พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการเลียนแบบและละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ 7-BIGSEVEnของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEnของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่า BIGSEVEnก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างกันจึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนสับสน ศาลเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้า
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปาก และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 2 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือปล่อยงวงลงมาและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุมหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายคือรูปช้างยืนอยู่ภายในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในกรอบรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ กับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้างรวม3ประการซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่นคล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกันและขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูน ถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูน เป็นต้นซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะสำคัญจนสับสน และเจตนาเลียนแบบ
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 บาท และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 3 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ ปล่อยงวงลงและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุ่งหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าคือรูปช้างยืนอยู่ภายใต้ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือกับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่น ของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้าง รวม 3 ประการ ซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่น คล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกัน และขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูนเป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงจนเป็นเหตุให้สับสน และการพิจารณาประเภทสินค้าและกลุ่มผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางขาซ้ายเหยียดตรงและรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลังส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขา หันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ผืนผ้าว่า "REMYMARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบ แรกและรูปแบบที่ 2เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทาง เหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้า อยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หัน หน้าไปทางซ้าย และหักหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้ายหันหน้าไปทางขวาและหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคน ของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้น สำหรับรูปแบบแรก และเป็น รูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้น รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลาย คล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อ ดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของ รูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้า ของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง และมีคำว่า MEMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็น ชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า "เรมี่มาร์แตง" จนเป็น ที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMYMARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฏว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า"REMYMARTIN" จึงมีลักษณะเด่น และมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอก สำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียน รูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่ง เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็น บรั่นดีเรมี่มาร์แตง ไม่ปรากฏว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใด ส่วนเครื่องหมาย การค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย ตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็น ชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMYMARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็น นั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ย ซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลย เป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชน ให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิด ในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็น การลวงสาธารณชนให้สับสน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้ " แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริงในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน และจำนวนตัวอักษรเท่ากัน ตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากสินค้าใกล้เคียงและชื่อคล้ายกันจนสับสนได้ ผู้บริโภคอาจหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY"อ่านว่า "ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้ กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 50 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้" แปลความหมายไม่ได้ ใช้ กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัว อักษรเท่ากัน ตัว อักษรต่าง กันเฉพาะตัว ที่ 3 เท่านั้น แต่ คงอ่านออกเสียงเหมือนกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่าง จำพวกกันแต่ ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียว กับโจทก์ ดังนั้นสาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยงดใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY"และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา" เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือ ลาโคและโว แต่ ทั้งสามพยางค์นั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่ง เดียว กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโว เท่านั้นที่เป็นพยางค์ สุดท้ายเช่นเดียว กัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยมีข้อแตกต่างกันมากไม่อาจกล่าวได้ ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึง ขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบจนสับสนและการจดทะเบียนก่อนย่อมได้รับความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฏอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกันสีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า "CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT"ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือของโจทก์ใช้คำว่า "JACOB&COS"ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้คำว่า"JACOB'S" ของจำเลยใช้คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้เลย เครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจนอาจทำให้สับสน และการใช้คำทั่วไป
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHTMAN(ไลท์แมน)ของโจทก์ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบ ขนาดและลักษณะของตัวอักษรต่างกันตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่แบบที่ 3เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านหลัง ส่วนแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN แบบที่ 4 ซึ่งใช้กับกางเกงยีนสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIGHTMAN อยู่ด้านบนคำว่าFORWORKANDPLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างด้วยส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า LIONMAN(อ่านว่า ไลออนแมน)ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนิดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 4-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3กับแบบที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่าไลท์แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษรไลออนแมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์ สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะของคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้น ก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่คำเฉพาะ และมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่า ไลท์ กับคำว่าไลออนนั้นมีความหมายแตกต่างกันมากทั้งคำว่าไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฎที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์ กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าลักษณะตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์