พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีหนี้เงินกู้: การมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและการไม่มีหนี้โดยตรง
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไป ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้รักษาสัญญาไว้ และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่ โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทน โจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดยส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริง โจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้ เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่า ส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้ โดยชอบแล้วหาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยจะขอให้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส. ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือ ส. มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที 2 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ไม่ระงับแม้เช็คไม่สามารถใช้ได้ โจทก์ฟ้องได้ภายในอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เรื่องเงินกู้ แล้วต่อมาจำเลยได้นำเช็คมามอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้นั้นโจทก์ได้รับเช็คนั้นแล้วได้มอบสัญญากู้คืนให้จำเลยไป โจทก์มอบเช็คนั้นใช้หนี้แก่ยี่ห้อลี้ฮง ยี่ห้อลี้ฮง ได้มอบเช็คนั้นต่อไปให้บริษัทฮะฮั่วเฮง บริษัทฮะฮั่วเฮงนำเช็คนั้นเข้าบัญชีของตนไม่ได้ โดยธนาคารส่งเช็คนั้นคืนมา เช็คนั้นจึงถูกส่งคืนโดยลำดับย้อนกลับมายังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ได้ทวงถามและบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้นี้แล้ว จำเลยเพิกเฉยเสีย จึงขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ฟ้องของโจทก์ที่บรรยายมานี้มิได้เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยเฉพาะแต่อย่างเดียว โจทก์ได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่จำเลยกู้โจทก์ไปอยู่ในตัวด้วย แม้เช็คนั้นจะขาดอายุความแล้ว แต่หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย โจทก์จึงฟ้องเรียกหนี้เงินกู้เดิมนั้นได้ ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ไม่ระงับ แม้เช็คชำระหนี้ขาดอายุความ ยังฟ้องเรียกหนี้เดิมได้
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เรื่องเงินกู้แล้วต่อมาจำเลยได้นำเช็คมามอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แต่ภายหลังเช็คนั้นขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ทวงถามและบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยเพิกเฉยเสีย จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ ดังนี้ มิได้เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คแต่อย่างเดียว แต่เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมที่จำเลยกู้โจทก์ไปอยู่ในตัวด้วย แม้เช็คนั้นจะขาดอายุความแล้ว แต่หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายโจทก์จึงฟ้องเรียกหนี้เงินกู้เดิมนั้นได้ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและจำนำ: การบังคับจำนำแล้วฟ้องชำระหนี้เงินกู้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
เอาเงินเขาไปแล้วมอบทองรูปพรรณให้ไว้เป็นประกันนั้น แม้การมอบทองรูปพรรม์ให้ไว้จะเป็นจำนำ ซึ่งอาจบังคับ
กันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ดี แต่ถ้าได้บังคับจำนำกันแล้ว ได้เงินไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จึง
ต้องมาฟ้องร้องขอให้บังคับชำระเงินที่ยังขาดอยู่แล้ว ก็เท่ากับฟ้องร้องให้ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปนั่นเอง ถ้ามิได้มีหลัก
ฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว ก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้./
(ประชุมใหญ่)
กันได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ดี แต่ถ้าได้บังคับจำนำกันแล้ว ได้เงินไม่พอชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จึง
ต้องมาฟ้องร้องขอให้บังคับชำระเงินที่ยังขาดอยู่แล้ว ก็เท่ากับฟ้องร้องให้ชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปนั่นเอง ถ้ามิได้มีหลัก
ฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว ก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้./
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6119/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้และการบังคับจำนอง: ข้อจำกัดระยะเวลาดอกเบี้ยค้างชำระ
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่ผิดนัด อายุความฟ้องเรียกเงินตามจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตามมาตรา 193/33 (2) แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่ เมื่อเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2548 ถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาลในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 จึงเกิน 5 ปี หนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความกรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 745 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสามารถที่จะบังคับเอากับตัวทรัพย์จำนองได้แม้หนี้ประธานจะขาดอายุความแล้ว แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินกว่าห้าปีที่ผู้จำนองไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นบทบังคับไม่ให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10020/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่แยกจากหนี้เงินกู้หลัก
