คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่ตามกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: หน้าที่ตามกฎหมายแม้เป็นชั่วคราวก็ถือเป็นหน้าที่
จำเลยเป็นตำรวจ ผู้กำกับการสั่งให้ไปช่วยในกองก่อสร้างสถานีตำรวจ และมอบหมายให้ดูแลรักษาเหล็กซึ่งใช้ในการก่อสร้างจำเลยยักยอกเหล็กนั้นไปผิดตาม ม. 131 ไม่ใช่ ม. 319 เพราะการรักษาเหล็กเป็นหน้าที่ของจำเลยตามกฏหมายแล้ว ส่วนจะเป็นหน้าที่ชั่วคราวหรือประจำ ไม่สำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยป้องกันสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย, การสั่งการย้ายศพ, และความรับผิดทางอาญา
จำเลยฆ่าเขาตายโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้วจำเลยใช้เขาหาม+ไปไว้ที่ป่าช้า มีผิดฐาน+ความตาย เพื่อว่าคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายลูกบ้านเอาศพไปไว้ที่ป่าช้าตามคำสั่งผู้ใหญ่บ้านไม่มีผิด + ชัณสูตรพลิกศพ พ.ศ.2457 ม.5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15710/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์ การแสดงเจตนาโอน และหน้าที่ตามกฎหมาย: ศาลฎีกาตัดสินกรณีโอนที่ดินสงฆ์โดยรัฐต้องตราพระราชบัญญัติ
โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสิทธิเป็นประเด็นแห่งคดีประการแรกว่า วัด ช. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและยกให้โจทก์ เพียงแต่วัด ช. จดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของแทน กับประการที่สอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำบันทึกแสดงเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ แต่ภายหลังไม่ปฏิบัติตาม เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งสิทธิต้องตามหลักเกณฑ์ในการนำคดีเข้าสู่ศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า โจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากวัด ช. ผู้เป็นเจ้าของ กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำบันทึกเพราะถูกข่มขู่และถูกกลฉ้อฉล ประเด็นข้อพิพาทมิใช่มีเพียงโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินหรือไม่เท่านั้น เพราะหากศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยบันทึกว่ามีผลตามกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาท เพราะการโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 33 (2) ประกอบมาตรา 34 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วด่วนพิพากษายกฟ้องนั้นหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่ เพราะยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับบันทึกอันมีผลเกี่ยวกับเนื้อหาคดีที่ศาลต้องพิพากษาอีก ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจหยิบยกวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทยังเป็นของวัด ช.ตามเดิมหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับการโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยส่วนนี้ชอบแล้ว
แม้จะรับฟังตามบันทึกว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามความประสงค์ของวัด ช. แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าวัด ช. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท การโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์จะกระทำได้ก็แต่โดยรัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น ดังนี้ การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนโดยตรงให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการพ้นวิสัย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีหน้าที่จดทะเบียนโอนใส่ชื่อวัด ช. เป็นเจ้าของตามความเป็นจริงก่อน และจะหยิบยกอายุความได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มากล่าวอ้างมิได้ เพราะมีบัญญัติห้ามไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 วรรคท้าย แต่ศาลจะพิพากษาในคดีนี้มิได้เพราะเป็นการเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันระหว่างวัด ช. กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องติดต่อกับวัด ช. ต่อไป ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำบันทึกยินยอมที่จะไปโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์และจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้ดอกผลในที่ดินพิพาทด้วย กับถือว่าเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ผลผลิตยางพาราในที่ดินพิพาท และห้ามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทมีหน้าที่จัดทำงบดุล หากปฏิเสธการร่วมงาน อาจไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสามไม่จัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายในกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1196, 1197 ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 18, 25 แต่ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเชิญพิจารณารับรองงบดุล - งบการเงินแล้วแจ้งเหตุขัดข้องปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมกรรมการ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่สามารถจัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามที่กฎหมายกำหนดได้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นจึงมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และอำนาจฟ้อง: การที่โจทก์ฟ้องคดีซ้ำกับคดีเดิมที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว และการที่จำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
คดีก่อนจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวมีฐานะเป็นนิติบุคคล การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้อ้างว่า จำเลยที่ 1 (โจทก์ในคดีก่อน) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การซื้อขายสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำสำหรับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17259/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ลูกหนี้ส่วนตัว การฟ้องให้เพิกถอนคำวินิจฉัยจึงเป็นการฟ้องในฐานะคณะกรรมการ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแต่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 31 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 32 (5) ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 52
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นการฟ้องในฐานะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์ไม่ใช่ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม เหตุเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าตอบแทนจากการให้บริการ
