พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขหนังสือค้ำประกัน: การแจ้งข้อเรียกร้องก่อนใช้สิทธิเรียกร้อง มิใช่การย่นอายุความ
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ว่า ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดให้ผู้ค้ำประกันทราบภายในกำหนดอายุสัญญาค้ำประกันเสียก่อนจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้นั้น เป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันและไม่ใช่ข้อตกลงที่ให้ย่นอายุความฟ้องร้องให้สั้นลง ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันทราบภายในกำหนดตามข้อตกลงดังกล่าวก่อน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลักฐานสำคัญในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกัน แม้จะมีสำเนาปลอม
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื้อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ.รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไป ต่อมา บ.นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 680 วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า"ตามที่นายป๊วยเคี้ยว แซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า "หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัทฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า"ตามที่นายป๊วยเคี้ยว แซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า "หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัทฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลัก แม้มีฉบับปลอม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื่อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกันจำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันการชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ. รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไปต่อมา บ. นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยยังอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริง แก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า "ตามที่นายป๊วยเคี้ยวแซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า"หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัท ฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า "ตามที่นายป๊วยเคี้ยวแซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า"หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัท ฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ จำเลยริบไม่ได้ ถือเป็นลาภมิควรได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. รับเหมาก่อสร้างอาคารของจำเลยในราคา2,471,000 บาท โดยต้องวางมัดจำร้อยละ 5 ของราคาก่อสร้างคิดเป็นเงิน 123,500 บาท หรือมิฉะนั้นจะต้องให้ธนาคารค้ำประกันในวงเงินดังกล่าว โจทก์ได้ออกหนังสือค้ำประกันชดใช้ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาของ ว.ให้แก่จำเลยความว่า หากว. ผิดสัญญาโจทก์ขอรับผิดชดใช้เงินแทนในวงเงินไม่เกิน 123,500 บาท โดยมิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกัน จึงมิใช่มัดจำตามกฎหมาย ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจำเลยและ ว. ก็มิได้มีข้อความให้จำเลยริบเงินตามหนังสือค้ำประกันได้ เพียงแต่ให้ปรับได้เป็นรายวัน เมื่อ ว. ผิดสัญญาจำเลยจึงได้บอกเลิกสัญญาและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้สั่งริบมัดจำตามหนังสือค้ำประกันให้ส่งเงินให้จำเลย โจทก์จึงส่งเงินให้จำเลย เช่นนี้ เป็นเรื่องโจทก์ชำระเงินให้จำเลยไปโดยที่ ว. ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ชำระแก่จำเลยและเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การคืนเงินค่าจ้างงวดที่ 1 เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในงวดที่ 2 และขอบเขตการบังคับใช้หนังสือค้ำประกัน
ตามสัญญาจ้างผู้ว่าจ้างจะแบ่งจ่ายเงินให้เป็นงวด ๆ คือ งวดที่ 1 เงิน 56,900 บาท จะจ่ายให้เมื่อผู้รับจ้างได้ทำงานงวดนั้นเสร็จ โดยผู้รับจ้างต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในวงเงิน 56,900 บาทมามอบให้กับผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันเงินที่ได้รับไป หากปฏิบัติงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาให้เรียกเงินค้ำประกันจำนวน 56,900 บาท จากธนาคารได้ทันที จะคืนหนังสือค้ำประกันให้เมื่อคณะกรรมการฯ ได้ตรวจรับงานงวดที่สองแล้ว ข้อความในสัญญาที่ว่า หากปฏิบัติงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาให้เรียกเงินค้ำประกันจำนวน 56,900 บาท คืนจากธนาคารได้ทันทีนั้นต้องหมายความถึงการที่ผู้รับจ้างผิดสัญญาตั้งแต่งานงวดที่ 2 เป็นต้นไป ธนาคารจะหมดความรับผิดคืนเงินจำนวนดังกล่าวต่อเมื่อมีการตรวจรับงานงวดที่ 2 โดยผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันให้แล้ว เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาทำงานงวดที่สองไม่เสร็จ ก็ต้องร่วมกับธนาคารคืนเงินค่าจ้างงวดที่ 1 ให้แก่ผู้ว่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันหลังสัญญากู้ปลอม: ไม่เป็นความผิดสนับสนุนปลอมเอกสาร
ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ที่ปลอมสัญญากู้ขึ้น แต่ทำภายหลังที่ได้ทำสัญญากู้ปลอมเสร็จขาดตอนแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนปลอมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ การชำระเงินโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนไม่ได้ และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับผู้ว่าจ้างแทนการที่จำเลยที่ 1 จะต้องวางเงินมัดจำในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างเหมาทำการก่อสร้างอาคารให้ผู้ว่าจ้าง หนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาที่โจทก์ผูกพันต่อผู้ว่าจ้างเพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและไม่ชำระหนี้เท่านั้น โจทก์มิได้วางเงินตามหนังสือค้ำประกันให้ไว้ต่อผู้ว่าจ้างขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างหนังสือค้ำประกันจึงมิใช่มัดจำ และเมื่อตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่มีข้อความให้ผู้ว่าจ้างริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน ผู้ว่าจ้างจึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1722/2513)
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
เมื่อผู้ว่าจ้างแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และสั่งริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน กับให้โจทก์ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระโจทก์ย่อมสามารถตรวจดูสำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 มอบให้ไว้ และทราบได้ว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิริบเงินตามหนังสือค้ำประกัน แม้ตามหนังสือค้ำประกันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างก็มิได้เรียกร้องให้โจทก์ส่งเงินไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งเงินไปชำระตามข้อเรียกร้องของผู้ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ชำระเงินให้ผู้ว่าจ้างไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระและทั้งๆ ที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ทักท้วงแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และจากจำเลยที่ 2, 3, 4, 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ - สิทธิในการริบ - อำนาจฟ้องของกองทัพบก
โจทก์จ้างจำเลยให้ทำการก่อสร้างให้โจทก์ โดยมีข้อสัญญาว่าหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น เนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย ในการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้แทนการวางมัดจำเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หนังสือค้ำประกันนี้เป็นเพียงสัญญาซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารมิได้วางเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ขณะเมื่อจำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ หนังสือค้ำประกันจึงมิใช่เป็นมัดจำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377แม้ธนาคารจะได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันให้โจทก์ในเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลย ก็ไม่ทำให้เงินที่ชำระนั้นกลายเป็นมัดจำไป เมื่อหนังสือค้ำประกันไม่ใช่มัดจำ และตามสัญญาก็มิได้ระบุให้ริบเงินที่ชำระตามหนังสือค้ำประกัน โจทก์จึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ และอำนาจฟ้องของกองทัพบกเมื่อมีผู้รับมอบอำนาจ
โจทก์จ้างจำเลยให้ทำการก่อสร้างให้โจทก์ โดยมีข้อสัญญาว่าหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น เนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย ในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้แทนการวางมัดจำเป็นเงินจำนวนหนึ่ง หนังสือค้ำประกันนี้เป็นเพียงสัญญาซึ่งธนาคารผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารมิได้วางเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ขณะเมื่อจำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ หนังสือค้ำประกันจึงมิใช่เป็นมัดจำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377แม้ธนาคารจะได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันให้โจทก์ในเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลย ก็ไม่ทำให้เงินที่ชำระนั้นกลายเป็นมัดจำไป เมื่อหนังสือค้ำประกันไม่ใช่มัดจำ และตามสัญญาก็มิได้ระบุให้ริบเงินที่ชำระตามหนังสือค้ำประกัน โจทก์จึงริบเงินจำนวนนี้ไม่ได้
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
จำเลยทำสัญญารับทำการก่อสร้างโดยระบุไว้ในสัญญาว่าส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยคำสั่งกองทัพบก ย่อมถือได้ว่า ส.ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบกจำเลยจะอ้างว่า ส. เป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่ใช่กองทัพบกกองทัพบกไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน/กู้เงิน: ฟ้องจำเลยในฐานะลูกหนี้โดยตรง แม้กล่าวอ้างเป็นตัวแทน แต่หลักฐานชี้เป็นผู้กู้
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือกู้เงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ยึดไว้เป็นสำคัญ โจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือกู้นี้มาพร้อมกับฟ้องด้วย เมื่อหนังสือกู้นั้นมีความชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ในนามของตนคนเดียวไม่ปรากฎว่าทำในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ยกเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นโต้แย้งประการใดดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญากู้ ดังสำเนาท้ายฟ้องนั่นเอง ตามประมวล ก.ม.วิธีพิจารณาถือว่า เอกสารที่แนบมาท้ายฟ้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วย