คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิการฟ้องใหม่ภายในอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ก็มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยทั้งสองอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความหรือกำหนดเวลาฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คคืน การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คระงับ
ที่จำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชดใช้เงิน ในที่สุดโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้ชดใช้เงิน โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทคดีนี้ได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เงินพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระทำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันทีไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับได้
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุดนั้น หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญาอันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้เป็นอันระงับไป ถือว่ามีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนดังกล่าวนี้สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในส่วนอื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาและแพ่งยังคงอยู่
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้น และไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาพร้อมกัน และสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินและรับสภาพหนี้ มีการกำหนดหน้าที่ให้คู่สัญญาปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขว่าโจทก์จะโอนทรัพย์สินให้จำเลยหรือช่วยจำเลยชำระหนี้ต่อเมื่อจำเลยโอนทรัพย์สินที่ไม่ติดจำนองให้แก่โจทก์ 1 ใน 2 ส่วน ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2528 แต่อย่างใด โจทก์จึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนหรืออยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ของตนเสียก่อนจึงจะบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 เมื่อโจทก์ไม่อยู่ในฐานะพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้จำเลย 1 ใน 2 ส่วนโดยปลอดจำนองตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อจำเลยเสียก่อนได้ โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึ่งข้อใดมาบังคับเอาแก่จำเลยเพื่อเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิฟ้องถอนคืนการให้
โจทก์กับ ช.เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช.ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้
ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช.ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่การยกให้ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนการให้จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์กับ ช. เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช. ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่ง เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช. ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรม ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหนี้ร่วม: เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าหนี้รายอื่น
แม้เงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการให้กู้เงินในโครงการก่อสร้างโรงงานร่วมกับสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกันชุดเดียวกันในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกู้เงินจากโจทก์และผู้ให้กู้แต่ละรายมีกำหนดจำนวนเงินกู้ที่แน่นอน และแม้จะมีหลักประกันร่วมกันก็ถือว่าหนี้แต่ละรายมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว เมื่อจำเลยผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: หนี้ระงับ สิทธิฟ้องอาญาเลิก
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องตามเจ้าของรถจริงหรือไม่
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ พ.เจ้าของรถยนต์ไม่ใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย และข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ. เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาและถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการฟ้องคดีแทน พ.แม้พ. จะเป็นโจทก์ ฟ้องคดีเองก็ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองต้องใช้อายุความ 1 ปี เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์จาก พ.ได้ซ่อมรถยนต์ให้พ. ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่ พ. มีอยู่ในมูลหนี้ต่อ จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อสิทธิของ พ.ที่จะฟ้องคดีนี้มีกำหนดอายุความ 1 ปี โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิ ของ พ.จึงย่อมมีอายุความ 1 ปีเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด และการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดอาญาด้วยดังนั้น ผู้ที่ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิด ย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือ ต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหาย ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้อง ขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์ แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหาย ได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้โดยศาลไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล
of 57