คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีประนีประนอมหลังหย่า ต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องในคดที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมหลังการจดทะเบียนหย่าว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธาน-ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 12 ดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทและเหยียดหยามอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้
จำเลยด่าโจทก์ต่อหน้าธารกำนัลว่า "อีดอกทอง มึงไปประชุมที่โรงแรมก็ไปนอนให้เขาเย็ด..." "...มึงมีชู้จนหีเน่า ต้องไปตัดหี..." เป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทและเหยียดหยามโจทก์ สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่โจทก์ ซึ่งดำรงตำแหน่งครูใหญ่และผู้จัดการโรงเรียน จึงเป็นเรื่องร้ายแรงเกินควรแก่สภาพและฐานะของโจทก์อันจะพึงรับได้ กรณีมีเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (2) (ค) (3)ที่โจทก์จะฟ้องหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในการหย่าขาดจากกัน เป็นเหตุให้ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ทั้งสามและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวตามที่คู่ความได้ตกลงกันนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นแห่งบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวฉะนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่าจำเลย ไม่ได้ สละประเด็นเรื่อง อำนาจฟ้องอันเป็นการโต้แย้งข้อความที่ตกลงกันและมิได้มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยไม่อาจฎีกาในประเด็นนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท กรณีข้อพิพาทบังคับตามสัญญาหลังหย่า
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 92,000 บาท จำเลยให้การโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงแก่โจทก์จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าจากเหตุทิ้งร้างและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าต้องจดทะเบียนให้สมบูรณ์ การแสดงตนในความสัมพันธ์ชู้สาวกับคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียนหย่าทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนินคดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าในทำนองชู้สาว โจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: เริ่มนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา1526 เมื่อมีการหย่ากันแล้ว และการหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าและการแบ่งสินสมรส รวมถึงการกำหนดค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า โดยค่าเลี้ยงชีพเริ่มนับจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 เมื่อมีการหย่ากันแล้วและการหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมหลังหย่า: โจทก์ต้องพิสูจน์การเป็นหนี้ร่วมเพื่อให้บังคับชำระจากสินสมรสได้
หนี้ของจำเลยเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยหย่ากับผู้ร้อง เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าหนี้ของจำเลยรายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้รับฟังได้เช่นนั้น ผู้ร้องย่อมไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและผู้ร้องมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนในที่ดินสินสมรสที่โจทก์นำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4990/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: ตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ได้หากบิดามารดาเดิมยังมีอำนาจอยู่
กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง กฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา1566(6) เมื่อเด็กหญิงว.ผู้เยาว์มีมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่แล้ว การที่จะตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์นั้น มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว แต่เมื่อเด็กหญิงว. ยังมีจำเลยซึ่งเป็นมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่โดยยังไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองกรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้อีก ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1590
of 29