พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อมีการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้เช่ามีจำกัดเฉพาะตามสัญญา
แม้ผู้ร้องมีสัญญาต่างตอบแทนการเช่าที่ดินของจำเลยที่ 2เพื่อปลูกสร้างตึกแถวและอาคารลงในที่ดินดังกล่าวแล้วยกสิ่งปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2เมื่อครบอายุสัญญาเช่า 30 ปี ก็เป็นแต่เพียงสิทธิตามสัญญาเช่าอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเท่านั้น การยึดที่ดินดังกล่าวเพื่อขายทอดตลาดหาได้กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการใช้ทางร่วม และสิทธิการใช้ทางเมื่อมีการปลูกสร้างอาคาร
ทางพิพาทกว้าง3เมตรเกิดขึ้นจากการที่ส. และจำเลยได้ตกลงกันเว้นที่ดินบริเวณที่มีแนวเขตติดกันในที่ดินของแต่ละฝ่ายกว้าง1.50เมตรยาวตลอดแนวเขตที่ดินที่ติดกันเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกซอยจรัญสนิทวงศ์46 และทางพิพาทดังกล่าวมีมาตั้งแต่ปี2508บุคคลที่ซื้อที่ดินจากส. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ต่างก็ตกลงยอมให้ที่ดินของตนส่วนที่ส. ให้เว้นไว้เป็นทางใช้เป็นทางได้เมื่อโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินที่ซื้อจากส. และปลูกบ้านอยู่อาศัยมาเป็นเวลา10ปีเศษก็ได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกซอยดังกล่าวตลอดมาส่วนจำเลยและบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยก็ได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกซอยนั้นเช่นเดียวกันข้อตกลงระหว่างส.กับจำเลยเช่นนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งใช้ที่ดินของตนเป็นทางได้จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากส. ก็ได้ยอมรับข้อตกลงดังกล่าวและหลังจากที่โจทก์เข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่ซื้อจากส. โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา10ปีเศษโดยจำเลยไม่เคยโต้แย้งห้ามปรามและจำเลยก็ยังใช้ทางพิพาทซึ่งต้องผ่านที่ดินของโจทก์เหมือนเดิมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ตกลงกับโจทก์โดยปริยายให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยและให้จำเลยใช้ทางพิพาทในที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนเช่นเดียวกับที่จำเลยตกลงกับส. ดังนั้นแม้จะฟังไม่ได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจำเลยก็จะปิดกั้นทางพิพาทในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลยไม่ให้โจทก์ใช้อันถือว่าเป็นการเลิกสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมและไม่ได้กระทำการใดๆที่จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนและการแก้ไขคำพิพากษาศาลล่าง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 369 แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนที่มิได้จดทะเบียน ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ว.เจ้าของที่ดินเดิม และ ว.ยอมให้จำเลยที่ 1 เอาตึกแถวดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 เช่ามีกำหนดเวลารวม 20 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิอันผูกพันจำเลยที่ 1 กับ ว.คู่สัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบ 20 ปีแล้ว ให้ตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว.ทันที แต่ข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนสิทธิเป็นสิทธิเหนือพื้นดิน จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยินยอมตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้นคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้แล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1จึงต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9188/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: สิทธิในการบังคับให้ทำสัญญาเช่าเมื่อสัญญาต่างตอบแทนผูกพัน และระยะเวลาเช่าเริ่มเมื่อทำสัญญา
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทำสัญญาเช่าอาคารให้ตามข้อผูกพันอันสืบเนื่องจากสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับ ต.ซึ่งเป็นผู้ที่จำเลยอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโดยต.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้สิทธิแก่ ต.ที่จะรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้มาขอเช่า โดยจำเลยจะทำสัญญาและจดทะเบียน การเช่าให้แก่ผู้เช่ามีกำหนด 25 ปี มิใช่ฟ้องให้ส่งมอบ ทรัพย์สินที่เช่าอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้เพราะสิทธิดังกล่าวจะมีและพึงบังคับได้ต่อเมื่อสัญญาเช่านั้นได้ก่อเกิดเป็นผลแล้ว คดีโจทก์จึงมิได้อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 474 โจทก์ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ในอาคารพิพาทตามสัญญาเช่าเพราะเหตุจำเลยได้คล้องกุญแจไว้ และจำเลยเป็นฝ่ายปฏิเสธไม่ยอมทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามข้อผูกพันมาตั้งแต่แรก โดยจำเลยมีหน้าที่จะต้องทำสัญญาให้แก่ผู้เช่ามีกำหนดเวลาเช่า 25 ปี ด้วยการจดทะเบียนการเช่า ดังนี้ตราบใดที่สัญญาเช่ายังมิได้ทำขึ้น ระยะเวลาแห่งการเช่ายังไม่อาจ เริ่มต้นได้ ศาลพิพากษาให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนการเช่า ให้แก่โจทก์มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างทำของในคดีล้มละลาย หากภาระเกินประโยชน์
สัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่จะต้องพึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่ายกล่าวคือถ้าพิจารณาในด้านของผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับผลงานตามสัญญาแต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนด้วยในทำนองเดียวกันหากพิจารณาในด้านของผู้รับจ้างผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสินจ้างและในขณะเดียวกันผู้รับจ้างก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาด้วยดังนั้นสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับผลงานที่จำเลยได้กระทำไปตามสัญญาจ้างทำของอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนและสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา122แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483กล่าวคือหากผู้คัดค้านเห็นว่าสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นและสัญญาต่างตอบแทน: ความชัดเจนในการฟ้องร้องและการปฏิบัติหนี้
