คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สินล้นพ้นตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมีหลักฐานชัดเจน
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4)ข. เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาท เมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องดูทรัพย์สินที่มีอยู่จริง แม้มีหนี้แต่มีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้ ศาลไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
แม้โจทก์จะนำสืบได้ตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาของศาลจะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ทั้งนี้ตามมาตรา 14 เมื่อจำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดก และเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน 3 แปลง ที่ดินมรดกดังกล่าวจึงตกทอดแก่จำเลยทันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600 แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ก็หาทำให้สิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงเปลี่ยนแปลงไม่ และแม้ที่ดินนั้นจะติดจำนอง แต่เมื่อรวมหนี้จำนองกับจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์แล้วต่ำกว่าราคาที่ดินจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคงเดิม แม้ธปท. เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวไม่จำเป็นวินิจฉัย
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำ-พิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาถึงที่สุด และการพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิดจากเจตนาช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกหนี้เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การที่ลูกหนี้ประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตแล้วเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินถึงขนาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีหน้าที่คอย ควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของลูกหนี้และสมาคมไทยเงินทุนและหลักทรัพย์ต้องขอร้องให้เจ้าหนี้ทั้งสามรายเข้าไปช่วยเหลือย่อมแสดงว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และขาดความเชื่อถือจากสถาบันการเงินอื่น จึงไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยลำพังตนเองเพื่อมาพยุงฐานะของตนได้ การที่เจ้าหนี้ทั้งสามให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินแม้จะเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามที่ได้รับการขอร้อง แต่ก็เป็นการยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาที่ว่าหนี้รายใดจะต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดี ล้มละลายหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเจ้าหนี้ผู้โต้แย้งก็ชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีหนี้โจทก์เกินห้าหมื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านตามประเด็นดังกล่าวหรืออุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามความใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนเช็คถึงกำหนด การที่โจทก์ยอมรับเช็คดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ยอมขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยแล้วและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผู้ใดอีก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นที่จำเลยฎีกาก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะแม้จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์เพียงคนเดียว แต่เมื่อหนี้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 9 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกฟ้อง
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงดังนี้ แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยังมีหนี้สินกับโจทก์อีก 2,895,577.87บาท ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ 8088/2535 และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.1038/2533 ซึ่งรวมหนี้สินของจำเลยทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 7,000,000 บาทเศษ โดยจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ โจทก์มิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายถูกต้องตามภูมิลำเนา และผลของการสันนิษฐานบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิง หุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว
ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ
การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ก.ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การตีราคาหลักประกัน, ภูมิลำเนาจำเลย, และข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1ที่ 2 ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิงหุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ 50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 8(4) ก. ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ไม่สำเร็จ และการมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักการประกันทั้งหมด และส่วน ที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปี ซึ่งในหลักการหนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้" ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้ง มติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอ ของจำเลยที่ 1 หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่มีผลผูกพัน โจทก์
of 16