คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, และการคำนวณดอกเบี้ย
จำเลยขับรถยนต์ของส.ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความประมาทของจำเลยในวันเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์มีต่อส. ยังมีผลบังคับอยู่โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ส. แม้ส. จะได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยยอมให้จำเลยซ่อมรถยนต์ของส. ให้อยู่ในสภาพดีดังเดิมภายหลังจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยครบกำหนดแล้วก็ตามสิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิของส. ผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่แก่จำเลยในการที่จะเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยยังคงมีอยู่หาได้สิ้นสิทธิไปเพราะการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับส. ไม่เพราะบันทึกข้อตกลงที่จำเลยยอมซ่อมรถยนต์ของส. เป็นข้อตกลงที่ผูกพันเฉพาะจำเลยกับส. เมื่อจำเลยยังมิได้ปฎิบัติตามสัญญาหาได้มีผลทำให้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับส.สิ้นผลไปด้วยไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ส.ผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของส. ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา227โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าส. ผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยผู้ทำละเมิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวทำให้มูลหนี้ละเมิดสิ้นไปโจทก์ในคดีนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำมูลหนี้ละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องการรับช่วงสิทธิในมูลหนี้ละเมิดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยในฐานะที่โจทก์รับช่วงสิทธิของส. มาตามมูลหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ผู้เอาประกันภัยมีต่อจำเลยมิใช่ฟ้องในมูลหนี้ละเมิดจึงเป็นการฟ้องคนละประเด็นกันฉะนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของส. ผู้เอาประกันภัยอันมีต่อจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ทำไว้กับจำเลยมิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยตามสัญญาประกันภัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา193/30แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีอายุความ10ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงิน261,100บาทนับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง(วันที่8มีนาคม2537)ให้ไม่เกิน58,777.45บาทตามที่โจทก์ขอหมายความว่าศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยจากวันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ซึ่งเป็นวันฟ้องให้โจทก์เท่าจำนวนที่คำนวณได้จริงแต่ถ้าคำนวณแล้วได้ดอกเบี้ยเกิน58,777.45บาทก็คงให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์เพียง58,777.45บาทเท่าที่โจทก์ขอมาที่จำเลยอ้างว่าจำเลยคำนวณดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ได้เพียง40,796บาทโจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถึงวันฟ้องเกินจำนวน40,796บาทได้นั้นเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงยังฟังยุติไม่ได้ว่าจำเลยคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันที่13กุมภาพันธ์2535ถึงวันที่8มีนาคม2537ถูกต้องตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่จึงสมควรให้เป็นภาระของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีหน้าที่บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่จะคิดคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนและการบังคับคดี
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอนปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการออกใบแทนโฉนดที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์ กรณีทายาทผู้มีส่วนได้เสียโต้แย้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น.ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส. กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของส. ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อน น.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบแล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้อง ค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดกและได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของทายาทในคดีเพิกถอนการออกใบแทนโฉนดที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์อันมีผลมาจากสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของส.และน.ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของส. กับน.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งต่อมาจำเลยที่1ได้ฟ้องค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของส. ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่1กับค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่1ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วยและในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของน.ออกก่อนน.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้องค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่10864/2534ของศาลแพ่งและน.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่1กับค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของน. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่16824/2534ของศาลแพ่งในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าวศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาลศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่3ที่4และที่9ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่10ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไปแต่จำเลยที่3ที่4ที่9และที่10ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งๆที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบแล้วโอนให้จำเลยที่1เสร็จแล้วจำเลยที่1ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2และที่5ถึงที่8โดยจำเลยที่2และที่5ถึงที่8รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและน.ได้ฟ้องค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดกและได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่1กับค. ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่9536/2523ของศาลแพ่งไม่มีผลผูกพันสินสมรสของน. ทั้งนี้จำเลยที่1ที่2และที่5ถึงที่8สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่3ที่4ที่9และที่10ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่1ที่2และที่5ถึงที่8ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยคำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การได้รับประโยชน์จากที่ดินที่ขาย ถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ไม่ได้สร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นและการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องและโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินชดเชยเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าจ้าง ทำให้จำเลยมีหน้าที่หักภาษี
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาลแม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทนจำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตามแต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้างเมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรจำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ณที่จ่ายตามมาตรา50ประกอบมาตรา3จตุทศแห่งประมวลรัษฎากรแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอม และข้อยกเว้นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์แต่งตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับจำเลยนั้นเหมาะสมไม่ได้เสียเปรียบโดยทนายโจทก์มีอำนาจต่อรองและจะไม่ยอมตกลงก็ได้ถ้าเห็นว่าโจทก์เสียเปรียบทนายโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและการดำเนินคดีอย่างรีบด่วนย่อมเป็นผลดีแก่โจทก์อีกด้วยหาใช่เป็นเหตุให้ทนายโจทก์ฉ้อฉลโจทก์แต่อย่างใดไม่ดังนั้นโจทก์จะอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายโจทก์กับจำเลยทำขึ้นเป็นการฉ้อฉลโจทก์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา35ที่กำหนดไว้ว่าที่วัดที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้นหมายถึงเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัดการที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบหากโจทก์บิดพลิ้วจำเลยไม่ต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใดข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้มิได้ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้ออ้างของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้
of 51