พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีจราจร: ราษฎรไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ราษฎรย่อมไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยจำเลยเป็นผู้ฎีกา แม้ศาลฎีกาพิพากษายืน ก็ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4334/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยความลับทางราชการ: ผู้เสียหายโดยนิตินัย และสิทธิในการฟ้องร้อง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เปิดเผยความลับในสำนวนการสอบสวนทางวินัยโจทก์ให้ผู้อื่นล่วงรู้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หากมีการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับของการสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว โจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4334/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยความลับทางราชการ: ผู้เสียหายโดยนิตินัยและสิทธิในการฟ้องร้อง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เปิดเผยความลับในสำนวนการสอบสวนทางวินัยโจทก์ให้ผู้อื่นล่วงรู้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หากมีการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังฟ้องก็เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับของการสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว โจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของทรัพย์สินเสียหายไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉล เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ระบุเอาบ้านพิพาทเป็นประกันต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระหนี้จึงตกลงจะไปจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 กลับทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมดังกล่าวจำเลยที่ 1 กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
เจ้าหนี้ผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด.
เจ้าหนี้ผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงมีสิทธิฟ้องร้องได้
จำเลยหลอกลวงภริยาว่า มีงานให้สามีทำที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ภริยาหลงเชื่อจึงจ่ายเงินตามจำนวนที่จำเลยเรียกร้องให้แก่จำเลยไป ดังนี้ ภริยาเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลย ภริยาจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าชดเชยก่อนเกิดข้อพิพาท: กรณีเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่น พนักงานยาสูบที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2530 พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ อันหมายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2530 ซึ่งจำเลยจะต้องดำเนินการให้พนักงานยาสูบผู้นั้นออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป และทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว แต่ขณะที่สหภาพแรงงานโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าตามคำขอของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ: สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
เมื่อพนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอายุครบ 60ปี จำเลยจะดำเนินการเลิกจ้างทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว ขณะที่สหภาพแรงงานฯ โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องหลังชี้สองสถาน: กรณีจำเลยปกปิดข้อมูลคนขับและโจทก์เพิ่งทราบภายหลัง
โจทก์ถูกรถยนต์ของจำเลยชนแล้วหลบหนี จำเลยปกปิดชื่อและที่อยู่ของผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว โจทก์จึงได้ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ แม้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่โจทก์ตามสำนวนการสอบสวนของพนักงานอัยการที่ส่งศาลตามหมายเรียกว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ชนโจทก์เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบความจริงภายหลังจากการชี้สองสถานและไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ก่อนหน้านั้นโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดต่อโจทก์หลังวันชี้สองสถานแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้อง แม้เป็นลูกจ้างชั่วคราว และจำเลยยกเหตุผลเรื่องงบประมาณไม่ได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ซึ่งมิได้กำหนดหรือแบ่งแยกประเภทของลูกจ้างที่มีสิทธิฟ้องร้องไว้ลูกจ้างทุกประเภทจึงมีสิทธิฟ้องนายจ้างได้เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมดังนั้นไม่ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันหรือลูกจ้างประจำก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างว่ากรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่มีเหตุอันสมควรลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือใช้ค่าเสียหายได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยประสงค์เพียงจะรับทหารผ่านศึกซึ่งพิการทุพพลภาพและครอบครัวเข้าทำงานแทนโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยประการใดย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนต่อการประกอบอาชีพตามปกติจึงไม่ใช่เหตุอันสมควรถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้เพราะมีงบประมาณจำกัดและไม่มีตำแหน่งงานให้โจทก์ในข้อนี้จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็นไว้ในคำให้การจึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31.