พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อขยายถนน: การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนอุปกรณ์ของถนนภายใน 5 ปี ถือเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณูปโภคแล้ว
ที่ดินที่เวนคืนส่วนหนึ่งได้ทำเป็นถนนคอนกรีต นอกนั้นได้ถมดินปรับเป็นลานหญ้าปลูกต้นไม้ติดตั้งเสาโคมไฟฟ้าใน 5 ปี เพื่อขยายร่วมถนน ดังนี้ ถือว่า ได้ใช้ในการสาธารณูปโภคตามความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.เวนคืน ฯ แล้ว.
อนึ่งถนนตาม พ.ร.บ.ทางหลวงมิได้หมายฉะเพาะส่วนที่เป็นถนนแท้ๆ แต่ยังคลุมถึงที่ซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ของถนนด้วย.
อนึ่งถนนตาม พ.ร.บ.ทางหลวงมิได้หมายฉะเพาะส่วนที่เป็นถนนแท้ๆ แต่ยังคลุมถึงที่ซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ของถนนด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ที่ดินเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค: การถมดิน ปลูกต้นไม้ ติดตั้งไฟฟ้าถือเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว
ที่ดินที่เวนคืนส่วนหนึ่งได้ทำเป็นถนนคอนกรีต นอกนั้นได้ถมดินปรับเป็นลานหญ้าปลูกต้นไม้ติดตั้งเสาโคมไฟฟ้าใน 5 ปี เพื่อขยายถนน ดังนี้ ถือว่า ได้ใช้ในการสาธารณูปโภคตามความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.เวนคืนฯ แล้ว
อนึ่งถนนตาม พ.ร.บ.ทางหลวงมิได้หมายเฉพาะส่วนที่เป็นถนนแท้ๆแต่ยังคลุมถึงที่ซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ของถนนด้วย
อนึ่งถนนตาม พ.ร.บ.ทางหลวงมิได้หมายเฉพาะส่วนที่เป็นถนนแท้ๆแต่ยังคลุมถึงที่ซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ของถนนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดคลองเพื่อค้ากำไรทางธุรกิจเข้าข่ายเป็นกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย
ทางน้ำที่จำเลยขุดเป็นทางแยกจากคลองบางพระไปสู่แม่น้ำท่าจีน เป็นทางที่กว้างและลึกจนเรือใหญ่น้อยเดินผ่านเข้าออกระหว่างคลองบางพระกับแม่น้ำท่าจีนได้ ทางนี้ย่อมมีสภาพเป็นคลองตามที่เข้าใจทั่วไปแล้ว
จำเลยขุดคลองเพื่อให้เรือเดินและเก็บค่าผ่านคลองซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยลงทุนทำการค้าหากำไรแก่สาธารณชนโดยแท้ จำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 มาตรา 5.
จำเลยขุดคลองเพื่อให้เรือเดินและเก็บค่าผ่านคลองซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยลงทุนทำการค้าหากำไรแก่สาธารณชนโดยแท้ จำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 มาตรา 5.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตั้งเครื่องไฟฟ้าฉายภาพยนตร์ไม่เป็นกิจการควบคุมตามกฎหมาย หากไม่ได้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้อื่น
ตั้งเครื่องไฟฟ้าเพื่อทำการฉายภาพยนตร์ยังไม่มีผิดตามกฎหมายข้างบน
การทำไฟฟ้าสำหรับฉายภาพยนตร์ไม่ต้องขอรับพระบรมราชานุญาตหรือรับสัมปทาน
การทำไฟฟ้าสำหรับฉายภาพยนตร์ไม่ต้องขอรับพระบรมราชานุญาตหรือรับสัมปทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8054/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกหมู่บ้านจัดสรรในการชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค แม้ยังไม่มีการโอนทรัพย์สิน
เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจัดตั้งขึ้นแล้ว ย่อมมีอำนาจหน้าที่จัดการและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคได้ และมีอำนาจหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคจากสมาชิก จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจัดการและบำรุงรักษาสาธารณูปโภค จึงมีอำนาจหน้าที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคจากสมาชิกของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและเป็นสมาชิกของจำเลย มีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินที่ตนซื้อแก่จำเลย ตามความในมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ส่วนการที่ผู้จัดสรรที่ดินยังไม่จดทะเบียนโอนที่ดินและทรัพย์สินอื่นอันเป็นสาธารณูปโภคแก่จำเลยนั้น เป็นคนละกรณีที่โจทก์ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13967/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการนิติบุคคล, การลงนามสัญญา, สิทธิการตรวจเอกสาร, และการค้างชำระค่าสาธารณูปโภค
