/หรือกำหนดเวลาที่ระบุตามข้อ 3ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บได้จากลูกค้าเงินกู้แทนอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1, 2,2 และ 2.3 ข้างต้น" โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้ได้ แต่ปรากฏว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ถ้าเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ ไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัดชำระหนี้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและจำนองไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
เบี้ยปรับคือสัญญาซึ่งลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแต่ตามสัญญากู้เงินหรือสัญญาจำนองกำหนดให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ดังนี้ข้อสัญญาที่กำหนดในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นดอกเบี้ยในสัญญากู้ มิใช่เบี้ยปรับ แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกายืนตามสัญญาเดิม
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเพิ่มวงเงินกู้และการคำนวณอากร
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2525 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์จำนวน 2,000,000 บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 ได้ทำสัญญากันไว้ และปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นได้ทำบันทึกต่ออายุสัญญากันอีก 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2526 วันที่ 18 มกราคม 2527 วันที่ 8 มีนาคม2528 และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ตามลำดับ ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2530 และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมขึ้นอีก 1,000,000 บาท รวมเป็นจำนวน3,000,000 บาท ข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิม ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ในวงเงิน 2,000,000 บาท ได้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2530 ดังนั้นในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2529 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ได้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมได้อยู่จำนวน 2,000,000 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่ ฉะนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1,000,000 บาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์2529 จึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมในยอดเงินเพียง 1,000,000 บาท ส่วนอีกจำนวน 2,000,000 บาท ยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดิมซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้ว หาใช่ยอดเงินทั้งจำนวน3,000,000 บาท เป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมไม่เมื่อยอดเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเพิ่มเติมมีจำนวนเพียง1,000,000 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ในตราสารดังกล่าวในยอดเงิน1,000,000 บาท คิดเป็นค่าอากรแสตมป์จำนวน 500 บาท ตามบทบัญญัติแห่งป.รัษฎากร มาตรา 104 ประกอบลักษณะแห่งตราสาร 5 แห่งบัญชีอัตราอากร-แสตมป์ท้ายหมวด 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม แม้มีข้ออ้างเรื่องนิติกรรมอำพราง ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
เมื่อคำให้การจำเลยแปลความได้ว่า จำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้ว จำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น หาได้มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้ จึงกระทำด้วยเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และจ.3 ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และประเด็นการชำระหนี้ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
เมื่อคำให้การจำเลยแปลงความได้ว่าจำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้วจำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าวสัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้นหาได้มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้จึงกระทำด้วยเอกสารหมายล.1ถึงล.3และจ.3ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ธนาคารมีสิทธิปรับดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยไม่ต้องขอความยินยอมผู้กู้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดีหรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่างๆก็ดีผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อนแต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วนตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อนแม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ12.5ต่อปีโจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ12.5ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 40