คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลชื่อสินค้าเป็นภาษาไทยไม่กระทบต่อการรับว่าจ้าง และการวินิจฉัยวันหยุดราชการของศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์จัดการโฆษณาสินค้าโดยระบุรายการสินค้าที่โฆษณาเป็นภาษาอังกฤษว่า MEO BATH ซึ่งโจทก์แปลเป็นภาษาไทยว่า แชมพูมีโอ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้า คือแชมพูยี่ห้อมีโอ โดยแปลภาษาอังกฤษคำว่า MEO BATH เป็นภาษาไทยว่า แชมพูมีโอ จำเลยนำสืบโดยอ้างใบเรียกเก็บเงินซึ่งระบุว่าสินค้าที่ให้โจทก์โฆษณานั้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า MEO BATH แต่จำเลยแปลเป็นภาษาไทยว่า มีโอบาช ซึ่งแปลว่าสบู่เหลว ดังนี้ถือได้ว่า จำเลยนำสืบรับว่าสินค้าที่โจทก์รับโฆษณาคือสินค้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEO BATH แม้โจทก์และจำเลยจะแปลเป็นภาษาไทยต่างกัน แต่ก็เป็นสินค้าอย่างเดียวกันนั้นเอง จึงฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าตามฟ้อง หาใช่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่
วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป คู่ความไม่ต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ 2 ปี ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลชื่อสินค้าเป็นภาษาไทยไม่ขัดแย้งถึงการว่าจ้างโฆษณา แม้จะมีความแตกต่างในการแปล และประเด็นอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์จัดการโฆษณาสินค้าโดยระบุรายการสินค้าที่โฆษณาเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH ซึ่งโจทก์แปลเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าคือแชมพูยี่ห้อมีโอ โดยแปลภาษาอังกฤษคำว่าMEOBATHเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ จำเลยนำสืบโดยอ้างใบเรียกเก็บเงินซึ่งระบุว่าสินค้าที่ให้โจทก์โฆษณานั้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แต่จำเลยแปลเป็นภาษาไทยว่ามีโอกาช ซึ่งแปลว่าสบู่เหลวดังนี้ถือได้ว่าจำเลยนำสืบรับว่าสินค้าที่โจทก์รับโฆษณาคือสินค้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แม้โจทก์และจำเลยจะแปลเป็นภาษาไทยต่างกันแต่ก็เป็นสินค้าอย่างเดียวกันนั้นเองจึงฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าตามฟ้องหาใช่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่ วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปคู่ความไม่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ2ปีตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว ที่จำเลยที่2และที่3ฎีกาว่าจำเลยที่3เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่2จำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่2และที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน แม้สินค้าต่างประเภท โจทก์ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้วปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าและตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องคำให้การพยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้าและภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไปศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม2วงวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2วงซ้อนกันและวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น2เส้นซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมันคงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้ายโจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น2เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกันส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น2เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน "F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไปส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาสินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่7ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตามแต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตามก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและการลวงขายสินค้าทำให้สาธารณชนสับสน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวง-ขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมาย-การค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 1จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474มาตรา 41 (1) และมาตรา 29 (2)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับมีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE"และ "TRADE MARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" โดยมีหยดน้ำ 3 หยด ใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้น ซี่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" และ "FIVE STAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้น ตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ 1 จุด โดยมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมชั้นนอก ในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVE STAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ 3 หยด อยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมาก โดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า "THE CROCODILE" อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ 3 หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2และของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"TRADE MARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "FIVE STAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THE CROCODILE ENGLAND LTD" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADE MARK" อยู่ในรูปอาร์ม6 เหลี่ยม ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย หากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวง-ขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2 ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายตามตัวอย่าง VS สัญญาซื้อขายตามสภาพสินค้า: ความผิดสัญญาและอายุความ
การที่เจ้าหนี้ประกาศแจ้งความประกวดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อโดยได้กำหนดตามลักษณะเฉพาะของสินค้าอันเป็นสาระสำคัญที่จะนำมาใช้งานไว้ด้วยเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. เสนอราคาของสินค้าโดยมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่เจ้าหนี้ผู้ซื้อได้กำหนดไว้และเจ้าหนี้ตกลงซื้อแล้ว การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายธรรมดาอันเกิดจากการเสนอและสนองรับตรงกัน หาใช่เป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามพรรณาไม่ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ส่งมอบสินค้าที่มีคุณลักษณะไม่ตรงตามสัญญากับใบเสนอราคา และไม่ตรงตามที่เจ้าหนี้กำหนด ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.จึงเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขาย เจ้าหนี้ย่อมเสียหาย และชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จึงต้องร่วมรับผิดคืนเงินค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้
สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินกรณีสัญญาซื้อขายเลิกกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม หาใช่ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 504 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันพอที่จะทำให้สาธารณชนสับสน สินค้าต่างประเภท และไม่มีเจตนาลวง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจนว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDEN COOK มี 3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา Open Cover คือสัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ แม้ชำระเบี้ยหลังสินค้าลงเรือ
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 861
สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่า OPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้ว สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติลดอัตราอากรศุลกากรขึ้นอยู่กับคุณสมบัติสินค้าตามประกาศกระทรวงการคลัง ไม่ใช่ประกาศของกรมศุลกากร
เมื่อสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมพิจารณา และขอลดอัตราอากรโดยระบุว่า ไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่และเป็นของใหม่ กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ก็ต้องอนุมัติให้โจทก์ได้ลดอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 จะไม่อนุมัติโดยอ้างว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 และประเมินเพิ่มให้โจทก์เสียแก่จำเลยทั้งสองโดยไม่ลดหย่อนอัตราอากรศุลกากรให้โจทก์ไม่ได้ อำนาจในการอนุมัติขึ้นอยู่กับสินค้าที่นำเข้านั้นว่า เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.9/2526 กับหลักเกณฑ์ของเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 หรือไม่ หาได้ขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 หรือตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 โดยเด็ดขาดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่อาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์ตัวหนาทึบอยู่ในพื้นสีขาว เขียวและเขียวเข้มลักษณะเป็นแฉก เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาจีนถัดลงมาเป็นภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ทั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "น้ำปลาผสม"ส่วนด้านใต้ตัวเลข 1 ระบุแหล่งผู้ผลิตคือ ผลิตโดยบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์เป็นลายไทย เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาไทยอ่านว่า "น้ำปลาผสมตราเลขหนึ่ง" ถัดลงมาเป็นภาษาจีนภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "แบ่งบรรจุโดยร้านมิตรไพโรจน์"ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอยู่ที่ตัวเลข "1" ซึ่งอยู่ในพื้นสีขาว เขียวอ่อนและเขียวเข้มซึ่งเป็นแฉกเหมือนกัน อยู่ในฉลากขนาดเดียวกัน ด้านบนของตัวเลข 1คำว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" กับ "ทั้ง ซัง ฮะ" มีจำนวน 3 คำเท่ากัน และมีคำซ้ำกันถึง2 คำ คือ "ซัง" กับ "ฮะ" ส่วนคำที่ไม่ซ้ำกันคือคำว่า "ทั้ง" กับ "ตั้ง" ก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนแหล่งผู้ผลิตซึ่งอยู่ด้านล่างของตัวเลข "1" มีคำว่า"ไพโรจน์" อย่างเดียวกัน การจัดวางรูปเครื่องหมายการค้าเลข "1" ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆ คล้ายคลึงกัน และใช้กับสินค้าน้ำปลาอย่างเดียวกัน เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ใช้มาก่อนและจดทะเบียนไว้จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 25