ตามข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร น. ข้อ 2 ระบุว่า สมาชิกหมายถึง สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายที่ได้ซื้อที่ดินจัดสรรจากผู้จัดสรรที่ดินฯ และผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หมายถึง ผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินจัดสรรฯ และตามสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินระบุว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินจากผู้จัดสรร โจทก์ที่ 1 จึงเป็นผู้ทำสัญญากับผู้จัดสรรที่ดินเพียงรายเดียว โจทก์ที่ 2 เป็นสามีของโจทก์ที่ 1 แต่เป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน จึงมิใช่คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย สถานะทางกฎหมายของโจทก์ที่ 2 ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อใช้สิทธิของโจทก์ที่ 1 ได้ นอกจากนี้ตามข้อบังคับข้อ 48.1 ระบุว่าให้สมาชิกหรือคู่สมรสตามกฎหมายของสมาชิกมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สมรสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจใช้สิทธิในฐานะสมาชิกได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ข้อบังคับข้อ 47 วรรคสาม ระบุว่า มติของคณะกรรมการนิติบุคคล ต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของกรรมการนิติบุคคล คะแนนเสียงของกรรมการนิติบุคคลแต่ละรายไม่ว่าจะมีบ้านในหมู่บ้านกี่หลังมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งเสียง แต่ตามข้อบังคับในหมวดที่ 13 คณะกรรมการนิติบุคคลมิได้ระบุถึงการบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรว่าต้องบันทึกถึงจำนวนกรรมการที่ออกเสียงลงมติว่ามีจำนวนเท่าใด การที่รายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรครั้งที่ 1/2553 และครั้งที่ 1/2554 ระบุแต่เพียงว่าที่ประชุมมีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันในนามนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ ก็ต้องถือว่าเป็นมติคะแนนเสียงข้างมากตามข้อบังคับแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของข้อบังคับและพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ตามข้อบังคับหมวดที่ 1 ข้อ 2 การจะให้คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งหมดลงนามในเอกสารต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรย่อมเป็นการยุ่งยาก การที่คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวมีอำนาจลงนามผูกพันในนามนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ จึงเป็นอำนาจโดยทั่วไปในการบริหารจัดการของคณะกรรมการที่จะกระทำได้ กรณีมิใช่เป็นการมอบอำนาจทั้งหมดของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแทน จึงหาจำต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคล มติที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจึงชอบแล้ว
ตามข้อบังคับข้อ 43 ระบุว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่ชำระเงินมีความประสงค์จะขอตรวจหรือสำเนาเอกสารบัญชีหรือรายงานในหมวดนี้ ให้คณะกรรมการนิติบุคคลหรือผู้จัดการนิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดำเนินการให้ผู้ขอโดยมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น แต่ตามข้อบังคับข้อ 67.2 วรรคสอง ที่จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ระบุว่า ในกรณีค้างชำระค่าสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ มีอำนาจในการระงับการให้บริการสาธารณะหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค... และบริการอื่นๆ ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ/หรือคณะกรรมการเห็นสมควรงดให้บริการ ซึ่งขณะที่โจทก์ที่ 2 มีหนังสือถึงคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขอสำเนาเอกสารข้างต้นเป็นช่วงระยะเวลาเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2554 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังมีข้อโต้แย้งกับโจทก์ที่ 1 ในการค้างชำระค่าสาธารณูปโภคประจำปี 2554 ประกอบกับโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นสมาชิกผู้มีหน้าที่ชำระเงิน การที่คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรปฏิเสธคำขอของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับอื่น
ข้อบังคับข้อ 47 วรรคสาม ระบุว่า มติของคณะกรรมการนิติบุคคล ต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของกรรมการนิติบุคคล คะแนนเสียงของกรรมการนิติบุคคลแต่ละรายไม่ว่าจะมีบ้านในหมู่บ้านกี่หลังมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งเสียง แต่ตามข้อบังคับในหมวดที่ 13 คณะกรรมการนิติบุคคลมิได้ระบุถึงการบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรว่าต้องบันทึกถึงจำนวนกรรมการที่ออกเสียงลงมติว่ามีจำนวนเท่าใด การที่รายงานการประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรครั้งที่ 1/2553 และครั้งที่ 1/2554 