พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในวงเงินค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 มีหนี้มากกว่า และแก้ไขสัญญาด้วยวาจาไม่ได้
จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดในหนี้สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน หมายความว่าแม้จำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่มากกว่านี้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันไว้เท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่มากกว่าวงเงินที่ค้ำประกัน จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันมิได้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ชำระเงินเท่าใดจะให้จำเลยที่ 2 รับภาระหนี้ที่ค้ำประกันอยู่ลดลงตามจำนวนหนี้ที่ชำระมาแล้ว จำเลยที่ 2 จะนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์เคยมีข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของข้อตกลงสภาพการจ้างใหม่ต่อสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาตัดสินจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามหลักเกณฑ์ใหม่
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 29 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 29 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องตีความเคร่งครัด การลงลายมือชื่อรับรองความเข้าใจเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่ฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด เมื่อข้อความในสัญญากู้ยืมเงินทั้งฉบับไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกัน เจตนาสำคัญกว่าตัวอักษร และให้ประโยชน์แก่ผู้ต้องเสีย
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกันและจำนอง: ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้ของลูกหนี้อีกทอดหนึ่ง
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามสัญญาว่าจ้างเดิมสิ้นผลเมื่อทำสัญญาใหม่โดยไม่แจ้งเจ้าหนี้ค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยร่วมก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 1ทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาจำเลยร่วมไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยร่วม หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยร่วมได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันกันใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเริ่มต้นการก่อสร้างใหม่ และกำหนดระยะเวลาก่อสร้างเป็น 5 งวด โดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและจำเลยที่ 1ก็ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังจำเลยที่ 1 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แม้จำเลยร่วมผิดสัญญาฉบับหลังและโจทก์บอกเลิกสัญญาฉบับหลังแล้วก็ตาม โจทก์จะอาศัยสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังมาฟ้องร้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับแรกที่จำเลยที่ 1 ทำไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ และการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกาแต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกัน ก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "? ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้?" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่
สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน ดังนั้น การออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล มิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ในเรื่องค้ำประกัน ที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "? ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้?" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่
สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน ดังนั้น การออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล มิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ในเรื่องค้ำประกัน ที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยแพ้คดีและบทบัญญัติค้ำประกันทั่วไปมิอาจปรับใช้
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นผู้ยื่นฎีกา แต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกันก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน, อายุความ, และฐานะทายาท - ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นทายาทได้
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน 32,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
++ จำเลยทั้งสามฎีกา ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
++ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงมาว่า โจทก์เป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหน่วยราชการในสังกัดของโจทก์ นายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์ ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและได้ทำสัญญาไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ความว่าหากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจนายอนุสรณ์จะชดใช้เงินแก่กรมตำรวจปีการศึกษาละ 7,500 บาทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโรงเรียนนายร้อยตำรวจยอมชดใช้เงินแก่โจทก์หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระเงินตามสัญญา ตามเอกสารหมาย จ.6 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมายจ.5 ว่า หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ให้ต่อมาโจทก์มีคำสั่งให้ถอนทะเบียนนายอนุสรณ์ออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจตามคำสั่งกรมตำรวจ เอกสารหมาย จ.8 ต่อมานายอนุสรณ์ถึงแก่ความตายตามเอกสารหมาย จ.2 และนายอนุสรณ์ไม่ได้ชดใช้เงินตามสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ++
++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ในปัญหาดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นฎีกาที่จำเลยที่ 3ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ คงมีปัญหาเฉพาะตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ เห็นว่า สัญญาเอกสารหมาย จ.6ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสัญญาเอกสารหมาย จ.5ที่จำเลยที่ 2 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสัญญาที่มีข้อความระบุถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อกรมตำรวจเพื่อชำระหนี้ในเมื่อนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาค้ำประกันหากนายอนุสรณ์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ถือว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 เป็นสัญญาประธาน ส่วนสัญญาเอกสารหมาย จ.6 และ จ.5 เป็นสัญญาอุปกรณ์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดตามสัญญาอุปกรณ์และฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3รับผิดฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ด้วย ฉะนั้น คดีโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่กับนายอนุสรณ์ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.3 ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 กำหนดให้นายอนุสรณ์ชดใช้เงินแก่โจทก์กรณีถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมรับราชการในกรมตำรวจอย่างน้อย 4 ปี เท่านั้นสัญญาเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันความเสียหายที่นายอนุสรณ์จะต้องรับผิดตามสัญญาที่นายอนุสรณ์ทำไว้ต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง และสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ไม่ใช่สัญญารับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน และโจทก์ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (12) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากนายอนุสรณ์ตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี นายอนุสรณ์ทราบคำสั่งถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2529 ตามบันทึกด้านหลังเอกสารหมาย จ.9 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 ไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3ต่อไปว่า โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ต้องนำสืบหรือไม่ว่านายอนุสรณ์มีทรัพย์มรดกและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3เป็นผู้รับมรดกนายอนุสรณ์เป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้นำสืบ และโจทก์มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายนั้น
++ เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้รับผิดในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ไม่จำต้องนำสืบ
++ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้รับมรดก แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะอุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาพอแก่การวินิจฉัยและเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3)
++ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ โกมลรัตน์ รับผิดร่วมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน 32,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
++ จำเลยทั้งสามฎีกา ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
++ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงมาว่า โจทก์เป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหน่วยราชการในสังกัดของโจทก์ นายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์ ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและได้ทำสัญญาไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ความว่าหากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจนายอนุสรณ์จะชดใช้เงินแก่กรมตำรวจปีการศึกษาละ 7,500 บาทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโรงเรียนนายร้อยตำรวจยอมชดใช้เงินแก่โจทก์หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระเงินตามสัญญา ตามเอกสารหมาย จ.6 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมายจ.5 ว่า หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ให้ต่อมาโจทก์มีคำสั่งให้ถอนทะเบียนนายอนุสรณ์ออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจตามคำสั่งกรมตำรวจ เอกสารหมาย จ.8 ต่อมานายอนุสรณ์ถึงแก่ความตายตามเอกสารหมาย จ.2 และนายอนุสรณ์ไม่ได้ชดใช้เงินตามสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ++
++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ในปัญหาดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นฎีกาที่จำเลยที่ 3ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ คงมีปัญหาเฉพาะตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ เห็นว่า สัญญาเอกสารหมาย จ.6ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสัญญาเอกสารหมาย จ.5ที่จำเลยที่ 2 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสัญญาที่มีข้อความระบุถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อกรมตำรวจเพื่อชำระหนี้ในเมื่อนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาค้ำประกันหากนายอนุสรณ์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ถือว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 เป็นสัญญาประธาน ส่วนสัญญาเอกสารหมาย จ.6 และ จ.5 เป็นสัญญาอุปกรณ์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดตามสัญญาอุปกรณ์และฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3รับผิดฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ด้วย ฉะนั้น คดีโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่กับนายอนุสรณ์ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.3 ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 กำหนดให้นายอนุสรณ์ชดใช้เงินแก่โจทก์กรณีถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมรับราชการในกรมตำรวจอย่างน้อย 4 ปี เท่านั้นสัญญาเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันความเสียหายที่นายอนุสรณ์จะต้องรับผิดตามสัญญาที่นายอนุสรณ์ทำไว้ต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง และสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ไม่ใช่สัญญารับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน และโจทก์ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (12) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากนายอนุสรณ์ตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี นายอนุสรณ์ทราบคำสั่งถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2529 ตามบันทึกด้านหลังเอกสารหมาย จ.9 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 ไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3ต่อไปว่า โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ต้องนำสืบหรือไม่ว่านายอนุสรณ์มีทรัพย์มรดกและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3เป็นผู้รับมรดกนายอนุสรณ์เป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้นำสืบ และโจทก์มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายนั้น
++ เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้รับผิดในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ไม่จำต้องนำสืบ
++ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้รับมรดก แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะอุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาพอแก่การวินิจฉัยและเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3)
++ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ โกมลรัตน์ รับผิดร่วมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อสัญญาหลักเปลี่ยนแปลง และการพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีแรงงาน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน และอธิบดีผู้พิพากษาแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากการทำงานและความผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลัง คือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ขอให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง