พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าทำงานในวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีกจำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง3ประเภทดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหมวด4ข้อ31วรรคแรกถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปีแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไรทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ และสิทธิค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้างเรื่อยมา โดย นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แต่มิได้ทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือ การจ้างลูกจ้างต่อมาจึงเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าก็อาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าการจ้างสิ้นสุดลงจึงเป็นการให้ลูกจ้างออกจากงานโดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) กรณีมิใช่เป็นการจ้างลูกจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นงานตามโครงการซึ่งนายจ้างและลูกจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดย มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จนายจ้างและลูกจ้างตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีกโดย ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกตามข้อ 46 วรรคสามลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะแจ้งความประสงค์จะทำงานต่อ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้
การนัดหยุดงานที่กระทำโดยสหภาพแรงงานซึ่งแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ถือว่าเป็นการกระทำแทนลูกจ้างทุกคนที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าว และเมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้วสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้นทุกคนก็มีสิทธิที่จะนัดหยุดงานได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ลูกจ้างบางคนจะได้ทำหนังสือว่ามีความประสงค์จะเข้าทำงานตามปกติก็หาทำให้สิทธิที่จะหยุดงานที่มีอยู่ตามกฎหมายระงับไปไม่ การที่ลูกจ้างดังกล่าวไม่มาทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบจะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะยินยอมข้อตกลงกับนายจ้างแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้หากสมาชิกยังอยู่ในช่วงนัดหยุดงานโดยชอบ
การที่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ได้ทำ หนังสือให้แก่โจทก์ว่าได้รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่ติดใจที่จะ เรียกร้องใด ๆต่อโจทก์อีกต่อไปและมีความประสงค์จะเข้าทำงาน ตามปกติ ก็หาทำให้สิทธินัดหยุดงานที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยของประชาชนระงับไปไม่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ไม่มา ทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบ ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร ส่วนผู้กล่าวหาที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มาทำงานเพราะโจทก์ปิดงาน จึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุผลอันสมควรเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443-6460/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับชุดทำงาน แม้ทำงานไม่ครบ 1 ปี หากถึงกำหนดเวลาแจกจ่ายตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่า "บริษัทจะจัดหาชุดทำงานให้ปีละ 2 ชุดโดยจะเริ่มแจกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2534" เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำงานครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับชุดทำงาน เมื่อลูกจ้างทำงานติดต่อตลอดมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่นายจ้างจะต้องแจกชุดทำงานตามข้อตกลง แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานมายังไม่ถึง1 ปี ก็มีสิทธิได้รับชุดทำงานตามข้อตกลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443-6460/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับชุดทำงาน แม้ทำงานไม่ครบ 1 ปี หากถึงกำหนดเวลาแจกจ่ายตามข้อตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่า "บริษัทจะจัดหาชุดทำงานให้ปีละ 2 ชุดโดยจะเริ่มแจกในเดือนมกราคม 2534" เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำงานครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับชุดทำงานเมื่อลูกจ้างทำงานติดต่อตลอดมาจนถึงเดือนมกราคม 2534 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่นายจ้างจะต้องแจกชุดทำงานตามข้อตกลง แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มีสิทธิได้รับชุดทำงานตามข้อตกลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน หากเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิด และมิได้ใช้สิทธิลาหยุด
ค่าจ้างหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย และถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิด ให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นค่าจ้าง ลูกจ้างทำงานมานาน 1 ปี 8 เดือนครึ่ง แล้วถูกเลิกจ้าง โดยมิได้มีความผิด เมื่อยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ที่มีสิทธิได้รับโดยสำหรับปีแรกเต็มปีจำนวน 6 วันทำงาน และอีก 8 เดือนครึ่งจำนวน 4 วันทำงาน รวมเป็น 10 วันทำงาน เมื่อนายจ้างเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินค่าจ้าง เงินค่าสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินค่าชดเชยให้ครบถ้วนแล้ว คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนายจ้าง อ้างว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดด้วยวาจาไปครบถ้วนแล้วซึ่ง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าในฐานะที่นายจ้างประกอบกิจการโรงพยาบาล ก็น่าจะมีวิธีการจดแจ้งหรือบันทึกเรื่องการลาหยุดไว้ จึงฟังได้ว่า ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิลาหยุด พฤติการณ์ที่ปรากฏยังไม่เพียงพอว่า นายจ้างจงใจผิดนัดในการจ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จึง ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินเพิ่มเติมของเงินค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 68,400 บาท และให้ชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15ของเงินค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันฟ้อง โดยมิได้มีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ในศาลแรงงานกลาง และคำขอนี้ก็มิได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับธนาคารฯ ไม่ตัดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 29ว่าด้วยเงินบำเหน็จ กำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จมีสาระสำคัญว่า พนักงานที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป จึงจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ แม้พนักงานได้ลาออกหรือถึงแก่ความตายก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ซึ่งแตกต่างจากเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดว่าลูกจ้างที่มีอายุงาน120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ถ้า ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แต่ถ้า ลูกจ้างลาออกหรือตาย ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะกำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินบำเหน็จเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อบังคับดังกล่าวย่อมไม่มีผลยกเลิกค่าชดเชยตามกฎหมายแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากล้มละลาย: ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยแม้ขาดคุณสมบัติ
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 และมาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้เพราะขาดคุณสมบัติ แต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง ไปด้วย การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงาน โดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับของจำเลย เงินสงเคราะห์เป็นเงินที่จ่ายเพื่อ ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่ออกจากงาน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันออกจากงานทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระ ให้แก่โจทก์ก็ได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่นั้น จึงต้องเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์.