พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9163/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่มีกฎหมายกำหนดเฉพาะ อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การเรียกค่าเสียหายในส่วนของค่าขาดประโยชน์กรณีผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อ/ค้ำประกัน: ผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ทำหนังสือ ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ภริยาทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หนังสือยินยอมสองฉบับมีข้อความว่า ผู้ให้ความ ยินยอมยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ นอกจากเป็นหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างรับว่าให้ความยินยอมในการที่คู่สมรสของตนทำนิติกรรมแล้ว ยังแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนวินิจฉัยไปล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทราบความหมายหรือสาระสำคัญของเอกสารที่ทำทั้งที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังไม่ได้เข้าเป็นคู่ความต่อสู้คดีนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนข้อที่ตำหนิว่าหากต้องการให้ รับผิดก็ควรให้ทำสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 นั้น การทำข้อตกลงอย่างไร ให้ริบผิดแค่ไหนเพียงใดเป็นสิทธิของคู่สัญญา การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้เดิมระงับ โจทก์ฟ้องซื้อขายจึงไม่มีผล
จำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นเวลา 48 เดือน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยบันทึกสัญญาไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่า ต้องการจะเปลี่ยนจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญามีเจตนาตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกัน แล้วสมัครใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อและจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป สัญญาซื้อขายจึงสิ้นผลผูกพันโจทก์และจำเลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันระงับไป ด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ แต่คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่จากจำเลยได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ ตัดสิทธิโจทก์ที่จะทำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อทำให้หนี้เดิมระงับ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายจึงสิ้นสุด
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2537 โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทในราคา 323,000 บาท ครั้นวันที่ 20 ตุลาคม2539 โจทก์และจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวในราคา323,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะเปลี่ยนจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญาไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ทั้งโจทก์และจำเลยมีเจตนาตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกันแล้วสมัครใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อกันใหม่ และจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป ดังนั้น สัญญาซื้อขายจึงสิ้นผลผูกพันโจทก์และจำเลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายเป็นอันระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์เท่านั้นไม่ได้กล่าวถึงสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789-6790/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุด: ข้อจำกัดตามสัญญาเช่าซื้อ และหน้าที่จัดเตรียมของจำเลย
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อตกลงเช่าซื้อทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่าซื้อจัดสร้างขึ้นอันประกอบด้วยห้องแฟลต ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารแฟลตหลังที่ห้องแฟลตตั้งอยู่ ที่ดินที่ตั้งอาคารแฟลต หลังที่ห้องแฟลตที่เช่าซื้อตั้งอยู่ ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวได้ให้คำจำกัดความคำว่า "ทรัพย์ส่วนกลาง" ไว้ว่าหมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของอาคารแฟลตภายนอกห้องแฟลต รวมทั้งส่วนควบอุปกรณ์ภายนอกห้องแฟลตของอาคารแฟลตหลังนั้นที่ผู้เช่าซื้อใช้ร่วมกัน เช่น หลังคา บันได ระเบียง ทางเดินเข้าห้องแฟลต ประปา ไฟฟ้า ภายนอกห้องแฟลต ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคำว่า ฯลฯ เป็นต้น ย่อมมีความหมายว่านอกจากทรัพย์ที่ระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วยังหมายถึงทรัพย์อย่างอื่นที่มีลักษณะในการใช้สอยทำนองเดียวกันด้วย ฉะนั้น โรงจอดรถมีหลังคา อาคารสำนักงานชุมชนและสระว่ายน้ำ หาใช่ทรัพย์ที่มีลักษณะการใช้สอยทำนองเดียวกันกับทรัพย์ข้างต้นไม่ ส่วนคำว่าที่ดินที่ตั้งอาคารแฟลต ข้อความในสัญญาเช่าซื้อได้ระบุชัดเจนว่า หมายถึง ที่ดินเฉพาะเนื้อที่ที่อาคารแฟลตทั้งหลังตั้งอยู่ซึ่งหมายความว่าเฉพาะที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคารแฟลตหลังที่ห้องแฟลตที่เช่าซื้อตั้งอยู่เท่านั้น ไม่รวมที่ดินส่วนอื่นๆด้วย ดังนั้น อาคารจอดรถมีหลังคา สำนักงานที่ทำ การชุมชน และสระว่ายน้ำรวมทั้งที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งทรัพย์ดังกล่าว ไม่ใช่ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ แต่เป็นทรัพย์ที่จำเลยมีหน้าที่จัดให้มีตามที่โฆษณาไว้เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยให้จดทะเบียนทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์ส่วนกลางของ อาคารชุดที่เช่าซื้อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีสัญญาบังคับใช้ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปจาก ผู้เสียหาย แต่สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่มีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมาแสดง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่บังคับได้ตามกฎหมาย แม้รถยนต์ที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์ยี่ห้อ สี หมายเลขเครื่องและหมายเลขตัวถังอย่างเดียวกันกับรถยนต์ที่จำเลยขอเช่าซื้อจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ผู้เสียหาย ก็มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อ จะมีอยู่อย่างไร ก็ไม่ทำให้ ผู้เสียหายกลายเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลยไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีสัญญาเช่าซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสองโจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่อสำเนาใบขอเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยทำขึ้นเสนอต่อผู้เสียหายเป็นเพียงคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์เท่านั้นมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าซื้อ ส่วนหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เป็นสัญญาเช่าซื้อระหว่างบริษัท ธ. กับจำเลยซึ่งแม้เป็นรถยนต์คันเดียวกับรถยนต์ตามสำเนาใบขอเช่าซื้อรถยนต์ก็ตาม แต่ผู้เสียหายก็มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับบริษัท ธ. จะมีอยู่อย่างไรก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายกลายเป็นคู่สัญญากับจำเลยไปได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมาแสดง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่บังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าเสียหายอ้างอิงอัตราตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัดนั้นเงินที่ผิดนัดค้างชำระ หมายถึงหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ระบุไว้จึงบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดได้
ข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ถ้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของ จนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้เองตามมาตรา 383 วรรคหนึ่งไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่าซื้อ-คืนรถ: ศาลยืนตามเดิม จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่งแต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืนโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้