พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิทำกินต่างดอกเบี้ย, ไม่ใช่สิทธิครอบครอง
สัญญากู้กล่าวชัดว่าให้เจ้าหนี้ยึดถือนาแปลงหนึ่งไว้เป็นประกัน. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิแต่ทำกินต่างดอกเบี้ย. โดยสิทธิในที่ดินยังคงอยู่แก่ลูกหนี้. เจ้าหนี้หามีสิทธิครอบครองที่จะใช้ยันบุคคลอื่นได้ไม่. ในเมื่อยังมิได้มีการโอนกันโดยถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การล้มละลาย, การโอนทรัพย์, การทำลายการโอน, สิทธิของเจ้าหนี้
ผู้รับโอนทรัพย์จากผู้ล้มละลายโดยสุจริตแต่มิได้เสียสินจ้างยังไม่ถึง 2 ปีใช้ยันแก่เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ไม่ได้ ผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียสินจ้างแล้ว ย่อมได้ทรัพย์เปนสิทธิ วิธีพิจารณาแพ่ง ม.3 คู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่คู่ความเดียวกันแลทั้งไม่ได้รับอำนาจจากคู่ความก่อน ไม่เรียกว่าฟ้องซ้ำคดีเดิม เจ้าพนักงานฟ้องขอให้ทำลายการโอนเปนการฟ้องตามอำนาจใน พ.ร.บ.ล้มละลาย ไม่ใช่รับอำนาจจากเจ้าหนี้ในคดีเดิม มฤดกผัวยกส่วนสมรสของตนให้เมียหาทำให้เมียเปนเจ้าของทรัพย์แต่ผู้เดียวไม่ เมื่ออย่าหรือตายจากกันต้องแบ่งเปนสินสมรสระหว่างผัวเมีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้มีประกันจากการบังคับคดี
หนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 ของศาลแพ่งที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 และเป็นคดีที่ลูกหนี้ (จำเลย) อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากลูกหนี้ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบริษัทบริหารสินทรัพย์ในการสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้พ้นกำหนดเวลาบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีนี้มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้พิเศษนอกเหนือไปจากบททั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้นที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อคดีอยู่ระหว่างการขายเช่นนี้ แสดงว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น ย่อมเป็นสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายที่จะร้องขอเข้าสวมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีสืบต่อจากโจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม เพราะตราบใดที่สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ยังไม่หมดสิ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ได้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ทั้งมิใช่เรื่องการร้องสอดดังที่อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14411/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง แม้เคยยื่นคำร้องไปแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นการร้องซ้ำ
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยทั้งสองในคดีหมายเลขแดงที่ 10058/2548 ของศาลชั้นต้น และเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 2 ในทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองมาก่อนและศาลชั้นต้นยกคำร้องไปแล้วก็ตาม ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองอีก และเมื่อปรากฏว่าในการบังคับคดีนี้ยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13706/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน การชำระหนี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดทรัพย์สินหลักประกัน
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตลอดจนการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งมีทรัพยสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น การดำเนินการอื่นใดที่เจ้าหนี้มีประกันนั้นไม่ได้ยินยอม หรือจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้น้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในเวลาที่มีการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ พร้อมดอกเบี้ยและผลประโยชน์ตามสัญญาเมื่อการดำเนินการฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลง ก็ย่อมไม่อาจถือเป็นการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอแล้วได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/14 (3) ทั้งในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อเจ้าหนี้คัดค้านว่า แผนกำหนดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เมื่อการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จเป็นจำนวนน้อยกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริงนั้น ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวในชั้นพิจารณาแผนจึงต้องพิจารณาราคาประเมินของทรัพย์สินหลักประกันเป็นสาระสำคัญ เมื่อปรากฏตามแผนฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้ประกอบกิจการโรงแรมตั้งแต่ปี 2532 มีทรัพย์สินหลักที่จำเป็น ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งส่วนหนึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้โดยแผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ในระหว่างการดำเนินการตามแผน ถ้าลูกหนี้มิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่มีหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิของเจ้าหนี้ดังกล่าวที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้น แสดงว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนดังกล่าว ผู้ทำแผนจึงต้องนำสืบให้ได้ว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะต้องได้รับข้อเสนอชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดปัจจุบัน ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อผู้ทำแผนนำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่า เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะได้รับชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 90/14 แผนจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12247/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นหลังทรัพย์สินจำนองยังไม่ขายได้ และการขยายระยะเวลาบังคับคดี
แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้ต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินจำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 จำนวน 595,045 บาท และในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมจำเลยทั้งสองเป็นหนี้ตามคำพิพากษา 1,346,641.92 บาท หากขายทอดตลาดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ไปตามราคาดังกล่าวก็ยังคงเหลือหนี้ตามคำพิพากษาอีกมากเพียงพอสมควรแก่การให้ยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้แก่โจทก์เพิ่มเติม และโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 ภายหลังจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความประมาณ 2 ปี 6 เดือน แต่ยังขายไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ขอบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555 ทำให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อาจล่าช้า นอกจากนี้ หากต้องรอให้มีการขายทอดตลาดห้องชุดทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ 1 เสร็จก่อนถึงจะกลับมายึดทรัพย์สินอื่นได้ก็เกือบครบ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเป็นเหตุให้โจทก์อาจเสียสิทธิในการบังคับคดีทั้ง ๆ ที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองยังไม่เสร็จสิ้นนั้นมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ การยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 ไว้ก่อนแต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงค่อยนำห้องชุดของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดก็ไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมได้
เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น แม้จะพ้นกำหนดเวลา 10 ปี ดังกล่าวแล้วก็ตามหรือไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ให้เสร็จแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาให้โจทก์มีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนภายในเวลาการบังคับคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุขยายระยะเวลาบังคับคดีให้แก่โจทก์
เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น แม้จะพ้นกำหนดเวลา 10 ปี ดังกล่าวแล้วก็ตามหรือไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ให้เสร็จแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาให้โจทก์มีสิทธินำยึดห้องชุดของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนภายในเวลาการบังคับคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุขยายระยะเวลาบังคับคดีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์หลักประกัน
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้จำนองเป็นประกัน และมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ในกรณีบังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ หรือในกรณีผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิและราคาทรัพย์ที่จำนองต่ำกว่าจำนวนหนี้อยู่เท่าใด ลูกหนี้ผู้จำนองยอมชำระหนี้ที่ขาดนั้นจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ผู้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และหากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) หรือ (4) ซึ่งหมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันเหล่านี้จะต้องได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หนี้ส่วนที่เหลือจึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 130 (7) และการที่แผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 เป็นเจ้าหนี้มีประกันในกลุ่มที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 ทวิ (2) ก็ย่อมแสดงว่าในจำนวนหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์อันเป็นหลักประกันนั้น นอกจากนี้เจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการก็ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/28 และแม้ว่าในระหว่างลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีประกันจะถูกจำกัดสิทธิมิให้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ แต่การจำกัดสิทธินั้นจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (6) และมาตรา 90/13 แผนฟื้นฟูกิจการจึงต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันโดยเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผนจะต้องได้รับชำระหนี้เมื่อดำเนินการสำเร็จตามแผนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3)
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
เมื่อพิจารณาสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม หรือเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้โดยตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้ส่วนที่ขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (4) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันจนเต็มจำนวนบุริมสิทธิที่ตนมีอยู่ เจ้าหนี้มีประกันจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลค่าปัจจุบันในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน หากว่ายังไม่ได้มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันโดยเต็มจำนวนและในทันทีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ลูกหนี้ย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้านั้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์หลักประกัน ส่วนการประเมินมูลค่าหลักประกันที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลักประกันเป็นที่ดินพร้อมโรงงานซึ่งในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะมีการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ในส่วนนี้ต่อไป มิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ราคาประเมินที่เหมาะสมซึ่งจะนำมาใช้ก็คือ ราคาตลาดอันมีราคา 228,788,921 บาท หาใช่ราคาบังคับขายอันมีราคา 148,974,000 บาท ไม่
การที่ข้อเสนอขอแก้ไขแผนกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 80 ของต้นเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีการแก้ไขเดิม ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้วนั้นย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขแล้วย่อมผูกพันบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งการขอแก้ไขดังกล่าวยังเป็นการกระทบสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้บริหารแผนจะอ้างราคาบังคับขายทรัพย์หลักประกันเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้รายที่ 242 และที่ 445 ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายหาได้ไม่ เนื่องจากกิจการของลูกหนี้มิได้ปิดลง ทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใด ดังนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนจึงเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยมิชอบ ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) ประกอบมาตรา 90/13 อันมีผลให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 อาจได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่มีการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 90/58 (3) ทั้งเป็นการขัดต่อผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วซึ่งไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12041/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นศาลชั้นต้น แม้คดีอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9919/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ: สิทธิเจ้าหนี้จำนองยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย แม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้ว
คดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายให้รับผิดในฐานะ ส. เป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เงินและจำนองที่ดินพิพาทในคดีนี้ไว้เป็นประกัน และคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิบังคับทรัพย์สินที่จำนองได้หรือไม่ เพราะแม้มูลหนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปีขึ้นไปไม่ได้ และตามมาตรา 745 ก็บัญญัติไว้ว่า ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ อันเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้มีการวินิจฉัย เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148