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ด้วย โดยจำเลยที่ 1 ต้องเอาประกันภัยทรัพย์จำนอง โจทก์ได้ออกเงินทดรองจ่ายเบี้ยประกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์จำนองเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาจำนอง จึงไม่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันและหลุดพ้นจากความรับผิดเนื่องจากหนี้ดังกล่าวขาดอายุความ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความรับผิดในหนี้ค่าเบี้ยประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22631/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้เงินกู้รายวัน: สมุดบันทึกการเก็บเงินที่มีลายมือชื่อเจ้าหนี้เพียงพอต่อการรับฟังได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามสัญญากู้ยืม จำเลยทั้งสองยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง แต่ชำระหนี้เป็นรายวันครบถ้วนแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลยทั้งสอง
การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้
การนำสืบถึงการชำระหนี้กู้ยืมด้วยเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง กำหนดให้ผู้นำสืบต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองนำสืบโดยมีสมุดบันทึกการเก็บเงินเป็นรายวัน ซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์มาแสดง แม้สมุดบันทึกดังกล่าวที่ลงลายมือชื่อโจทก์ไม่ได้ระบุว่ารับเงินค่าอะไร แต่ก็มีข้อความระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ค้าง ซึ่งบ่งชี้ว่าในเดือนนั้นจำเลยทั้งสองชำระในส่วนที่เป็นต้นเงิน โดยยังค้างดอกเบี้ยไว้ ดังนี้ หลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่าใช้หนี้กู้ยืมเงิน เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้มาเก็บเงินเป็นรายวัน มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บ และเมื่อลูกหนี้ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ย ก็มีรายละเอียดว่าค้างดอกเบี้ยเดือนใดบ้าง โดยมีลายมือชื่อเจ้าหนี้ลงในช่องทุกวัน ที่มาเรียกเก็บเงิน ถือว่าสมุดบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้เงินกู้ตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบการใช้เงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12442/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้: การผ่อนชำระเป็นงวดๆ และการบังคับตามข้อตกลง
แม้จะมีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินกู้คืนทุกเดือนตามคำสั่งหรือกำหนดชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน เดือนละ 148,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 และงวดต่อๆ ไปทุกวันที่ 23 ของเดือนจนกว่าเงินต้นและดอกเบี้ยจะได้มีการชำระครบถ้วนแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เมื่อผู้ให้กู้เดิมและจำเลยที่ 1 เลือกผูกพันตามข้อตกลงในการชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคืนโดยวิธีชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนรวมระยะเวลา 5 ปี นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กู้เดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องกับจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามข้อตกลงที่คู่สัญญาเลือกปฏิบัติผูกนิติสัมพันธ์กันนั้น เมื่อข้อตกลงชำระหนี้เงินกู้คืนที่ตกลงผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นเป็นการชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินกู้: ข้อตกลงผ่อนชำระรายเดือนมีผลทำให้อายุความ 5 ปี
แม้มีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินกู้คืนทุกเดือนตามคำสั่งหรือกำหนดชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน เดือนละ 148,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539 และงวดต่อๆ ไปทุกวันที่ 23 ของเดือน จนกว่าเงินต้นและดอกเบี้ยจะได้มีการชำระครบถ้วนแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เมื่อผู้ให้กู้เดิมและจำเลยที่ 1 เลือกผูกพันตามข้อตกลงในการชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยคืนโดยวิธีชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนรวมระยะเวลา 5 ปี นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กู้เดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องกับจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามข้อตกลงที่คู่สัญญาเลือกปฏิบัติผูกนิติสัมพันธ์กันนั้น เมื่อข้อตกลงชำระหนี้เงินกู้คืนที่ตกลงผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นเป็นการชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: การฟ้องเรียกชำระหนี้เงินกู้กับทายาทเมื่อเลยกำหนดอายุความ และการฟ้องบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามอยู่ใต้บังคับมาตรา 193/27 เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้ว แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง อันเป็นการบังคับตามทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ แต่โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ชำระหนี้อันเป็นตัวเงินคืนต้นเงินและดอกเบี้ย มิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 จึงต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