ระบุแต่เพียงว่าที่ประชุมมีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันในนามนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ ก็ต้องถือว่าเป็นมติคะแนนเสียงข้างมากตามข้อบังคับแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของข้อบังคับและพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ตามข้อบังคับหมวดที่ 1 ข้อ 2 การจะให้คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทั้งหมดลงนามในเอกสารต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรย่อมเป็นการยุ่งยาก การที่คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวมีอำนาจลงนามผูกพันในนามนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ จึงเป็นอำนาจโดยทั่วไปในการบริหารจัดการของคณะกรรมการที่จะกระทำได้ กรณีมิใช่เป็นการมอบอำนาจทั้งหมดของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแทน จึงหาจำต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคล มติที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจึงชอบแล้ว
ตามข้อบังคับข้อ 43 ระบุว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่ชำระเงินมีความประสงค์จะขอตรวจหรือสำเนาเอกสารบัญชีหรือรายงานในหมวดนี้ ให้คณะกรรมการนิติบุคคลหรือผู้จัดการนิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดำเนินการให้ผู้ขอโดยมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น แต่ตามข้อบังคับข้อ 67.2 วรรคสอง ที่จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ระบุว่า ในกรณีค้างชำระค่าสาธารณูปโภคติดต่อกันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ มีอำนาจในการระงับการให้บริการสาธารณะหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค... และบริการอื่นๆ ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และ/หรือคณะกรรมการเห็นสมควรงดให้บริการ ซึ่งขณะที่โจทก์ที่ 2 มีหนังสือถึงคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขอสำเนาเอกสารข้างต้นเป็นช่วงระยะเวลาเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2554 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังมีข้อโต้แย้งกับโจทก์ที่ 1 ในการค้างชำระค่าสาธารณูปโภคประจำปี 2554 ประกอบกับโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นสมาชิกผู้มีหน้าที่ชำระเงิน การที่คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรปฏิเสธคำขอของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น ไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13041/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนรั้วและการสิ้นสภาพภาระจำยอมในโครงการจัดสรรที่ดิน ผู้จัดสรรต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินในโครงการเป็นผู้สร้างรั้วปิดกั้นที่ดินพิพาทเอง เมื่อจำเลยมิได้ปิดกั้นที่ดินพิพาท จำเลยจึงมิได้เป็นฝ่ายกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนรั้วที่ปิดกั้นที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งการที่โจทก์ไม่จัดให้มีที่กลับรถเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการที่มีที่กลับรถเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 32 เป็นการที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้โจทก์ต้องกระทำการดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตเช่นถนนสวนสนามเด็กเล่นให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ประกอบกับมาตรา 33 วรรคหนึ่ง ยังบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ทั้งนี้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เป็นกฎหมายเฉพาะบัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่ภาระจำยอมที่เกิดขึ้น และยังเป็นประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินก่อสร้างรั้วปิดกั้นที่ดินพิพาทที่ได้กันไว้เป็นที่กลับรถอันเป็นสาธารณูปโภคประเภทถนนของโครงการ แต่ที่ดินพิพาทอยู่ภายในรั้วบ้านของจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอันจะทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ ส่วนความเสียหายที่จำเลยได้รับ ชอบที่จะไปฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง เนื่องจากจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้มาด้วย
