พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายประกัน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาประกัน ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินสมควรนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีบังคับตามสัญญาประกัน: หน้าที่ขอออกหมายบังคับคดี ไม่ใช่หน้าที่นำยึดทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และตามมาตรา 4 ให้คำจำกัดความของคำว่าดำเนินคดีว่าหมายถึงการดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ในทางอรรถคดีของทางพนักงานอัยการ ดังนั้น เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งหมายถึงการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีการนำยึดและจัดการอื่นใดในทางอรรถคดีเพื่อเป็นผลให้ได้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาล หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการบังคับตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ไม่ใช่หน้าที่ของศาลหรือนายประกัน
เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดี หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ของศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลโรคประจำตัวในการทำประกันชีวิต: อาการชักที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย
แพทย์ผู้เคยตรวจรักษาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเห็นว่า ผู้ตายมีอาการชักซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาการชักนี้อาจจะมิใช่เกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ต้องพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งโรงพยาบาลที่แพทย์ประจำอยู่ไม่มี ดังนี้ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ตายก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ว่าอาการชักของผู้ตายเกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูหรือไม่และไม่ได้ยืนยันว่าอาการชักดังกล่าวเป็นโรคที่ร้ายแรง นอกจากนั้นยังปรากฏว่าผู้ตายเคยมีอาการชักมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วก่อนที่จะให้แพทย์ดังกล่าวตรวจรักษาในครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทำงานไม่ได้เช่นคนปกติทั่วไปทั้งเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรง การที่ผู้ตายมิได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบในขณะทำสัญญาประกันชีวิตถึงอาการชักดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจจำเลยผู้รับประกันภัยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคแรกเมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยย่อมไม่อาจบอกล้างสัญญานั้น สัญญา-ประกันชีวิตตามฟ้องจึงหาตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: สิทธิฟ้องของโจทก์จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองรถ ณ เวลาทำสัญญาประกัน
ผู้เอาประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1287 ศรีสะเกษไว้กับจำเลยที่ 3 ได้แก่ร. โดยทำสัญญาประกันภัยเมื่อวันที่24 มกราคม 2528 มีระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2528ถึงวันที่ 25 มกราคม 2529 ขณะทำสัญญาประกันภัยห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสะเกษ ต.ไทยเจริญ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์รถบรรทุกคันดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งรับโอนสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528 หลังจากทำสัญญาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไปแล้วและไม่มีการโอนสิทธิตามสัญญาประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: การตีราคาค่าประกัน, การผิดสัญญา, และเบี้ยปรับที่ศาลลดได้
สัญญาประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ประมวลรัษฎากรจะใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่ศาลชั้นต้น แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่ต้องหาว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯพนักงานสอบสวนตีราคาค่าประกันตัวผู้ต้องหาไม่สูงกว่าจำนวนเงินในเช็ค จึงย่อมกระทำได้โดยชอบ ส่วนจะปฏิบัติตามระเบียบของกรมตำรวจหรือไม่ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้สัญญาประกันเป็นโมฆะ เพราะระเบียบของกรมตำรวจมิใช่กฎหมาย สัญญาประกันได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องถูกปรับให้ใช้เงินตามจำนวนที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกันไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนได้ตามกำหนด ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน และเกิดความเสียหายแก่การยุติธรรมเป็นส่วนรวมจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันที่จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เมื่อผิดสัญญาจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอถอนสัญญาประกันและผลกระทบต่อความรับผิดตามสัญญา การมอบตัวผู้ต้องหาทำให้ความรับผิดสิ้นสุด
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ได้ยื่นหนังสือมีข้อความว่าขอถอนหลักทรัพย์อันเป็นหลักประกันเพื่อนำไปขายให้ผู้อื่น และจำเลยได้มอบตัว ส.ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์พร้อมทั้งนำหลักทรัพย์ของ อ.และพาตัวอ.มาทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาฉบับใหม่ต่อโจทก์ด้วย โดยสัญญาระบุชื่อ อ. เป็นผู้ประกันแต่ผู้เดียว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยขอเปลี่ยนหลักประกัน แต่เป็นเรื่องขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน เมื่อจำเลยมอบตัวต่อ ส. ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันที่จำเลยทำต่อโจทก์ดังกล่าว ย่อมหมดไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกาอีก
ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลและศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้วเมื่อมีคำอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยสั่งเป็นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับค่าปรับตามสัญญาประกันต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: กำหนดระยะเวลาและการผิดนัดชำระ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตัวจำเลยในคดีอาญาจำนวน70,000 บาท ในวันที่ 22 ตุลาคม 2525 ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลในวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ขอผ่อนชำระค่าปรับต่อศาลเดือนละ 300 บาทจนกว่าจะครบตามจำนวนที่ศาลสั่งปรับ ศาลมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ผ่อนเดือนละ 3,000 บาท เมื่อคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมาย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)ที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระหนี้ค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัดคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2525 แต่ทั้งนี้ก็ต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดี ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันด้วยเอกสารปลอม: จำเลย 2 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้หนังสือมอบอำนาจเป็นเท็จ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหนังสือมอบอำนาจปลอมว่าจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและยินยอมให้จำเลยที่ 2 ประกันตัวผู้ต้องหาไป หลังจากนั้นจำเลยที่ 2ได้ไปขอผัดส่งตัวผู้ต้องหากับโจทก์หลายครั้ง โดยเป็นที่ตระหนักดีแก่จำเลยที่ 2 ว่าตนเองมิได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว