คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการใช้สิทธิทางศาลโดยคำร้องฝ่ายเดียว
การใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องฝ่ายเดียว เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ มิใช่ว่าจะยื่นคำร้องฝ่ายเดียวได้ทุกกรณีไป
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาผู้วายชนม์ตามกฎหมายโดยชอบแล้ว จึงไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องมายื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของบิดาผู้วายชนม์อีก
กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 7 พ.ศ.2497 ข้อ 8(1) เป็นเรื่องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดแล้วโดยการครอบครองด้วยอำนาจปรปักษ์ หาได้บัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรส การนำสืบสถานะทางกฎหมาย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์ เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า "ฯลฯ สมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ได้จดทะเบียนสมรส" ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่น นำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ 1529 (5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกนายฉิม นางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629 (1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้น ก็แถลงไปตามเหตุที่ว่า นายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเอง หาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ตามความนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมาย การรับรองบุตร และฐานะทางกฎหมายของบิดา-บุตร
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่า เจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป ว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์ เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์แต่ไม่สบาย จึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่า บิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองมีสิทธิรับมรดกและฟ้องคดีได้ แม้ไม่ได้รับการแสดงว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว มีสิทธิรับมรดกของบิดาและมีสิทธิฟ้องคดีขอไถ่ถอนการขายฝากของบิดาโดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-252/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม, ฟ้องซ้ำ, สิทธิรับมรดก, สินสมรส, พยานหลักฐาน
บุตรไม่อาจอ้างว่าบิดานำสินสมรสของบิดามารดามาทำพินัยกรรม ในเมื่อมารดาผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้โต้แย้งคัดค้าน
โจทก์ฟ้องคดีแรกขอให้เพิกถอนหรือทำลายพินัยกรรม แล้วมาฟ้องคดีหลังขอให้สั่งว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายอีก แม้ฟ้องคดีหลังจะมีประเด็นขอให้กำจัดมิให้รับมรดกและเรียกค่าเสียหายด้วยก็ตาม เฉพาะประเด็นให้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นต้องถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
หากพยานฝ่ายที่นำสืบภายหลังเบิกความแตกต่างกับที่เคยเบิกความไว้ในคดีอาญาและฝ่ายที่นำสืบก่อนเพิ่งทราบเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุตธรรม ศาลอนุญาตให้ฝ่ายนำสืบก่อนอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์มรดกให้บุคคลไม่มีสิทธิ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ทายาทโดยธรรมทำสัญญายกทรัพย์มรดกที่ดินที่ตนมีสิทธิรับมรดกให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดก แต่สัญญายกให้นั้นไม่มีข้อความแสดงว่าทั้งสองฝ่ายทำสัญญาเพื่อระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งเพื่อให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันแต่อย่างใดสัญญายกให้นั้นย่อมไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเจ้าของรวมต้องตามสิทธิรับมรดกที่ปรากฏชัดเจน ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายใช้ไม่ได้
การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าตนมีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1157 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฎสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกันโดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฎชัดว่า ได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฎชัดตามทางนำสืบด้วแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 13+7 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์พินัยกรรมปลอมและสิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง
โจทก์อ้างว่า ผู้วายชนม์ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์จำเลยต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอมเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า พินัยกรรมที่อ้างนี้ไม่ปลอม
การเชื่อฟังพยานหลักฐานในข้อที่ว่าลายมือชื่อในพินัยกรรมเป็นลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามปกติควรเชื่อคำประจักษ์พยานยิ่งกว่าคำผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์หลักฐานเพราะประจักษ์พยานเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของตนเองทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงเหตุผลต่างๆประกอบให้พอเชื่อฟังได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกไม่ระงับ แม้มิได้ร้องสอดคดีก่อน และทายาทอื่นยังไม่สละสิทธิ
การที่โจทก์ไม่ร้องสอดขอแบ่งมรดกเข้ามาในคดีก่อนซึ่งจำเลยเป็นคู่ความเกี่ยวกับมรดกรายเดียวกันอยู่นั้นไม่เป็นเหตุตัดสิทธิโจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดกนั้นในคดีหลังภายในอายุความ
เมื่อปรากฏว่ายังมีทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกับโจทก์อยู่อีกคนหนึ่งการที่ทายาทผู้นั้นนิ่งเฉยอยู่จะถือว่าทายาทผู้นั้นสละมรดกหาได้ไม่และจะแบ่งโดยเอาส่วนของทายาทผู้นั้นไปให้แก่โจทก์ไม่ได้โจทก์คงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น(อ้างฎีกาที่391/2499)
of 10