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตเช่นถนนสวนสนามเด็กเล่นให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ประกอบกับมาตรา 33 วรรคหนึ่ง ยังบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ทั้งนี้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เป็นกฎหมายเฉพาะบัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่ภาระจำยอมที่เกิดขึ้น และยังเป็นประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินก่อสร้างรั้วปิดกั้นที่ดินพิพาทที่ได้กันไว้เป็นที่กลับรถอันเป็นสาธารณูปโภคประเภทถนนของโครงการ แต่ที่ดินพิพาทอยู่ภายในรั้วบ้านของจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอันจะทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ ส่วนความเสียหายที่จำเลยได้รับ ชอบที่จะไปฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง เนื่องจากจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้มาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสาธารณูปโภค และสิทธิในการรักษาสภาพภาระจำยอม การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกีดขวาง
จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมในเรื่องสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามสิบโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสามสิบฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนภาระจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 โจทก์ทั้งสามสิบย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามให้จดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าวได้ โจทก์ทั้งสามสิบจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10665/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค ผู้จัดสรรต้องจัดทำตามโฆษณา และภาระจำยอมเกี่ยวกับสาธารณูปโภค
จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในโครงการกับผู้ซื้อพร้อมกับแจกใบโฆษณาให้แก่ผู้ซื้อด้วย ใบโฆษณาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาโดยจัดทำสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณา
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเฉพาะเจาะจง: การก่อสร้างอาคารนอกวัตถุประสงค์เดิม ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทอยู่ภายใต้การจัดสรรเป็นพื้นที่ส่วนที่กันไว้เป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะประเภทสนามเด็กเล่น การถูกจำกัดสิทธิโดยภาระจำยอมของโจทก์ให้แก่ที่ดินที่โจทก์จัดสรรขายไปซึ่งสามยทรัพย์จึงเป็นภาระจำยอมเฉพาะใช้เป็นสาธารณูปโภคประเภทสนามเด็กเล่นเท่านั้น และแม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยมิได้เข้าดูแลสาธารณูปโภค เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ หรือสนามเด็กเล่น ภายในหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านที่ชาวบ้านภายในหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ดูแล แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์เดิมที่โจทก์ได้จดทะเบียนภาระจำยอมไว้
อาคารที่จำเลยทั้งสี่ก่อสร้างเป็นอาคารที่เป็นศูนย์แสดงจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและฝึกทักษะอาชีพจึงเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์เดิมที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ แม้อาคารดังกล่าวมีห้องน้ำซึ่งสามารถทำให้เด็กที่มาออกกำลังกายที่สนามเด็กเล่นใช้ประโยชน์ในห้องน้ำนั้นได้ด้วย หรือการที่ตามหนังสือขออนุญาตก่อสร้างอาคารระบุว่าใช้เป็นสถานที่จัดประชุม และจัดกิจกรรมทางกีฬาต้านยาเสพติดของเยาวชนด้วย ก็เป็นเรื่องปลีกย่อย โดยอาคารดังกล่าวยังคงเป็นศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและฝึกทักษะอาชีพ และไม่อาจถือได้ว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะประเภทสนามเด็กเล่นที่โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมไว้ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิก่อสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
อาคารที่จำเลยทั้งสี่ก่อสร้างเป็นอาคารที่เป็นศูนย์แสดงจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและฝึกทักษะอาชีพจึงเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์เดิมที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ แม้อาคารดังกล่าวมีห้องน้ำซึ่งสามารถทำให้เด็กที่มาออกกำลังกายที่สนามเด็กเล่นใช้ประโยชน์ในห้องน้ำนั้นได้ด้วย หรือการที่ตามหนังสือขออนุญาตก่อสร้างอาคารระบุว่าใช้เป็นสถานที่จัดประชุม และจัดกิจกรรมทางกีฬาต้านยาเสพติดของเยาวชนด้วย ก็เป็นเรื่องปลีกย่อย โดยอาคารดังกล่าวยังคงเป็นศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและฝึกทักษะอาชีพ และไม่อาจถือได้ว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะประเภทสนามเด็กเล่นที่โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมไว้ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิก่อสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการละเมิดต่อโจทก์