พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้ แม้สำเนาไม่มีอากรแสตมป์ ศาลรับฟังได้หากเนื้อหาถูกต้อง
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับกู้เงินเอกสารหมายจ.2และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องจึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.2เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดหย่อนตามกฎหมาย
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยตกลงเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทมีกำหนดระยะเวลาที่ธนาคาร ก.เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีของธนาคารบวก 1 เปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องชำระเงินกู้เป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเดือน เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 งวดต่อไปจะชำระภายในวันที่ 21 ของทุกเดือนในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดสัญญาให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้หนี้ครบถ้วน ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์สูงขึ้น หากจำเลยผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าอันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ฉะนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลดดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อพิพาทเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ไม่ใช่เบี้ยปรับ
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 19 ต่อปีลงเป็นร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินมิใช่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก, สัญญาเงินกู้, การบอกกล่าวหนี้, การชำระหนี้, มาตรา 203
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้ดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยจึงไม่อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ การเรียกให้ชำระหนี้เงินยืมซึ่งมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคแรก มิใช่เป็นการเรียกให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปตามมาตรา 652 เมื่อสัญญากู้ยืมมิได้กำหนดวันชำระคืนโจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้โดยพลันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้เงินจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12.5 ต่อปี มีข้อสัญญาว่า หากว่าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนด ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตามประกาศใด ๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมนับแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ โดยเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยเพิ่มเมื่อผิดนัดชำระ และอำนาจศาลลดเบี้ยปรับ
การที่จำเลยที่1และที่2กู้เงินจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ12.5ต่อปีมีข้อสัญญาว่าหากว่าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือตามประกาศใดๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมนับแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นเบี้ยปรับโดยเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าเบี้ยปรับค่าปรับดอกเบี้ยหรืออย่างไรก็ได้แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้นฉะนั้นหากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ – สัญญาปลอม – พยานหลักฐาน – น้ำหนักพยาน
คำเบิกความของโจทก์เจือสมกับข้อความที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้และจำนวนเงินที่เขียนลงไว้ในสัญญากู้ตรงกับที่เขียนลงไว้ในสัญญาค้ำประกันทั้งยังมี ร. ผู้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความว่าเห็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ จ. ด้วยในขณะที่พยานหลักฐานของจำเลยที่1ทายาทของ จ. คงมีเฉพาะคำเบิกความของจำเลยที่1ซึ่งฟังไม่ได้ว่าสัญญากู้เป็นสัญญาปลอมหรือไม่กับ ส. ซึ่งมิได้รู้เห็นการกู้เงินด้วยตนเองโดยอ้างว่า จ. เคยเล่าให้ฟังว่ามิได้กู้เงินโจทก์ตามจำนวนดังฟ้องอีกทั้งจำเลยที่1ก็มิได้นำ ป. ผู้ค้ำประกันการกู้เงินซึ่งรู้เรื่องดังกล่าวมาเป็นพยานด้วยพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่1ฟังได้ว่าสัญญากู้มิได้เป็นสัญญาปลอมและ จ. ได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้และสิทธิการขึ้นดอกเบี้ย: ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
ตามสัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าว แม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วย โจทก์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่ แต่ตามคำฟ้องและการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่า โจทก์ขอขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 18 และ 19 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง