พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อหนังสือสัญญากู้เงินที่แปลงหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็น โมฆะด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินผิดกฎหมาย และสัญญาแปลงหนี้ที่ดินเป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือ สัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลง ยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขาย, การขายเครื่องเรือนพร้อมอาคารชุด และรายได้จากสัญญาสิทธิเก็บกิน กรณีภาษีอากร
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และการจำหน่ายเครื่องเรือนประกอบอาคารชุดภายใต้กฎหมายภาษีอากร
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าว เป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใด และจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อ ชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระ ในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการ เข้าทำสัญญาไม่ เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการ คำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขาย ไม่ว่าจะชำระ ในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน ซึ่งในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวโจทก์ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกัน ชัดแจ้ง ดังนั้น เครื่องเรือนที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมี ลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด ถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการ ขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้นิยามคำว่า "ขาย" ไว้ว่าหมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็น ชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดเป็นเพียง การมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศ ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น หาใช่เป็นการขายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิการครอบครองยังคงเป็นของผู้ขายเดิมจนกว่าจะมีการโอนสิทธิอย่างถูกต้อง
ที่ดินตาม น.ส.3 ก.ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร.มารดาจำเลยที่ 1เมื่อปี 2526 ร.จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ ศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร.ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่ ร.ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร.ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1 และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร. แสดงว่าโจทก์และ ร.มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร.มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร.ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
การที่ ร.ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร.ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1 และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร. แสดงว่าโจทก์และ ร.มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร.มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร.ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การครอบครองที่ดินหลังสัญญา และการไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน
ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร. มารดาจำเลยที่ 1 เมื่อปี 2526 ร. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527 ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิ ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร. ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่ ร. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร. ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร.แสดงว่าโจทก์และ ร. มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร. มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน: ผลผูกพันและความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไปและโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาท กับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่ายละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 และ 456 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้นซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้นซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สัญญาผูกพันแม้ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายจริง ความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไป และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาทกับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่าย ละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377และ 456 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้น ซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การ ผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กรรมสิทธิ์ยังอยู่เจ้าของเดิมจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยในสัญญาซื้อขายระบุว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่ยังไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากโจทก์ที่ 2 และที่ 5ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะโอนทันทีแสดงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้นเพราะยังมีข้อตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันตามข้อตกลงในสัญญากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงอยู่แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ถึงจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งห้า จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ยันกับโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขับไล่โจทก์ทั้งห้าออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่ายเป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