แม้โจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่การพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการกิจการใดบ้างนั้น ต้องพิจารณาตามสภาพของการประกอบกิจการแต่ละประเภท สำหรับค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเงินที่โจทก์ได้รับตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่าในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีสหกรณ์ ให้จัดสรรเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ จึงเห็นได้ว่าเงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยมิใช่เป็นการชำระค่าบริการในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ เงินดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่สหกรณ์มีหน้าที่ต้องจัดสรรให้แก่โจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งโจทก์ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้เพื่อการอย่างอื่นได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 108 กำหนดให้ต้องกระทำการอันมิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรหรือรายได้ส่วนที่โจทก์มีหน้าที่ตามมาตรา 110 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 ได้แก่ ส่งเสริมและเผยแพร่กิจการสหกรณ์ และอื่น ๆ ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์เองที่ต้องกระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงมิใช่เป็นการงานที่โจทก์กระทำให้เป็นการตอบแทนสำหรับการรับเงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยโดยตรง การที่สหกรณ์ผู้จ่ายเงินและโจทก์ผู้รับเงินแต่ละฝ่ายต่างมีหน้าที่ต่อกันโดยผลของกฎหมายเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำสัญญาให้บริการอันเป็นการหาประโยชน์อันมีมูลค่าของโจทก์ การกระทำของโจทก์ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร เงินค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยจึงไม่เป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ของกลาง: ศาลฎีกาชี้ว่าคำพิพากษาให้คืนทรัพย์เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ไม่สร้างฐานะเจ้าหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม
คดีนี้พนักงานสอบสวนยึดทรัพย์ของกลางไว้ในชั้นสอบสวนเพื่อดำเนินคดีและตกลงให้โจทก์ร่วมรับมอบทรัพย์ดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างดำเนินคดีมิใช่คดีที่มีข้อหาหรือข้อกล่าวอ้างที่พิพาทกันว่า โจทก์ร่วมยึดถือครอบครองทรัพย์ของกลางของจำเลยที่ 1 ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายในอันที่จะพิจารณาและพิพากษาบังคับให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์นี้แก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด คำพิพากษาที่ให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่คำพิพากษาบังคับในลักษณะให้โจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีแก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 249 ประกอบกับ ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11814/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามหน้าที่ขายเงินตราต่างประเทศภายใน 7 วัน ไม่ถือเป็นความผิด หากได้ดำเนินการตามกำหนด
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2541) บัญญัติว่า "บุคคลใดได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ... ต้องขายเงินตราระหว่างประเทศนั้นให้แก่ธนาคารรับอนุญาต หรือบริษัทรับอนุญาต หรือบุคคลรับอนุญาตที่ตั้งอยู่ในประเทศ...ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้าแล้วแต่กรณี..." ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่าหากการได้เงินตราต่างประเทศแล้วมิได้มีการขายให้แก่ธนาคารหรือบุคคลผู้รับอนุญาตภายใน 7 วัน จึงจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ปฏิบัติ หากฝ่าฝืนด้วยการงดเว้นไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีความผิด การที่จำเลยที่ 2 ได้รับเงินตราต่างประเทศแล้วทำการขายให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้เงินตราต่างประเทศ จึงถือว่าได้มีการปฏิบัติครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีกรณีงดเว้นไม่กระทำการที่กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดทรัพย์สินอย่างครบถ้วน แม้เป็นบัญชีร่วม ต้องส่งเงินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิจะได้รับจากบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อธนาคาร ท. ได้รับหนังสืออายัดเงินฝากบัญชีของจำเลยทั้งสองจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่คัดค้าน ถือว่าการอายัดมีผลเป็นการอายัดเงินฝากของจำเลยทั้งสองที่ฝากอยู่ที่ธนาคาร ท. ทุกสาขาและทุกบัญชี ธนาคาร ท. จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดโดยการอายัดและส่งเงินที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองทุกบัญชีที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิเบิกจากธนาคารซึ่งรวมทั้งที่มีชื่อในบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นด้วยให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคท้าย การที่ธนาคาร ท. ไม่อายัดและส่งเงินฝากที่จำเลยที่ 2 มีชื่อร่วมกับบุคคลอื่นจนได้รับหนังสือยืนยันการอายัดและส่งเงินที่เหลือในบัญชีหลังจากได้รับหนังสืออายัดครั้งแรกเป็นเวลาถึง 4 เดือน นั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนโดยอ้างว่าผู้แทนโจทก์แถลงว่า ขณะที่ธนาคาร ท. ได้รับหนังสืออายัด จำเลยที่ 2 มีเงินอยู่ในบัญชีประมาณ 2,000,000 บาท ซี่งหากเป็นความจริงธนาคาร ท. จะต้องส่งเงินตามหนังสืออายัดจนครบจำนวนที่อายัดไว้จำนวน 1,038,609 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือถ้าได้ข้อเท็จจริงเป็นประการอื่นก็ให้มีคำสั่งไปตามรูปคดี เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนข้อเท็จจริงให้ปรากฏชัดว่า ขณะธนาคาร ท. ได้รับหนังสือแจ้งอายัด จำเลยทั้งสองมีเงินฝากอยู่ในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารจำนวนเท่าใดและเป็นความจริงดังที่โจทก์แถลงหรือไม่ก่อน กลับด่วนวินิจฉัยว่า ธนาคาร ท. ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดแล้ว ให้ยกคำขอของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นไม่ชอบ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าเป็นความจริงดังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างหรือไม่
of 7