คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหาย และอายุความฟ้องร้อง
ผู้ขายสินค้าในต่างประเทศว่าจ้างบริษัท ฟ.และบริษัทว. ซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ ทำการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมาให้ผู้ซื้อในประเทศไทย บริษัท ฟ.และบริษัท ว. ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงว่าจ้างจำเลยทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลมาที่หน้าการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าจอดเทียบท่าและจัดการหาคนหรือเครื่องมือขนถ่ายสินค้าออกจากเรือเดินทะเลนำไปที่หน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบและผู้รับตราส่งต้องนำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยเป็นผู้ออก เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้ากับบริษัท ฟ.และบริษัทว. และเป็นการขนส่งหลายทอดโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี การฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงมีอายุความ 10ปี นับแต่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรับผิดจากการขับเรือประมาท ทำให้สินค้าเสียหาย ฟ้องไม่เคลือบคลุม เหตุสุดวิสัยไม่ฟัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำละเมิดของจำเลยเป็นเหตุให้สินค้าในรถของโจทก์ทั้งสองคันเสียหาย คือปลาสด 7,370 กิโลกรัมเศษ กุ้งสด 5,638 กิโลกรัม เศษ ปูสด 35 กิโลกรัม ไข่สด 1,195 กิโลกรัม กับอีก 5,000 ฟอง และน้ำแข็ง 93 ลัง เสียหายทั้งหมดคิดเป็นเงินรวม 372,909 บาท โจทก์รับจ้างขนสินค้าดังกล่าวจึงต้องชดใช้ราคาสินค้าทั้งหมด และโจทก์ได้ชดใช้เงินค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าของสินค้าครบถ้วนแล้วโจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลย ดังนี้ เป็นการแสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาจำต้องบรรยายว่าทรัพย์สินที่เสียหายเป็นของผู้ใด จำนวนเท่าใดไม่ เพราะเป็นรายละเอียดอันจะนำสืบกันในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่เกิดเหตุมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวเป็นปกติซึ่งจำเลยที่ 2 และนายท้ายเรือคนอื่น ๆ เคยประสบมาเป็นประจำอยู่แล้วโดยไม่เกิดเหตุร้าย แสดงว่าในการขับเรือแพขนานยนต์เข้าจอดเทียบท่าแม้กระแสน้ำจะไหลเชี่ยว ถ้าจำเลยที่ 2 ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอย่างเช่นเคย เรือแพขนานยนต์ก็ไม่เอียง และรถจะไม่ไหลตกทะเล เหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดแต่จำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการขับเรือแพขนานยนต์เข้าจอดเทียบท่า หาใช่เกิดแต่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของผู้รับขนช่วง
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งของไปต่างประเทศทางทะเล จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 นำรถลากจูงรถตู้ไปลำเลียงของมาลงเรือ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในความผิดของจำเลยที่ 2 ที่ของสูญหายไปตาม ป.พ.พ. ม.617 ด้วยป.ว.281 ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด โดยเหตุที่เป็นบริษัทต่างประเทศต้องห้ามรับขนส่งสินค้าทางบกไม่ได้จำเลยที่ 2 รับขนช่วงจากจำเลยที่ 1 เป็นการรับขนโดยผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ในการที่สินค้าของโจทก์สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้า อันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งตนหากได้มอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง
ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดผู้ขนส่งทั้งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหายบุบสลายหรือส่งชักช้า
ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกไปให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง
แม้สินค้าที่ส่งจะมีประกันภัยไว้ เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่ง ผู้รับตราส่งย่อมฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้โดยตรง หาจำต้องฟ้องผู้รับประกันภัยก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางเรือต่อความเสียหายของสินค้า หากพิสูจน์เหตุสุดวิสัยไม่ได้
การที่จำเลยรับจ้างขนสิ่งของทางเรือไปส่งโจทก์ แล้วเรือที่บรรทุกของ ๆ โจทก์ล่มลง ข้าวของ ๆ โจทก์ เสียหายเช่นนี้ จำเลยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จำเลยจะพิศูจน์ได้ว่าการเสียหายนี้ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ กรณีสินค้าเสียหายจากเรือล่ม ผู้ขนส่งต้องพิสูจน์เหตุสุดวิสัยเพื่อไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยรับจ้างขนสิ่งของทางเรือไปส่งโจทก์ แล้วเรือที่บรรทุกของของโจทก์ล่มลง ข้าวของของโจทก์เสียหายเช่นนี้ จำเลยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนี้ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: 'อันตรายทางทะเล' ครอบคลุมความเสียหายจากเหตุสุดวิสัยที่ทำให้เรืออับปางและสินค้าเสียหาย
กฎหมายทะเลของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ เมื่อเกิดมีคดีขึ้น จึงควรเทียบวินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
สัญญาประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย
คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "PERILOFTHESEA" นั้น ย่อมหมายถึงภยันตรายใดๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้ หาจำจะต้องคำนึงถึงว่า ขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่หรือทะเลเป็นบ้าอย่างใดไม่ การที่เรือเกิดรั่วต้องอับปางลงในระหว่างเดินทางในทะเลโดยไม่ใช่ความผิดของใคร ย่อมเป็นอันตรายที่เรือนั้นจะต้องประสพโดยวิสัยในการเดินทางผ่านทะเลอยู่แล้ว เป็นอันตรายทางทะเลตามความหมายแห่งการประกันภัยทางทะเลแล้ว ตามที่ศาลอังกฤษถือตามกันมาก็ถืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยโชคกรรมจากทะเลหรือเนื่องจากทะเล
