พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7278/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกระทบสิทธิบุคคลภายนอกต้องใช้สิทธิภายใน 8 วัน หากไม่ดำเนินการสิทธิสิ้นสุด
เมื่อโจทก์จะให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงโดยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีมาทำการบังคับคดีเป็นการไม่ชอบ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกการบังคับคดีจนการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการบังคับคดีได้อีก แม้คำพิพากษาในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีแต่เมื่อการบังคับคดีมีผลกระทบต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ว่าจะเป็นการร้องขัดทรัพย์หรือขอให้เพิกถอนการบังคับคดี หากโจทก์ไม่ดำเนินการ หรือดำเนินการไม่ถูกต้องย่อมไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีนั้น ๆ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องพิสูจน์การไม่ใช้หรือหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภาระจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภาระจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภาระจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และภารจำยอมหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภารจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภารจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภารจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยกทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเฉพาะมาตรา 289(4) ถือเป็นอันสิ้นสุดจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,289(4) พิพากษาลงโทษประหารชีวิต ของกลางริบ โจทก์และจำเลย ต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสองศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดย ไตร่ตรองไว้ก่อนเช่นเดียวกัน แต่เมื่อปรับบทลงโทษตามมาตรา 289(4) แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288อีก พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คดีเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสองแล้วจำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต การโอนสิทธิโดยไม่สุจริตไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้ บ. มีสิทธิเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ บ. ตายสิทธิการเช่าย่อมระงับหรือสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาท ส่วนคำพิพากษาของศาลอีกคดีหนึ่งที่วินิจฉัยว่า ฮ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทของโจทก์ร่วมแทน บ. ในคดีระหว่าง ฮ. กับ บ. นั้นเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าอาคาร มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อ ฮ. ผู้เช่าเดิมได้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่โจทก์และโจทก์ร่วมยินยอมและจัดให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิใช้อาคารพิพาท จำเลยอยู่ในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิโจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดถึงทายาท
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไม่ตกทอดไปยังทายาท คำพิพากษาในคดีอื่นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจทนายจำเลยหลังจำเลยถึงแก่กรรม และผลกระทบต่อฎีกา
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยไม่มีผู้ใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2 ผู้มรณะภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมจนกระทั่งได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความฟังแล้วถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายจำเลยที่ 2จะจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 แล้ว ทนายจำเลยที่ 2จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนอีกต่อไป ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาหลังจากที่หมดอำนาจแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอถอนสัญญาประกันและผลกระทบต่อความรับผิดตามสัญญา การมอบตัวผู้ต้องหาทำให้ความรับผิดสิ้นสุด
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ได้ยื่นหนังสือมีข้อความว่าขอถอนหลักทรัพย์อันเป็นหลักประกันเพื่อนำไปขายให้ผู้อื่น และจำเลยได้มอบตัว ส.ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์พร้อมทั้งนำหลักทรัพย์ของ อ.และพาตัวอ.มาทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาฉบับใหม่ต่อโจทก์ด้วย โดยสัญญาระบุชื่อ อ. เป็นผู้ประกันแต่ผู้เดียว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยขอเปลี่ยนหลักประกัน แต่เป็นเรื่องขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน เมื่อจำเลยมอบตัวต่อ ส. ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันที่จำเลยทำต่อโจทก์ดังกล่าว ย่อมหมดไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระงับข้อพิพาทสัญญาประกันชีวิตด้วยการประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
โจทก์และนางสาว ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะและขอบอกล้างสัญญา ย่อมเกิดข้อพิพาทตามสัญญาประกันชีวิตขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และนางสาว ก.แทนการชำระเงินตามสัญญาระกันชีวิตตามที่โจทก์และนางสาว ก.เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์และนางสาว ก.ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันภัยคืนตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ และสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติไว้ ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และนางสาว ก.ตามสัญญาประกันชีวิตระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาและการสิ้นสุดสถานะผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้คัคค้านที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้ร้องภายใน 7 วันโดยมีคำสั่งในวันเดียวกับวันที่ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นฎีกา จึงถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้คัดค้านที่ 2ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ทิ้งฎีกา สำหรับผู้ร้อง
ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 2 จะรับมรดกความกันไม่ได้
ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 2 จะรับมรดกความกันไม่ได้