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไป ต่อมา น. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่า น. ขอคืนหุ้นปั้นจั่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น3 งวดให้แก่ให้ น. ดังนี้ ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้น คงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น คดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้น จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้น: การชำระหนี้ค่าหุ้นและการโอนหุ้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องบรรยายฟ้องว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไปต่อมาน. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่าน. ขอคืนหุ้นปั้นจั่่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดให้แก่ให้น. ดังนี้ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้นคงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้นคดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้นจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้นมีข้อสัญญาว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้น. จำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดและน. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6161/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับให้เปิดทางจำเป็นและทางตามสัญญาต่างตอบแทน กรณีที่ดินถูกปิดล้อม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 20092 จากจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 412 ของด.ญ. จ. บุตรจำเลยที่ 1 ทางด้านทิศใต้ และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ญ. จ. ได้ทำสัญญากับโจทก์ที่ 1 ว่า เมื่อทางราชการได้ตัดถนนโครงการเทศบาลเลียบคลองสามเสนแล้ว จำเลยที่ 1 จะทำถนนกว้างไม่น้อยกว่า6 เมตร เริ่มจากทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 412 ผ่านที่ดินโฉนดนี้ออกทางทิศใต้จดถนนของโครงการเทศบาลทันที และจำเลยที่ 1 จะนำที่ดินทั้งสองแปลงไปจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมต่อไป ต่อมากรุงเทพมหานครได้ตัดถนนเทศบาลเลียบคลองสามเสน โจทก์ที่ 1 จึงให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนเป็นเหตุให้ที่ดินโจทก์ที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 1ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เปิดทางจำเป็นคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว กล่าวคือ อาศัยสิทธิทั้งตามสัญญาต่างตอบแทนและทางจำเป็น เพราะที่ดินโจทก์ถูกปิดล้อมออกสู่ทางสาธารณะไม่ได้ด้วย ซึ่งสิทธิทั้งสองนี้สามารถกล่าวอ้างด้วยกันได้ หาเป็นการขัดแย้งกันแต่อย่างใดไม่ และจำเลยที่ 1ได้ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาต่างตอบแทนกับฝ่ายโจทก์ และที่ดินฝ่ายโจทก์ไม่ถูกปิดล้อม แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจคำฟ้องและสามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงในสัญญาต่างตอบแทนเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 20092ที่ว่า คู่กรณีรับรองว่าจะได้นำโฉนดที่ดินของผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) และผู้รับสัญญา(โจทก์ที่ 1) ไปจดทะเบียนภาระจำยอมเป็นทางเดินผ่าน ณ สำนักงานที่ดินและมีข้อตกลงเรื่องจัดทำถนนต่อจากทางผ่านดังกล่าวจนออกสู่ทางสาธารณะบนที่ดินโฉนดเลขที่ 412 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ญ. จ. ได้ตกลงกับโจทก์ที่ 1 ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงในการตกลงของคู่กรณีให้มีทางผ่านบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20092 ของจำเลยที่ 1 ด้วย มิเช่นนั้นแล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดในการทำสัญญาฉบับนี้เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีทางออกจากที่ดินโจทก์ที่ 1 สู่ทางสาธารณะทางบกได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 เปิดทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20092 ของจำเลยที่ 1 แต่ไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนหรือค่าเสียหายเพราะไม่มีข้อตกลงในเรื่องนี้ไว้
ข้อตกลงในสัญญาต่างตอบแทนเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 20092ที่ว่า คู่กรณีรับรองว่าจะได้นำโฉนดที่ดินของผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) และผู้รับสัญญา(โจทก์ที่ 1) ไปจดทะเบียนภาระจำยอมเป็นทางเดินผ่าน ณ สำนักงานที่ดินและมีข้อตกลงเรื่องจัดทำถนนต่อจากทางผ่านดังกล่าวจนออกสู่ทางสาธารณะบนที่ดินโฉนดเลขที่ 412 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ญ. จ. ได้ตกลงกับโจทก์ที่ 1 ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงในการตกลงของคู่กรณีให้มีทางผ่านบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20092 ของจำเลยที่ 1 ด้วย มิเช่นนั้นแล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใดในการทำสัญญาฉบับนี้เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีทางออกจากที่ดินโจทก์ที่ 1 สู่ทางสาธารณะทางบกได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 เปิดทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20092 ของจำเลยที่ 1 แต่ไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนหรือค่าเสียหายเพราะไม่มีข้อตกลงในเรื่องนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทตามสัญญาต่างตอบแทนและการบอกเลิกสัญญา
ในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลย ขณะจำเลยที่2เข้าทำสัญญากับโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่1อยู่จำเลยที่2ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113เมื่อไม่ได้ความว่ามีการอนุมัติสัญญาดังกล่าวในการประชุมตั้งบริษัทแม้จะจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1และจำเลยที่1เข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากความรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่2เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391บัญญัติไว้เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่1แล้วย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่2ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมความรับผิดนี้เกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีกแต่ประการใด ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสืบเนื่องจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยที่2จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เป็นการทดแทนความเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในส่วนนี้