พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกายกอุทธรณ์ เพราะจำเลยไม่ได้อ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้อ้างเหตุที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย ส่วนอุทธรณ์เรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็มิได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าน้ำมันรถที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.ขนส่งทางบกฯ สาระสำคัญอยู่ที่การไม่มีใบอนุญาต ไม่ใช่ตัวรถยนต์
ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถยนต์(ผู้ขับรถ)โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและใช้รถยนต์ขนส่งคนโดยสารเพื่อสินจ้างนอกเส้นทางหรือนอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯนั้นสาระสำคัญในการกระทำผิดอยู่ที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่รถยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำผิดจึงไม่ริบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม, สิทธิการได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่นำสืบในคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสิทธิการได้รับค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้วดังนี้โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)นั้นศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54 การที่โจทก์ทำงานบกพร่องขาดความสามารถหรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่นเป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและความรับผิดชอบของนายจ้าง: การพิจารณาเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เงินบำเหน็จค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกันการวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย.อาจกำหนดแตกต่างกันได้การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างและในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตา583หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ ผลต่อการเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์ อ้างว่า โจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้อง จำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือน โจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้า แต่ถึงกำหนดจ่ายเงิน จำเลยกลับไม่ยอมจ่าย และไม่รับกลับเข้าทำงานอีก การกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น และเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลง แต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา52แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้นมิใช่เป้นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันทีแต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้วสัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลงส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้นการยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงานโดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา583จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างคดีอยู่ระหว่างพิจารณาจำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไปย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10แล้วและเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสมเมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ยังต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยมีอาชีพรับจ้างซ่อมรถยนต์จำเลยจ้างโจทก์ให้มีหน้าที่ไปประจำอยู่ที่ยริษัทร.เพื่อตีราคาค่าซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุและหาลูกค้านำรถมาซ่อมที่อยู่ของจำเลยโจทก์หาบุคคลนำรถยนต์ไปประกันกับบริษัทร.และรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วกลับนำไปใช้ส่วนตัวไม่นำส่งบริษัทร.ทำให้บริษัทร.ไม่ส่งงานให้จำเลยดังนี้เป็นการที่โจทก์ประพฤติในทางไม่สุจริตทำให้จำเลยขาดรายได้จึงมีเหตุเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์แต่การกระทำของโจทก์ไม่ต้องตามกรณีหนึ่งกรณีใดตามข้อ47แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั้งมิใช่การกระทำต่อจำเลยโดยตรงจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงหรือทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีจึงต้องชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.