พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมฯ ไม่ใช่สินสมรสก่อนออกโฉนด คำพิพากษาเดิมใช้บังคับไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้อง ก. ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ซึ่งมีที่ดินพิพาทนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี - ลพบุรี จัดสรรให้แก่ ก. สมาชิกนิคมทำประโยชน์รวมอยู่ด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ ก. แบ่งสินสมรส ซึ่งรวมที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์เป็นบุคคลภายนอกคดีย่อมไม่ใช่คู่ความในคดีเดิม ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ระบุว่า ก่อนมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วให้ถือว่าบุคคลที่รัฐอนุญาตให้เข้าทำกินมีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์เด็ดขาด แต่กลับมีมาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยัง สหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี" และในวรรคสองบัญญัติว่า "ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ดังนั้น ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ ก. ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อ ก. เพิ่งได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทมาภายหลัง จึงไม่ใช่สินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งรับโอนมรดกจาก ก. ให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้ และการเพิกถอนนิติกรรมเฉพาะส่วนของสินสมรส
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม
ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้
ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยกรรมสิทธิ์สินสมรส: ศาลไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยในคดีอื่น
ในคดีก่อนซึ่งโจทก์ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 1ร้องคัดค้านนั้น มีประเด็นพิพาทกันเพียงว่า มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกและโจทก์สมควรเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกของ อ.มีอะไรบ้าง เพียงใดไม่ได้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีโดยตรง แม้ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดว่าทรัพย์พิพาทตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องซึ่งรวมทั้งทรัพย์พิพาทในคดีนี้ได้มาระหว่างที่อ.เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ก็ถือไม่ได้ว่าศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์พิพาทว่าเป็นสินสมรสระหว่าง อ.กับจำเลยที่ 1อันจะต้องผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสหลังพ.ร.บ.ใช้บังคับ และอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการรวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ. มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมจำนองสินสมรสโดยไม่สุจริต และผลของการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชย/เงินกองทุนเลี้ยงชีพ/ประกันชีวิตหลังเสียชีวิต ไม่เป็นสินสมรส/มรดก แต่เป็นสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญา/ระเบียบ
ป.พ.พ.มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ.และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินชดเชย, เงินกองทุนเลี้ยงชีพ, และเงินประกันชีวิตหลังการเสียชีวิต มิใช่สินสมรสหรือมรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ. และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ. สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ. จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ. กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของณ. อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ. ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ. ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ. ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ. สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ. จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ. กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของณ. อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ. ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ. ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ. ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชย, เงินกองทุนเลี้ยงชีพ, เงินเพื่อนช่วยเพื่อน และเงินประกันชีวิตหลังการเสียชีวิต ไม่เป็นสินสมรสหรือมรดกที่โจทก์มีสิทธิ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาทกับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอแบ่งสินสมรส/ทรัพย์มรดกซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรมขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกัน ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนเพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตามแต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)