โจทก์ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์จำนวนหนึ่ง บรรทุกเรือยนต์ตรังกานูไปจังหวัดสงขลา ไว้กับจำเลย เรือตรังกานูออกจากท่ากรุงเทพฯจะไปจังหวัดสงขลา พ้นสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาไปแล้วประมาณ 10 ไมล์เศษเกิดมีคลื่นลมจัด เรือโคลงมาก และน้ำเข้าเรือมาก ถ้าไม่กลับเรือจะจมเรือตรังกานูจึงได้แล่นกลับ พยายามแก้ไขและวิดน้ำก็ไม่ดีขึ้น ในที่สุดน้ำท่วมเครื่องดับนายเรือให้สัญญาณบอกเหตุเรืออับปาง มีเรือยนต์อื่นมาช่วยถ่ายคนและลากเรือตรังกานูมาปล่อยไว้ที่กลางน้ำหน้าที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำแล้ว ได้จ้างเรือเล็กลากเข้าฝั่งเกยตื้นจมอยู่ที่ฝั่งป้อมผีเสื้อสมุทร ปูนซิเมนต์ถูกน้ำท่วมเสียหายสิ้นเชิงดังนี้ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เนื่องจากเรือได้สูญเสียสิ้นเชิงเนื่องจากอันตรายทางทะเลแล้ว บริษัทผู้รับประกันต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9855/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: ต้องมีเจตนาตกลงชัดเจนจึงจะมีผลผูกพัน
แม้ใบรับขนสินค้าของจำเลยที่ 1 มีข้อความท้ายสุดว่า "สินค้าที่ไม่ได้ประเมินราคา เมื่อเกิดความชำรุดหรือเสียหายจะชดใช้ไม่เกิน 500 บาท" ทางนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วย ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดเต็มจำนวนที่สินค้าเสียหายจริงคือ 34,527.50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6140/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากน้ำ: การพิสูจน์เหตุแห่งความเสียหายและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลตามสัญญาเช่าเรือ (Charterparty) ที่ทำกับผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่ง สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้รับตราส่งจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และถือว่าสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เริ่มตั้งแต่เมื่อจำเลยที่ 1 รับสินค้าไว้จากผู้ส่งของจนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 4 ผู้ประกอบการโรงพักสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 (3) ซึ่งเมื่อรับสินค้าที่ท่าเรือต้นทางจำเลยที่ 1 ออกใบตราส่งโดยมิได้บันทึกสภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอกไว้ในใบตราส่งจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 รับสินค้าที่มีสภาพภายนอกเรียบร้อยไว้เพื่อการขนส่ง ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และเมื่อเรือมาถึงท่าเรือของจำเลยที่ 4 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 มีการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือตั้งแต่วันที่ 22 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 มีการบันทึกไว้ที่มุมล่างขวาของ "Time Sheet" ว่าสินค้าได้รับการขนถ่ายขึ้นจากเรือตามสภาพที่บรรทุกลงเรือโดยไม่มีการสำรวจความเสียหายของสินค้าหรือมีการบอกกล่าวเป็นหนังสือจากผู้รับตราส่งถึงจำเลยที่ 1 ว่า สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายภายในเวลาตามที่บัญญัติในมาตรา 49 (1) และ (2) จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบสินค้าตามสภาพที่ระบุไว้ในใบตราส่งและโจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าเหตุที่สินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางถนนจากท่าเรือของจำเลยที่ 4 ไปยังโรงงานของบริษัท พ. ที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงเป็นผู้ขนส่งและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยรับขนของ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้า หากเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618 อย่างไรก็ตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 บัญญัติว่า "ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลงในเมื่อผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของนั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหายหรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่งภายในแปดวันนับแต่วันส่งมอบ อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้" และแม้จำเลยที่ 5 จะให้การถึงเหตุที่ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงดังกล่าวเพียงคนเดียว แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 อาจต้องรับผิดร่วมกันเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ กระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ให้การไว้ เมื่อมิได้ทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ให้การนั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 5 ได้ทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสภาพความเสียหายของสินค้าไม่สามารถเห็นได้จากสภาพภายนอกเช่นนี้ ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวเรื่องความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 แล้วแต่กรณีส่งมอบสินค้า มิฉะนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ย่อมสิ้นสุดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ และจำเลยที่ 5 ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โรงงานของบริษัท พ. เมื่อวันที่ 28, 29 และ 31 พฤษภาคม 2553 ตามลำดับ ระยะเวลา 8 วัน ที่ผู้รับตราส่งจะต้องบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในเรื่องความเสียหายของสินค้าจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5, 6 และ 8 มิถุนายน 2553 ตามลำดับ เมื่อผู้รับตราส่งไม่ได้บอกกล่าวภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น จึงต้องถือว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้สิ้นสุดลงแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งคดีไม่มีประเด็นเรื่องการทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะเนื่องจากเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาฝากทรัพย์และขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า
ตามคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่อ้างมูลเหตุให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายว่า เมื่อจำเลยที่ 4 รับสินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อขนส่งทางรถยนต์ไปส่งมอบแก่ผู้เอาประกันภัย พบว่าสินค้าเสียหายเพิ่มอีก 1 กล่อง ในระหว่างการจัดเก็บโดยไม่ระมัดระวังและไม่ดูแลสินค้าในคลังสินค้าให้ดีเพียงพอของจำเลยที่ 3 และการขนส่งโดยรถยนต์บรรทุกโดยไม่ระมัดระวังและไม่ดูแลสินค้าให้ดีเพียงพอของจำเลยที่ 4 จึงเป็นการกล่าวอ้างถึงการทำหน้าที่ผู้รับฝากทรัพย์บกพร่องจนเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่จัดเก็บไว้อันเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ที่ผู้ฝากทรัพย์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยในความรับผิดในมูลละเมิดที่จะใช้อายุความในเรื่องละเมิดแต่อย่างใด
of 8