พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ การยกเลิกรายละเอียดหลักเกณฑ์ความผิด ไม่ทำให้ความผิดสำเร็จก่อนหน้านั้นพ้นผิด
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43คือ การฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 24(3)(4)(5) ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามมาตรา 43 ส่วนประกาศดังกล่าวข้อ 5 เป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่จะถือว่าอย่างไรเป็นการฝ่าฝืน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด ไม่ใช่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 การที่ต่อมาได้มีประกาศฉบับที่ 101 พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศดังกล่าวจึงเป็นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิด ไม่ใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าการใช้อำนาจไม่ชอบ
การใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจเจ้าพนักงานประเมินจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะถึงที่สุดตามมาตรา 86 เบญจ วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้า โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์มิชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าแจ้งรายจ่ายด้วยแบบ ภ.ค.45 ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันได้รับแบบ ภ.ค.45 แสดงว่า ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจได้นั้น เจ้าพนักงานจะต้องส่งแบบ ภ.ค.45 ให้ผู้ประกอบการค้าก่อนเพื่อให้ผู้ประกอบการค้าแจ้งรายจ่ายตามแบบดังกล่าว ดังนั้น การที่สรรพากรเขตส่งแบบ ภ.ค.45 ไปให้โจทก์ แต่หนังสือไม่ถึงโจทก์เพราะระบุบ้านเลขที่ผิด ย่อมเห็นได้ว่าเจ้าพนักงานยังมิได้ส่งแบบ ภ.ค.45 ให้โจทก์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า การใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินครั้งที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำทางภาษี ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม การประเมินภาษีเป็นโมฆะ
เจ้าพนักงานสรรพากรส่งแบบ ภ.ค.45 ไปให้โจทก์ แต่หนังสือดังกล่าวไม่ถึงโจทก์เพราะระบุเลขบ้านผิด เห็นได้ว่า การกำหนดรายรับขั้นต่ำที่พิพาทคดีนี้เจ้าพนักงานสรรพากรยังไม่ได้ส่งแบบ ภ.ค.45 ให้โจทก์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) ข้อ 3 และข้อ 4ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 44) ซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 86 เบญจการใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ เป็นคนละกรณีกับมาตรา 87,87 ทวิ (7) และ 87 ตรี แม้โจทก์จะเคยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบไต่สวน หรือเจ้าพนักงานประเมินจะเคยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์มาก่อนแล้วแต่เมื่อการกำหนดรายรับขั้นต่ำครั้งพิพาทนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 86 เบญจ จึงเป็นการไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์โดยมิชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยใช้สถิติรายรับจากแบบแสดงรายการภาษีเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาจากสถิติการเสียภาษีการค้าของโจทก์สำหรับปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2527 ที่โจทก์แสดงยอด รายรับไว้ตามแบบ อ.1 ซึ่งเฉลี่ยแล้วโจทก์มีรายรับไม่ต่ำกว่าเดือนละ 77,000 บาท เป็นเกณฑ์ในการกำหนดรายรับของโจทก์สำหรับปี พ.ศ. 2528 และปี พ.ศ. 2529 ดังนี้ เป็นการกำหนดรายรับของโจทก์โดยพิจารณาจากสถิติการเสียภาษีการค้าของโจทก์ อันเป็นหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควรตาม ป.รัษฎากรมาตรา 87 ทวิ(7) เป็นหลักเกณฑ์ จึงเป็นการกำหนดรายรับที่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวนเงินรายรับดังกล่าวแม้จะพ้อง กับรายรับขั้นต่ำที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2526ก็ตาม แต่ก็มิใช่จำนวนเดียวกันเพราะที่มาแห่งหลักเกณฑ์ต่างกันรายรับขั้นต่ำนั้นได้มาจากการควบคุมตรวจสอบและจดรายรับประจำวันส่วนกำหนดรายรับตามมาตรา 87 ทวิ(7) ได้มาจากสถิติการเสียภาษีการค้าของโจทก์ที่แสดงไว้ในแบบ อ.1 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงมิใช่การอาศัยยอด รายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหนังสือตักเตือน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ในกรณีที่มิใช่เป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนของนายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของนายจ้างนายจ้างจึงได้เลิกจ้างตามคำตักเตือนนั้น หนังสือตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ของจำเลยมีข้อความว่า เมื่อมีการตักเตือน 3 ครั้งแล้วจะถูกพักงานทันที แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนที่โจทก์ทั้งสี่กระทำผิดครั้งนี้ จำเลยเคยตักเตือนโจทก์ที่ 1มาแล้วเพียง 2 ครั้ง และตักเตือนโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 เพียงคนละ1 ครั้ง ในเหตุเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่กระทำผิดซ้ำคำเตือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือตักเตือนอันจะทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องยึดตามหลักเกณฑ์กฎหมายที่ระบุชัดเจน หากมีลักษณะเฉพาะย่อมเข้าประเภทที่ระบุชัดเจนกว่า
การตีความว่าของใด อยู่ในพิกัดประเภทใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นอลูมิเนียมแผ่นกลมมีรูตรงกลาง ใช้สำหรับทำหลอดยาสีฟัน จึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดทำด้วยอลูมิเนียมตามรายการที่ระบุไว้ในพิกัด ประเภทที่ 76.06 จะตี ความว่าเข้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 76.16 ซึ่ง ระบุไว้กว้าง ๆ โดยโจทก์อาศัยหลักเกณฑ์อื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้มาตีความย่อมไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องยึดตามหลักเกณฑ์ชัดเจนในกฎหมาย หากระบุลักษณะเฉพาะเจาะจง ให้จัดเข้าพิกัดนั้น
การตีความว่าสินค้าใด จะอยู่ในประเภทใด จะต้อง เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503มาตรา 12 วรรคสอง โดย ไม่อาจจะนำหลักที่นอกเหนือจากที่ กำหนดมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตีความได้ เมื่อสินค้าที่จำเลยนำเข้า เป็นอะลูมิเนียมแผ่นกลมเรียบมีรู ตรงกลางใช้ สำหรับทำ หลอดยาสีฟันจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่จัดเตรียมไว้ เพื่อทำหลอดทำด้วย อะลูมิเนียมตาม รายการที่ระบุไว้ในพิกัด ประเภท 76.06โดย ชัดแจ้ง ดังนี้ จะตีความเข้าอยู่ในพิกัด ประเภทที่ 75.16 ซึ่งระบุไว้กว้าง ๆ ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยให้พิจารณาความชัดเจนของรายการพิกัด
การตีความว่าของใด อยู่ในพิกัดประเภทใด ต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นอลูมิเนียมแผ่นกลมมีรูตรง กลาง ใช้ สำหรับทำหลอดยาสีฟัน จึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดทำด้วย อลูมิเนียมตาม รายการที่ระบุไว้ในพิกัด ประเภทที่ 76.06 จะตี ความว่าเข้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 76.16 ซึ่ง ระบุไว้กว้าง ๆ โดย โจทก์อาศัยหลักเกณฑ์อื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้มาตี ความย่อมไม่ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาอาญา: วิธีการและหลักเกณฑ์การระบุวิธีการบังคับคดี
การดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น นอกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 บัญญัติไว้แล้วยังอาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำพิพากษาในคดีอาญาที่ห้ามมิให้จำเลยประกอบการค้าเลี้ยงสุกรในเขตเทศบาลอีกต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น แม้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ได้ โจทก์ก็ยังอาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้
คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไรคำร้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง
คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไรคำร้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง