พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อสิ่งปลูกสร้างสูญหาย สิทธิใช้ที่ดินเดิมสิ้นสุดลง แม้มีพฤติการณ์ยินยอมก่อนหน้า
ตึกแถวที่จำเลยเช่าจากโจทก์สูญหายไปทั้งหมดเพราะแตกร้าวและต้องรื้อถอนออกไป สัญญาเช่าตึกแถวจึงเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะประกอบการค้าหรืออยู่อาศัยในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแถวโดยโจทก์ไม่ยินยอมได้อีก แม้โจทก์จะรู้เห็นและมิได้โต้แย้งที่จำเลยปลูกสร้างเพิงลงในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแล้วและยังเก็บค่าเช่าต่อมาอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ต้องยินยอมตลอดไป เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อโดยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองหลังซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิไถ่ถอนหรือถูกบังคับจำนองได้ตามกฎหมาย
การที่จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาจากการขายทอดตลาดในคดีอื่นของศาลชั้นต้น โจทก์ผู้ทรงสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้แต่หาได้ทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ ฐานะของจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง อันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. คือ จำเลยมีสิทธิไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับ โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอ เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 738 และ 739 และถ้าจำเลยมิได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนองดังกล่าว หากโจทก์จะบังคับจำนอง ก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้าหนึ่งเดือนก่อนแล้วจึงจะบังคับจำนองได้ตามมาตรา 735 มิใช่ว่าเมื่อจำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาแล้วโจทก์จะอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 20768/2535 ที่โจทก์ฟ้องลูกหนี้ติดตามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินได้ทันที จำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ประเด็นแห่งคดีก็เป็นคนละอย่างกัน กรณีหาใช่เรื่องสืบสิทธิที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 20768/2535 ของศาลชั้นต้น ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจำนอง: สิทธิในการบอกล้างนิติกรรมและผลกระทบต่อคู่กรณี
จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไว้กับจำเลยที่ 2 นิติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นด้วยกับการกระทำของจำเลยที่ 1 นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามมาตรา 175 และการที่โจทก์ฟ้องคดีถือได้ว่าเป็นการบอกล้างแล้ว นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างผู้ประสบอันตรายในการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 บัญญัติให้สิทธิแก่นายจ้างที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ หาใช่บทบัญญัติที่จะตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายตามมาตรา 49 แต่ประการใด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายได้ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากจำเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้งการประสบอันตรายของโจทก์ต่อจำเลยตามมาตรา 48 แล้ว เมื่อจำเลยแจ้งมติของคณะอนุกรรมการการแพทย์ให้โจทก์ และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้นายจ้างของโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 52 แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามาตรา 52 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา 53
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7814/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การใช้ภาพ คำ ข้อความ และสีคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า หลังจากที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเพิ่งยื่นคำขอและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 ภายหลังจากที่มีการฟ้องคดีนี้จึงเท่ากับว่าขณะยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าตามที่กล่าวอ้างในฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด
ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าบนขวดน้ำยาล้างจานเป็นภาพมะนาวอยู่ด้านบนภาพของจานช้อนอยู่ด้านล่าง คำว่า ซันไลต์ อยู่กลางมีข้อความผลิตภัณฑ์ล้างจาน ข้อความว่าขัดคราบมันและกลิ่นคาว และข้อความว่าล้างจานชามกองใหญ่ได้ใสสะอาด และมีกลุ่มของสีเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเหลือง ทั้งภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสีทั้งหมดรวมกันเป็นเครื่องหมายการค้าเดียว จำเลยที่ 1 เพิ่งนำเครื่องหมายการค้าคำว่า ทีไลม ไปใช้กับภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสี รวมเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวแล้วนำไปใช้กับสินค้าน้ำยาล้างจาน หลังจากโจทก์ที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ามานานหลายปี โดยมีภาพมะนาวอยู่ด้านบน ภาพกองจาน ช้อน แก้ว อยู่ด้านล่าง มีคำว่า ทีไลม อยู่ในตำแหน่งตรงกลางเช่นเดียวกับคำว่า ซันไลต์ โดยมีขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน ข้อความว่าผลิตภัณฑ์ล้างจานชามกองใหญ่ได้สะอาดก็มีเช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ใช้คำว่า "ขจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" จำเลยก็เลี่ยงเป็นว่า "กำจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" และกลุ่มของสีจำเลยที่ 1 ใช้สีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลือง โดยวางตำแหน่งและการเรียงสีในลักษณะที่คล้ายกันมาก เมื่อนำภาพ คำ ข้อความและกลุ่มของสีเหล่านี้ไปใช้กับขวดบรรจุสินค้าประเภทเดียวกันคือน้ำยาล้างจานที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะโดยรวมของการใช้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดเป็นการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่การพัฒนาการตลาดขึ้นเอง ย่อมเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 คือสินค้าของโจทก์ที่ 1
ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าบนขวดน้ำยาล้างจานเป็นภาพมะนาวอยู่ด้านบนภาพของจานช้อนอยู่ด้านล่าง คำว่า ซันไลต์ อยู่กลางมีข้อความผลิตภัณฑ์ล้างจาน ข้อความว่าขัดคราบมันและกลิ่นคาว และข้อความว่าล้างจานชามกองใหญ่ได้ใสสะอาด และมีกลุ่มของสีเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเหลือง ทั้งภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสีทั้งหมดรวมกันเป็นเครื่องหมายการค้าเดียว จำเลยที่ 1 เพิ่งนำเครื่องหมายการค้าคำว่า ทีไลม ไปใช้กับภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสี รวมเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวแล้วนำไปใช้กับสินค้าน้ำยาล้างจาน หลังจากโจทก์ที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ามานานหลายปี โดยมีภาพมะนาวอยู่ด้านบน ภาพกองจาน ช้อน แก้ว อยู่ด้านล่าง มีคำว่า ทีไลม อยู่ในตำแหน่งตรงกลางเช่นเดียวกับคำว่า ซันไลต์ โดยมีขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน ข้อความว่าผลิตภัณฑ์ล้างจานชามกองใหญ่ได้สะอาดก็มีเช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ใช้คำว่า "ขจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" จำเลยก็เลี่ยงเป็นว่า "กำจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" และกลุ่มของสีจำเลยที่ 1 ใช้สีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลือง โดยวางตำแหน่งและการเรียงสีในลักษณะที่คล้ายกันมาก เมื่อนำภาพ คำ ข้อความและกลุ่มของสีเหล่านี้ไปใช้กับขวดบรรจุสินค้าประเภทเดียวกันคือน้ำยาล้างจานที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะโดยรวมของการใช้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดเป็นการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่การพัฒนาการตลาดขึ้นเอง ย่อมเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 คือสินค้าของโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: สิทธิที่เกิดหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดมีอายุความ 10 ปี
คำว่า "ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น" ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) หมายถึงสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาจ้าง แต่สิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาจากนายจ้าง อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเลิกจ้างภายหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาจ้าง ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/34 (9) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเป็นการกระทำภายในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กระทบสิทธิโจทก์โดยตรง
โจทก์ทั้งสองขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. กับนาง อ. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งถูกคนร้ายยิงถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือเสนอให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กรมบัญชีกลางแจ้งให้จำเลยที่ 1 สอบสวนข้อเท็จจริงก่อนว่าการตายของนาย ป. กับ นาง อ. มีสาเหตุเนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของผู้ตายทั้งสองหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการดังกล่าวสอบสวนแล้วมีความเห็นหรือมติว่าสาเหตุการตายของนาย ป. เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาย ป. ส่วนสาเหตุการตายของนาง อ. ไม่ได้เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาง อ. กรมบัญชีกลางจึงไม่จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คงจ่ายให้เฉพาะส่วนของนาง อ. การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสอง ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ความเห็นดังกล่าวหามีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือฟังเป็นยุติที่กรมบัญชีกลางจะต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใดไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการแต่งตั้งทนายความ – กระบวนการสอบถามก่อนพิจารณา – ความไม่ชอบของกระบวนพิจารณา
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวในวันสอบคำให้การของจำเลย แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นการแต่งตั้งทนายความหลังจากศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2), มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการถึงแก่กรรมของคู่ความเดิม และการพิจารณาคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสีย
ว. ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย การที่ ว. ถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. ไม่ใช่คดีที่ทายาทหรือผู้อื่นจะร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของ พ. ที่ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. และจำหน่ายคดีของ พ. ออกจากสารบบความแล้ว พ. จึงเป็นบุคคลภายนอกคดี และศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นตามคำร้องของ พ. ดังนี้ คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นคัดค้านผู้ร้องที่ 1 ว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้ง พ. เป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจาก พ. เป็นบุตรของ ว. ภริยาของผู้ตาย ทั้ง ว. ถึงแก่ความตายแล้ว พ. เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และมีความเหมาะสมมากกว่าผู้ร้องที่ 1 คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นมาภายหลังเป็นการยื่นตามสิทธิของตนเอง ซึ่งมีสิทธิทำได้ จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6161/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับทายาทตามกฎหมาย: บุตรชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิมากกว่าพี่น้องร่วมบิดามารดาในการจัดการมรดก
ผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ (1) ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ (3) ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นผู้ออกเงินค่าทำศพผู้ตายและเป็นเจ้าหนี้กองมรดกผู้มีส่วนได้เสียก็ตาม