พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด, ดอกเบี้ยทบต้น, และการหักกลบลบหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือนเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป อีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ออกไปอีกและจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีกเพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดา โดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิ คิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้ง: ความสัมพันธ์ระหว่างละเมิดและผิดสัญญา
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมา และฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้ แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือ การที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไป โดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177, 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมา และฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้ แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือ การที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไป โดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177, 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงหักกลบลบหนี้กับการเลิกคดีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค การหักกลบลบหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงไม่ถือเป็นการระงับหนี้
กรณีคดีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจะเลิกกัน ต้องเป็นกรณีที่มีการใช้เงินตามเช็คหรือหนี้ที่ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การที่โจทก์และจำเลยแถลงร่วมกันว่าคดีสามารถที่จะตกลงกันได้โดยจำเลยจะรีบไปดำเนินการถมดินให้กับโจทก์เป็นที่เรียบร้อย หากถมดินให้กับโจทก์เรียบร้อยแล้วก็สามารถหักกลบลบหนี้ตามฟ้องกับโจทก์ได้ข้อตกลงดังกล่าวมีเจตนาจะไม่ให้มูลหนี้เดิมระงับทันทีแต่มีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงานให้โจทก์แล้วเสร็จก่อนแล้วจึงหักหนี้ค่าจ้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้กันภายหลัง จึงมิใช่เป็นการยอมความเพื่อให้คดีระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่แถลงหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงิน การหักกลบลบหนี้ และการเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วย ดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่าธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน
จำเลยออกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทงการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต การหักกลบลบหนี้ และการสิ้นผลผูกพันของเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วยดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่งจำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มา หักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้ กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่า ธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็ค เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน จำเลยบอกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อพิพาท: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อพิพาทค้างคawาน หากสิทธิเรียกร้องมีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จะต้องอยู่ ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้อง ใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมา หักกลบลบหนี้กันไม่ได้ เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขาย ได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงิน ค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้น หรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงิน จำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลยจึงเป็น สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้า ครั้งหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและความสัมพันธ์กับการหักกลบลบหนี้ การกำหนดประเด็นเพิ่มเติมไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เดิมคือ โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นใหม่นั้นเพียงเพิ่มประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า โจทก์นำห้องแถวพิพาทมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลยหรือไม่เท่านั้น ซึ่งมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิมที่ตั้งไว้ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทหรือไม่อยู่แล้ว กล่าวคือ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์นำห้องแถวเดิมมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลย แล้วจำเลยรื้อถอนห้องแถวดังกล่าวและปลูกขึ้นใหม่เป็นห้องแถวพิพาทเช่นนี้ ห้องแถวพิพาทจึงเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทนั่นเอง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย