คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างหลังส่งมอบงานงวดแรกก่อนงานแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผลของการเกิดเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4 ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆรวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ความรับผิดของผู้รับจ้างต่อความเสียหายหลังส่งมอบงานแต่ละงวด
ตามสัญญาจ้างข้อ 6 ระบุว่า เมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้าง... ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 12 เดือนนับแต่วันที่ได้รับมอบงาน... ถ้างานที่จ้างเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ข้อ 7 ระบุว่าเนื่องจากพันธะ ที่มีต่อกันตามสัญญานี้... บรรดางานที่ผู้รับจ้างได้ทำขึ้น... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น แต่ถ้ามีอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นแก่สิ่งเหล่านั้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยประการใดก็ตาม ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านั้น และจัดหามาใหม่หรือแก้ไขให้คืนดี ทั้งนี้ภายใต้พันธะที่มีอยู่ในสัญญาอันยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ภายหลังเวลาส่งมอบซึ่งผู้รับจ้างจำต้องรับผิดเพียงความบกพร่องและเพียงความเสียหายที่มีขึ้นภายในระยะเวลาที่กล่าวในสัญญาข้อ 6 นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 4ระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับค่าจ้างเป็นงวด ๆ รวม 6 งวด เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจรับงานที่ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแต่ละงวดแล้ว ผู้ว่าจ้างจะออกใบตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างไว้เป็นหลักฐาน และได้กำหนดวันเริ่มงานและให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ไว้ในสัญญาข้อ 5 อีกด้วย จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยผู้รับจ้างย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง การที่จำเลยทำงานเสร็จแต่ละงวดนั้นถ้างานงวดสุดท้ายยังไม่เสร็จ จะถือว่างานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะสัญญาได้กำหนดให้จำเลยทำงานให้แล้วเสร็จทั้งหกงวด สำหรับข้อความในสัญญาข้อ 7 ที่ยกเว้นความรับผิดของจำเลยว่า เว้นแต่ภายหลังการส่งมอบนั้นย่อมหมายถึงการส่งมอบงานงวดสุดท้ายจึงจะเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ดังนี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมระหว่างที่จำเลยผู้รับจ้างทำงานที่ค้างอีกสามงวด ทำให้งานส่วนที่ตรวจรับแล้วเสียหาย จำเลยจึงยังต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ฝ่ายผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฉ. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ คงมีจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไว้เพียงว่า ฉ. จะมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์หรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 2ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ข้อใดและมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธดังนี้ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 360 วัน โจทก์ได้ต่ออายุสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 120 วัน ครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จ จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ต่อมาโจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำการก่อสร้างให้เสร็จได้ภายในกำหนดสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ก็ได้ต่ออายุสัญญาให้ครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จ้าง จ. ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านเตาไท และโรงเรียนบ้านนารายณ์ เพิ่มเติมต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างค้างไว้ กับก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านดอนจันทร์ รวมเป็นเงิน1,350,000 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่เหลือตามสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 พอดี โจทก์ดำเนินการก่อสร้างโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าก่อสร้างส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การบอกเลิกสัญญา ค่าปรับ และสิทธิเรียกร้องหลังบอกเลิกสัญญา
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมระงับลง โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้น โจทก์จึงหามีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยอีกต่อไปไม่ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่เท่านั้น
จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 9 ให้แก่โจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาไป 97 วัน โจทก์จึงจ่ายเงินค่าจ้างงานงวดดังกล่าวให้จำเลยไม่เต็มโดยหักค่าปรับที่ส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาวันละ 2,000 บาทออกโดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับในการส่งมอบงานงวดที่ 9 ล่าช้าให้แก่โจทก์ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดค่าปรับก็เป็นอันขาดไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก ศาลจะหยิบยกค่าปรับส่วนนี้มาวินิจฉัยลดให้จำเลยอีกย่อมเป็นการไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, และการชำระหนี้เมื่อสัญญาเป็นโมฆะ/ระงับ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมระงับลง โจทก์ จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้น โจทก์จึงหามีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยอีกต่อไป โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ เท่านั้น จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 9 ให้แก่โจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาไป 97 วัน โจทก์จึงจ่ายเงินค่าจ้างงานงวดดังกล่าวให้จำเลยไม่เต็ม โดยหักค่าปรับที่ส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาวันละ 2,000 บาทออกโดยจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับในการส่งมอบงานงวดที่ 9 ล่าช้าให้แก่โจทก์ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องขอลดค่าปรับก็เป็นอันขาดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา383 วรรคแรก ศาลไม่ชอบที่จะหยิบยกค่าปรับส่วนนี้มาลดให้จำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยรับสภาพหนี้ สัญญาจ้างเหมาแบบปรับราคา จำเลยต้องจ่ายเงินค่าปรับตามสัญญา
โจทก์มีหนังสือขอเบิกเงินค่าปรับราคาตามสัญญาจ้างเหมาไปยังจำเลย จำเลยได้มีหนังสือตอบโจทก์แจ้งว่า ยังไม่อาจพิจารณาค่าปรับราคาได้จนกว่าจะได้มีการแยกรายละเอียดราคาแต่ละประเภทงาน ซึ่งขณะนี้จำเลยกำลังดำเนินการอยู่ เมื่อทราบผลแล้วจะได้รีบพิจารณาค่าปรับราคาให้โจทก์ต่อไป ข้อความตามหนังสือของจำเลยดังกล่าวเท่ากับยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับราคาตามสัญญาจ้างเหมาจริง เป็นการยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลย
การที่อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2523 อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลย แล้วต่อมาจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า ไม่สามารถจ่ายเงินค่าปรับราคาตามสัญญาให้โจทก์ได้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2524 นั้น เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงได้สิ้นสุดและเริ่มนับขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2524 เป็นต้นไป ดังนี้ เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของอันมีอายุความ 2 ปี การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีที่จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าจำเลยรับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าปรับราคาให้โจทก์ตามสัญญาจำเลยจะอ้างว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้แยกรายละเอียดประเภทของงานไว้ จำเป็นต้องแก้ไขสัญญาเดิม แต่ไม่ได้รับอนุมัติให้แก้ไขสัญญา เพราะการแก้ไขเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียประโยชน์อันเป็นการผิดระเบียบของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องภายในของจำเลย มาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์ควรได้รับค่าปรับราคาตามสัญญาเป็นเงิน 2,458,000 บาท จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้ว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างไร คงฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วเท่านั้น โจทก์จึงควรได้เงินค่าปรับราคาตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้างเหมา: ค่าเค, การปรับราคา, และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การตีความเจตนาการปรับราคาค่างาน และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบงานชำรุดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชา เป็นเหตุให้รั้วพังล้มลง แม้โจทก์จะอ้างว่า จำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้น โจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลน ตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาด ของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหาย แก่จำเลยที่ 1เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญา กับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดิน ของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา จ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษา รุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้น จะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย
of 12