คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง และการกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานในขณะนั้น
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชำระหนี้จากการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาชี้ว่าการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่ใช่การถูกหลอกลวง และประเด็นราคาตลาดต้องยกขึ้นว่าในคำฟ้อง
โจทก์กู้เงินจากจำเลย 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน3 เดือน โดยโจทก์นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยขณะทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ เมื่อโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลัง
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นิติกรรมโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยหรือไม่นั้น อันเป็นการกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 154มิใช่การกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจหยิบยกคำเบิกความของ อ.ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว มิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลังนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเจตนาชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในวันชี้สองสถานดังกล่าวแล้วแม้จะมีถ้อยคำว่าหลอกลวงในคำวินิจฉัยก็เป็นเรื่องกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยว่าเป็นเรื่องโจทก์ทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยหลอกลวงหรือเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่า นิติกรรมที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการตีราคาที่ดินพิพาทตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่ดินที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยเป็นราคาเท่ากับท้องตลาดขณะที่โอนที่ดินแทนการชำระหนี้อันเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่ความในการอุทธรณ์ฎีกา แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อลวงเพื่อค้าประเวณี: ผู้เสียหายไม่ได้เต็มใจไปด้วย แม้ถูกชักชวนไปทำงานอื่น
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะพาผู้เสียหายไปทำงานในร้านอาหารแต่กลับพาไปขายให้แก่ บ. เพื่อให้ค้าประเวณีจะนับว่าผู้เสียหายเต็มใจไปด้วยไม่ได้เพราะผู้เสียหายไม่ได้เต็มใจไปค้าประเวณีมาแต่ต้น แต่ไปกับจำเลยเพราะจำเลยหลอกลวงว่าจะพาไปทำงานที่ร้านขายอาหารของน้องสาวจำเลยและการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายแล้วพาผู้เสียหายไปขายให้แก่บ. เพื่อให้ค้าประเวณี ก็เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาที่จะล่อผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น โดยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสอง และมาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศมีเจตนาทุจริต ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
คำฟ้องตอนแรกบรรยายว่าจำเลยจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ โดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยไปทำงานเป็นกรรมกรในต่างประเทศซึ่งจะได้เงินเดือนในอัตราสูงได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนไปทำงานยังต่างประเทศตามที่ได้หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528มาตรา 30, 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงเพื่อรับเงิน ไม่เข้าข่ายความผิดฐานจัดหางานผิดกฎหมาย
คำฟ้องตอนแรกบรรยายว่าจำเลยจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ โดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอก ให้แจ้งว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยไปทำงานเป็นกรรมกรในต่างประเทศ ซึ่งจะได้เงินเดือนในอัตราสูงได้ ความจริงแล้วจำเลย ไม่สามารถจัดส่งคนไปทำงานยังต่างประเทศตามที่ได้หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนา จัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อ จะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางาน และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30,82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีเจตนาแต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าวข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศและฉ้อโกง: ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้ถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าว ข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐาน ฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แม้ยังมิได้ใช้แสดงต่อผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิด
จำเลยทำหนังสือกู้ยืมเงินรวมทั้งลงลายมือชื่อส. ผู้ให้สัญญาด้วยตนเองภายหลังที่ส. ตายไปแล้วและใจความของสัญญาที่ว่าส.กู้ยืมเงินจำเลยถ้าส. ไม่คืนเงินยอมโอนที่ดินสวนยางพาราแก่จำเลยนั้นนอกจากไม่เป็นความจริงแล้วยังน่าจะเกิดความเสียหายแก่ทายาทของส. อีกด้วยทั้งจำเลยทำเอกสารดังกล่าวขึ้นเพื่อจะใช้อ้างกับด. ผู้ทำไฟไหม้สวนยางพาราของส.ว่าที่ดินของส. เป็นของจำเลยและจะได้เรียกร้องค่าเสียหายต่อไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ ข้อความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา264ที่ว่าโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนไม่ใช่การกระทำโดยแท้และไม่ใช่เจตนาพิเศษจึงไม่เกี่ยวกับเจตนาแต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริงก็พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปส่วนคำว่าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงนั้นเป็นเจตนาพิเศษโดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใดดังนั้นการที่จำเลยเจตนาทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อให้ด. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้วแม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารไปใช้แสดงต่อด. ก็ตามทั้งบุคคลที่จะถูกทำให้หลงเชื่อนี้กฎหมายมิได้กำหนดว่าจำต้องเกี่ยวโยงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับบุคคลที่น่าจะเกิดความเสียหายจึงเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำเอกสารแสดงเจตจำนงไม่ใช่พินัยกรรม หากมีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้เชื่อใจและอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้ตายทำเอกสารมีข้อความในตอนต้นว่า"นายก.(หมายถึงผู้ตาย)สัญญากับนางด. (หมายถึงโจทก์)ว่าไม่มีลูกเมียนางด. จึงอยู่กินฉันสามีภริยาฯลฯถ้ามีลูกเมียเมื่อไหร่ยอมให้ยึดทรัพย์สินของข้าพเจ้าและของแม่ทั้งหมดฯลฯ"อันมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์ว่าผู้ตายไม่มีภริยาและบุตรซึ่งความจริงปรากฏว่าผู้ตายมีบุตรกับจำเลยอยู่ก่อนแล้วการที่ผู้ตายปิดบังความจริงและให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์พฤติการณ์เชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพียงเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินเป็นภริยาผู้ตายเท่านั้นหามีเจตนาให้ผูกพันในเรื่องทรัพย์สินไม่แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความในตอนท้ายว่า"ฯลฯถ้าข้าพเจ้าตายทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าและของแม่ให้นางด. เป็นทายาทรับมรดกแต่ผู้เดียวฯลฯ"ก็มีเจตนาสืบเนื่องมาจากเหตุที่จะให้โจทก์หลงเชื่อจึงหามีผลสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมไม่
of 50