พบผลลัพธ์ทั้งหมด 856 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดดูหมิ่น-หมิ่นประมาทจากการเบิกความเท็จต่อศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 136, 326, 90และ 91 คำฟ้องที่โจทก์บรรยายไว้มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5)แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งถ้อยคำเบิกความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทและดูหมิ่นไว้เพียงพอ ที่จะทำให้จำเลยที่ 2เข้าใจข้อหาทั้งสองได้ดี โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องแยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทและส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ถูก ด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทนในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็นความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาทจากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิดทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณีเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 ไม่
จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ถูก ด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทนในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็นความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาทจากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิดทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณีเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานจากคำเบิกความเท็จในชั้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136,326,90 และ 91 คำฟ้องที่โจทก์บรรยายไว้มีข้อความครบถ้วน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้ง ถ้อยคำเบิกความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทและดูหมิ่น ไว้เพียงพอ ที่จะทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาทั้งสองได้ดี โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องแยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทและส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดี ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกัน ข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทน ในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็น ความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้อง เงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิด ทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณี เช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณา พิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทจากการด่าด้วยถ้อยคำเสียดสีต่อหน้าบุคคลที่สาม โดยมีปมความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน
จำเลยกับผู้เสียหายเคยมีความขัดแย้งกันในเรื่องหนี้เงินกู้มาก่อน ประกอบกับพฤติการณ์ของผู้เสียหายเมื่อไปถึงหน้ารั้วบ้านของจำเลยได้เรียกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ให้ออกมาพูด นอกรั้วบ้าน อันถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ จำเลย ทำให้จำเลยโกรธผู้เสียหาย และร้องด่าผู้เสียหายว่า "มึงเป็นเมียน้อยสารวัตรส.อย่ามาทำใหญ่ให้กู้เห็นนะ"ต่อหน้า พ.ซึ่งมากับผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจาก พ. อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานที่ประพฤติมิชอบเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถือเป็นการพิสูจน์ความจริงได้
การที่จำเลยตีพิมพ์การกระทำหรือพฤติกรรมของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดตามคำสั่งกรมตำรวจนั้น แม้เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว เพราะเป็นเรื่องตีแผ่สิ่งประพฤติชั่วร้ายและกระทำหน้าที่มิชอบของโจทก์ขณะเป็นข้าราชการตำรวจเพื่อให้ประชาชนรับทราบและให้ผู้ประพฤติชอบพึงสังวรณ์ไว้ ย่อมเป็นข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งจำเลยมีสิทธิพิสูจน์ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 วรรคท้าย ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ตีพิมพ์ข่าวในหนังสือฉบับพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ตามความเป็นจริง จำเลยย่อมไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซักค้านพยานในศาลไม่ใช่การหมิ่นประมาท หากไม่ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นการใส่ความ
จำเลยเป็นทนายความให้ จ. ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกและขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ในการไต่สวนคำร้อง จำเลยได้ซักค้านโจทก์ว่า "โจทก์เป็นโจรรุ่นเดียวกับ เสือขาวใช่ไหม" ดังนี้ การที่จำเลยซักค้านโจทก์ดังกล่าว เป็นการถามพยานในเวลาพิจารณาคดีเพื่อการวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักคำพยาน ไม่ใช่ข้อความที่ยืนยันว่าโจทก์ เป็นโจร จึงไม่เป็นการใส่ความ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิและการหมิ่นประมาท: การฟ้องเพิกถอนการให้และการประพฤติเนรคุณ
คำบรรยายฟ้องของจำเลยตามสำเนาคำฟ้องมีใจความว่าโจทก์ กับ ค. ร่วมกันฉ้อฉลและล่อลวงให้ พ. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะที่ พ. ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมดังกล่าวได้ โดยเฉพาะพ.ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ข้อความในพินัยกรรมจึงน่าจะเกิดจากอุบายของโจทก์กับ ค. เป็นผู้เขียนขึ้นแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่อำเภอเป็นผู้พิมพ์ แล้วจับมือ พ. ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว ทั้งโจทก์ยังหลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต โดยเฉพาะก่อนที่ พ.จะถึงแก่กรรม 18 วัน โจทก์หลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินแล้วพูดจาข่มขู่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินของ พ. ให้แก่โจทก์ ตามที่จำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง และไม่เชื่อว่า พ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ เพราะขณะที่ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ดี พ.ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมและนิติกรรมดังกล่าวได้เมื่อกรณีไม่ใช่จำเลยรู้เห็นมาเองว่าข้อเท็จจริงเป็นดังคำบรรยายฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวงพ.ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและจับมือพ.ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว และโจทก์ไม่ได้หลอกลวง พ. ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องของจำเลยเป็นการแสดงเพื่อให้เห็นสิทธิของจำเลยและการประพฤติปฏิบัติของโจทก์ที่จำเลยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย คำบรรยายฟ้องของจำเลยดังกล่าวหาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณ ที่โจทก์เรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวอ้างเรื่องส่วนตัวและปัญหาภายในครอบครัวต่อบุคคลที่สาม
สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกล่าวข้อความว่า"โจทก์มีปัญหาในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกัน มีปัญหากับพนักงานในสาขาถึงได้ถูกย้ายไปสำนักงานใหญ่คงอยู่ไม่ได้นานต้องถูกไล่ออก" ต่อ อ. ลูกค้าของธนาคารย่อมเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงสิทธิส่วนบุคคลซึ่งข้อความดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเป็นคนไม่ดีทะเลาะกับสามีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนต้องถูกย้ายและกระทำความผิดร้ายแรงถึงขนาดจะถูกไล่ออกจากงานด้วย จึงเป็นข้อความที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หาใช่เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่สามีภริยาทะเลาะกันหรือเป็นคำติชมของผู้บังคับบัญชาหรือเป็นการกล่าวคาดคะเนแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อญาติของโจทก์เพียงคนเดียว และข้อความหมิ่นประมาทก็มิได้ทำให้ โจทก์เสียหายมากมายนัก นับว่าเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะ ไม่ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษนั้น หนักเกินไปควรให้ปรับจำเลย 5,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือเสนอแนวทางปรับปรุงการบริหาร การกระทำของผู้บริหารระดับสูงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลการที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไป ในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้ เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้าง และหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้นทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลยอันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็น ผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรเลี้ยงประพฤติเนรคุณและหมิ่นประมาทมารดาเลี้ยง
จำเลยด่าโจทก์ว่า "โจทก์นิสัยไม่ดี คนโตไม่รู้จักโตพูดไม่อยู่กับร่อง กับรอยพูดหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลนตอแหล เก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กูและเชื่อถือไม่ได้"ถ้อยคำดังกล่าวแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็น การลบหลู่ บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ เสียชื่อเสียงทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ทรัพย์สินได้ และการนำสืบเจตนาการให้โดยเสน่หา
การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "ไอ้เปรตไอ้เฒ่าบ้าแก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติ แถมบ้าเมียไม่สมแก่ไอ้หัวล้าน" ต่อหน้าบุคคลอื่นย่อมทำให้ผู้ได้ยินฟังเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติบ้าผู้หญิง ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่เพียงแต่หยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้น หากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมจะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินจะระบุว่า อ. ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดินโดยให้จำเลยบุตรของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ อ. ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลย ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่
แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินจะระบุว่า อ. ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดินโดยให้จำเลยบุตรของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ อ. ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลย ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่